NBTC
ONE STOP SERVICE
สำนักงาน กสทช.
Home
E-Learning
E-Practice
เปลี่ยนภาษา:
Login
เข้าสู่ระบบ
เข้าสู่ระบบ สำหรับคนไทย
Login for Foreigner
สำหรับเจ้าหน้าที่ กสทช.
Light
Dark
เข้าสู่ระบบ สำหรับเจ้าหน้าที่
Username
* กรุณาระบุ Username
Password
* กรุณาระบุ Password
Login
OTP
เลขที่บัตรประชาชน
* กรุณาระบุเลขที่บัตร
*โปรดกรอกเลขที่บัตรเป็นตัวเลข 13 หลัก
*เลขที่บัตรไม่ถูกต้อง
ขอรหัสผ่าน
แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น
แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ขั้นต้น
ขั้นกลาง
ขั้นสูง
แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุคมนาคมประเภททั่วไปประจำเรือ (GOC)
หมวดที่ 1. General Information and System Overview และ Principles of Communications
หมวดที่ 2. F.C.C. Rules & Regulations และ DSC & Alpha-Numeric ID
หมวดที่ 3. Distress, Urgency & Safety Communications และ Section-F: Survival Craft Equip & S.A.R
หมวดที่ 4. VHF-DSC Equipment & Communications และ Maritime Safety Information (M.S.I.)
หมวดที่ 5. Inmarsat Equip. & Communications และ MF-HF Equip. and Communications
แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุคมนาคมประเภทจำกัดเขตเดินเรือทะเล (ROC)
หมวดที่ 1. General Information and System Overview และ F.C.C. Rules & Regulations
หมวดที่ 2. DSC & Alpha-Numeric ID Systems และ Distress, Urgency & Safety Communication
หมวดที่ 3. Survival Craft Equip & S.A.R, Maritime Safety Information (M.S.I.) และ VHF-DSC Equipment & Communication
เฉลย
ทดสอบอีกครั้ง
คำถามที่ 1/100
90:00
นาที
1
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นข้อกำหนดในข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ (RR : Radio Regulations)
ก.
วิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการสากล เมื่อได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นแล้วสามารถติดต่อด้วยความถี่วิทยุสมัครเล่นกับผู้ที่อยู่ในประเทศใดก็ได้ แม้ว่าในประเทศนั้นจะอนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นหรือไม่
ข.
เมื่อต้องการส่งข่าวหรือข้อความที่เป็นความลับให้เข้ารหัสข้อความเสียก่อน
ค.
พนักงานวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้ทีน้ำใจต่อผู้อื่น ถ้ามีการขอทดสอบสัญญาณจากนักวิทยุในประเทศที่ยังไม่อนุญาตให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่น ก็ควรช่วยรายงานสัญญาณเป็นพิเศษเพื่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาจนเกิดกิจการวิทยุสมัครเล่นประเทศนั้นได้
ง.
ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นครอบคลุมการใช้งานในพื้นที่เฉพาะประเทศที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ไม่สามารถใช้ข้ามประเทศได้ เว้นแต่มีข้อตกลงระหว่างประเทศเป็นกรณีพิเศษ
คำถามต่อไป
คำถามที่ 2/100
90:00
นาที
2
มาตรา 60 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบและกำกับการดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ โดยคำนึงถึงประโยชน์ 4 ด้าน หนึ่งในนั้นคือ
ก.
ให้ประชาชนมีอิสรภาพในการใช้คลื่นความถี่
ข.
ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
ค.
การตั้งวิทยุชุมชนอย่างทั่วถึง
ง.
ความมั่นคงของรัฐ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 3/100
90:00
นาที
3
แผนแม่บทในข้อใดกล่าวถึงการใช้คลื่นความถี่ในแต่ละกิจการ
ก.
แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม
ข.
แผนแม่บทบริหารกิจการวิทยุสมัครเล่น
ค.
แผนแม่บทการทำธุรกรรมทางคลื่นความถี่
ง.
แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 4/100
90:00
นาที
4
เพราะเหตุใดผู้ขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นจึงต้องผ่านเกณฑ์การสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นก่อน
ก.
เพื่อให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ความถี่ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและได้รับประโยชน์สูงสุด
ข.
เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถเรียนต่อในสายวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคมได้
ค.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 5/100
90:00
นาที
5
เครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม เครื่องรับวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการวิทยุนำทาง (GPS) และเครื่องรับวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการช่วยอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานคลื่นความถี่ แต่เพราะเหตุใดผู้ที่ใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวจึงไม่ต้องขอรับใบอนุญาต
ก.
เพราะมีกำลังส่งต่ำเกินข้อกำหนดในพระราชบัญญัติ
ข.
เพราะใช้คลื่นความถี่ต่ำเกินข้อกำหนดในพระราชบัญญัติ
ค.
เพราะมีผู้ใช้งานมากเกินกำลังของสำนักงาน กสทช. จะพิจารณาออกใบอนุญาต
ง.
เพราะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 6/100
90:00
นาที
6
ในกฎระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น จะเรียกนักวิทยุสมัครเล่นว่า "พนักงานวิทยุสมัครเล่น" เพราะเหตุใด
ก.
เพื่อให้ฟังดูเป็นทางการ
ข.
เป็นเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
ค.
เป็นประชาชนที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานสื่อสารตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
ง.
เนื่องจากเป็นผู้ที่ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. ตามกฎหมายซึ่งได้กำหนดให้ต้องได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นด้วย
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 7/100
90:00
นาที
7
พนักงานวิทยุสื่อสารของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ได้เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานวิทยุประจำสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายได้หรือไม่
ก.
ไม่ได้ เพราะผู้ใช้ความถี่นี้จะต้องมีใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
ข.
ไม่ได้ เพราะใช้รหัสคิวไม่เป็น
ค.
ได้ เพราะเป็นพนักงานวิทยุมืออาชีพอยู่แล้ว
ง.
ได้ เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนกัน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 8/100
90:00
นาที
8
ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นของนางไข่หวานหมดอายุเกิน 2 ปี และ กสทช. พิจารณายกเลิกสัญญาณเรียกขานแล้ว นางไข่หวานจะทำอย่างไรกับเครื่องวิทยุคมนาคมที่ครอบครองอยู่ได้บ้าง
ก.
เก็บไว้ โดยขอรับใบอนุญาตให้มีเครื่องวิทยุคมนาคม
ข.
โอนเครื่องให้กับพนักงานวิทยุสมัครเล่นคนอื่น
ค.
ทำลายแล้วแจ้งยกเลิกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมที่เกี่ยวข้อง
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 9/100
90:00
นาที
9
นายไข่ดิบใช้คลื่นความถี่โดยการออกอากาศในขณะที่ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นหมดอายุ ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมที่ทำการออกอากาศยังมีสถานะได้รับใบอนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและใบอนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม นายไข่ดิบจะมีความผิดอย่างไร
ก.
กระทำหน้าที่พนักงานวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
ข.
มี ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
ค.
กระทำหน้าที่พนักงานวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้คลื่นความถี่โดยไม่ได้รับอนุญาต
ง.
ใช้คลื่นความถี่โดยไม่ได้รับอนุญาต
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 10/100
90:00
นาที
10
ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก.
ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม มีอายุตลอดอายุของเครื่องวิทยุคมนาคม ค่าธรรมเนียม 700 บาท
ข.
ใบอนุญาตให้ค้าเพื่อการซ่อมแซมเครื่องวิทยุคมนาคม มีอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 500 บาท
ค.
ใบอนุญาตให้ค้าเครื่องวิทยุคมนาคม มีอายุ 1 ปี ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ง.
ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น มีอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 200 บาท
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 11/100
90:00
นาที
11
การเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคมและความปลอดภัยของประเทศชาติ ได้อย่างไร
ก.
พนักงานวิทยุสมัครเล่นมีจำนวนมากและกระจายอยู่ทุกพื้นที่ สามารถตรวจสอบข่าวสารได้ง่าย
ข.
พนักงานวิทยุสมัครเล่นมีโอกาสรู้จักเพื่อนและรับรู้ข่าวสารโดยไม่ต้องเดินทางไปไหน
ค.
พนักงานวิทยุสมัครเล่นมีระบบสื่อสารที่สามารถใช้งานในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 12/100
90:00
นาที
12
ประกาศนียบัตรในข้อใดที่ กสทช. อนุญาตให้เทียบเท่าประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นสำหรับใช้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก.
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
ข.
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาอิเล็กทรอนิกส์
ค.
ประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นของประเทศที่ทำข้อตกลงต่างตอบแทนกับประเทศไทย
ง.
ประกาศนียบัตรหลักสูตรการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ของหน่วยงานของรัฐ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 13/100
90:00
นาที
13
ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น จะได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในข้อใด
ก.
144 - 146 MHz กำลังส่งไม่เกิน 60 วัตต์
ข.
146 – 147 MHz กำลังส่งไม่เกิน 60 วัตต์
ค.
28 – 29.7 MHz กำลังส่งไม่เกิน 100 วัตต์
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 14/100
90:00
นาที
14
สถานีวิทยุสมัครเล่นประเภทใดที่สามารถให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นทดลองออกอากาศได้และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก.
สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย
ข.
สถานีวิทยุสมัครเล่นขององค์กรวิทยุสมัครเล่น (Club station)
ค.
สถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ (Special event station)
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 15/100
90:00
นาที
15
การกำหนดให้สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย สถานีวิทยุสมัครเล่นขององค์กรวิทยุสมัครเล่น สถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ, และสถานีวิทยุสมัครเล่นประจำที่ ต้องบันทึกรายละเอียดลงในสมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร (Log Book) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ก.
เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเรียนรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสัญญาณในช่วงต่าง ๆ ของปี
ข.
หากมีปัญหาเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่ของสถานีเหล่านี้ จะมีหลักฐานตรวจสอบได้ มิฉะนั้นเจ้าของสถานีวิทยุคมนาคมจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ค.
เพื่อเก็บเป็นข้อมูลแสดงประสิทธิภาพของการสื่อสารและสถานีที่สามารถติดต่อได้
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 16/100
90:00
นาที
16
การกำหนดให้สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย สถานีวิทยุสมัครเล่นขององค์กรวิทยุสมัครเล่น สถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ และสถานีวิทยุสมัครเล่นประจำที่ ต้องบันทึกรายละเอียดลงในสมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร (Log Book) โดยต้องเก็บไว้เป็นเวลาเท่าใด
ก.
3 ปี
ข.
4 ปี
ค.
5 ปี
ง.
ไม่มีการกำหนดระยะเวลา
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 17/100
90:00
นาที
17
สถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่จัดให้เป็นกิจการหลัก หมายถึง
ก.
สถานีวิทยุคมนาคมที่ส่งสัญญาณตลอดเวลา เพื่อรักษาสิทธิของตนเอง
ข.
สถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนอย่างรุนแรงจากสถานีที่จัดให้เป็นกิจการรอง
ค.
สถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนอย่างรุนแรงจากสถานีที่จัดให้เป็นกิจการรอง
ง.
สถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับสิทธิใช้ความถี่ใด ๆ ก็ได้
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 18/100
90:00
นาที
18
“การรบกวนอย่างรุนแรง” หมายถึง
ก.
การรบกวนที่เป็นอันตรายต่อการทำงานของสถานีวิทยุคมนาคมที่จัดให้เป็นกิจการหลัก
ข.
การรบกวนที่ทำให้เกิดผลเสียอย่างรุนแรงหรือขัดขวางต่อการดำเนินกิจการของสถานีวิทยุคมนาคมที่จัดให้เป็นกิจการหลักตามข้อบังคับวิทยุ
ค.
การขัดขวางหรือขัดจังหวะเป็นช่วง ๆ ต่อการดำเนินกิจการของสถานีวิทยุคมนาคมที่จัดให้เป็นกิจการหลักตามข้อบังคับวิทยุ
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 19/100
90:00
นาที
19
คลื่นความถี่ที่ใช้สำหรับส่งจากพื้นโลกไปยังดาวเทียม เรียกว่าความถี่อะไร
ก.
Downlink
ข.
Uplink
ค.
Active link
ง.
Control link
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 20/100
90:00
นาที
20
เพราะเหตุใดการขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นที่เชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่นต่อสำนักงาน กสทช. จึงกำหนดให้ยื่นเอกสารผ่านสมาคมวิทยุสมัครเล่นที่ทำหน้าที่บริหารสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายในพื้นที่
ก.
เพื่อให้สมาคมฯ มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือน
ข.
เพื่อช่วยให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคลื่นความถี่ กำลังส่ง และความสูงของสถานีวิทยุสมัครเล่นที่เชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่นนั้นให้เหมาะกับพื้นที่และจำนวนสถานีฯ ที่มีอยู่แล้ว
ค.
เพื่อให้สถานีวิทยุสมัครเล่นที่เชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่นถูกบันทึกว่าเป็นผลงานของสมาคมฯ
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 21/100
90:00
นาที
21
การตั้งใจส่งสัญญาณเพื่อไปขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นสามารถใช้คลื่นความถี่ได้ ถือว่าเป็นการจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการสื่อสารของสถานีวิทยุสมัครเล่นอื่น นอกจากมีความผิดตาม พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 แล้ว จะถูกดำเนินการอย่างไรตามหลักเกณฑ์การพิจารณาโทษพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก.
ตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร
ข.
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราวเป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
ค.
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราวเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
ง.
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราวเป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 22/100
90:00
นาที
22
ในการติดต่อสื่อสารของพนักงานวิทยุสมัครเล่นกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.
รับส่งข่าวสารไปยังบุคคลที่สาม สามารถกระทำได้เท่าที่จำเป็น
ข.
ห้ามมิให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นใช้คลื่นความถี่โดยเด็ดขาด
ค.
ใช้คลื่นความถี่ตามปกติในขณะเกิดเหตุเพราะคลื่นความถี่กิจการวิทยุสมัครเล่นไม่ได้อนุญาตให้หน่วยงานของรัฐใช้งาน
ง.
ปฏิบัติตามประกาศหรือข้อกำหนดของสำนักงาน กสทช. ในขณะที่เกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินครั้งนั้น ๆ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 23/100
90:00
นาที
23
ข้อใดไม่ใช่คลื่นความถี่กลางสำหรับติดต่อประสานงานระหว่างประชาชนและหน่วยงานของรัฐ
ก.
78.500 MHz
ข.
245.500 MHz
ค.
145.000 MHz
ง.
147.425 MHz
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 24/100
90:00
นาที
24
HS4AN เป็นสัญญาณเรียกขานสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายของจังหวัดอะไร และตั้งอยู่ที่ใด
ก.
นครสวรรค์ ภาคเหนือตอนล่าง
ข.
หนองคาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ค.
นนทบุรี ภาคกลาง
ง.
นราธิวาส ภาคใต้ตอนล่าง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 25/100
90:00
นาที
25
HS5AY เป็นสัญญาณเรียกขานสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายของจังหวัดอะไร และตั้งอยู่ที่ใด
ก.
ยะลา ภาคใต้ตอนล่าง
ข.
พะเยา ภาคเหนือตอนบน
ค.
พระนครศรีอยุธยา ภาคกลาง
ง.
ยโสธร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 26/100
90:00
นาที
26
นายไข่เค็มบอกลานางไข่หวานอย่างไรจึงหมายความว่า “จบการพูดคุยกันนี้ผมก็จะปิดสถานีวิทยุแล้วนะครับ สวัสดีครับ”
ก.
ว.61 ครับ 73
ข.
88 ครับ QSY
ค.
73 ครับ QRT
ง.
55 ครับ QRO
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 27/100
90:00
นาที
27
“QSO HS1DE ?” หมายความว่าอย่างไร
ก.
คุณสามารถติดต่อทางวิทยุกับสถานีของ HS1DE ได้ไหม ไม่ว่าจะโดยตรงหรือฝากข้อความไปก็ได้
ข.
สถานีของ HS1DE ใช้กำลังส่งสูงมากใช่ไหม
ค.
สถานีของ HS1DE ไม่ว่างใช่ไหม
ง.
คุณสามารถถ่ายทอดข้อความจากสถานี HS1DE ได้ไหม
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 28/100
90:00
นาที
28
“73 เคลียร์ค่ะ QSY ช่องเรียกขาน” นางสาวไข่ดาวกำลังบอกว่าอะไร
ก.
สวัสดีค่ะ ขอให้ทุกคนปล่อยความถี่ว่างด้วย ไข่ดาวต้องการใช้ความถี่นี้ค่ะ
ข.
สวัสดีค่ะ ไข่ดาวจะใช้ความถี่นี้เรียกขาน เข้าใจตรงกันนะคะ
ค.
ไข่ดาวจะหยุดใช้ความถี่เรียกขานนี้แล้วนะคะ แต่จะเฝ้าฟังอยู่ สวัสดีค่ะ
ง.
ไข่ดาวเลิกใช้ความถี่นี้แล้วนะคะ และจะเปลี่ยนไปที่ช่องความถี่เรียกขาน สวัสดีค่ะ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 29/100
90:00
นาที
29
เมื่อต้องการทราบว่าขณะนี้คู่สนทนาอยู่ที่ไหน เราจะถามด้วยประมวลรหัส Q ในข้อใดถูกต้องที่สุด
ก.
ไม่ต้องมาใช้รหัส Q กับเรานะ บอกมาเลยตอนนี้นายอยู่ที่ไหน
ข.
QTH ครับ ?
ค.
ขณะนี้ QTH ที่ใดครับ
ง.
ขอทราบ ว.10
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 30/100
90:00
นาที
30
ถ้าได้รับรายงานสัญญาณว่า 11 หมายความว่าอย่างไร
ก.
จับใจความไม่ได้และสัญญาณอ่อนมาก
ข.
เสียงดังฟังชัดมาก
ค.
สัญญาณแรงมาก
ง.
มีสัญญาณรบกวนเล็กน้อย
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 31/100
90:00
นาที
31
ถ้าสถานีรับตอบมาว่า Full Scale เขากำลังบอกอะไรกับเรา
ก.
บอกยี่ห้อของสายอากาศที่ใช้รับสัญญาณของเรา
ข.
บอกว่าความแรงสัญญาณของเราเข้มมาก
ค.
บอกความชัดเจนของเสียง
ง.
บอกความชัดเจนของโทน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 32/100
90:00
นาที
32
สัญญาณเรียกขาน DL8UI ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
ก.
เดลตา-ลิมา-เอท-ยูนิคอร์น-อินเดีย
ข.
เดลตา-ลิมา-เอท-ยูนิเวอร์ซิตี-อินเดีย
ค.
เดลตา-ลิมา-เอท-ยูนิฟอร์ม-อินเดีย
ง.
เดลตา-ลิมา-เอท-ยูนิโคล-อินเตอร์
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 33/100
90:00
นาที
33
สัญญาณเรียกขาน EA3SKQ ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
ก.
เอคโค-อัลฟา-ทรี-เซียรา-กิโล-คิว
ข.
เอคโค-อัลฟา-ทรี-เซียรา-กิโล-คิวเบก
ค.
เอคโค-อัลฟา-ทรี-เซียรา-กิโล-คิวปิด
ง.
เอคโค-อัลฟา-ทรี-เซียรา-กิโล-คิเบก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 34/100
90:00
นาที
34
สัญญาณเรียกขาน I2NDT ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
ก.
อินเดีย-ทู-โนดีล-แทงโก
ข.
อินเดีย-ทู-โนเวมเบอร์-เดลตา-แทงโก
ค.
ไอ-ทู-เนเวอร์-ดู-แธต
ง.
อินเดีย-ทู-น็อต-เดลตา-ทู
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 35/100
90:00
นาที
35
สัญญาณเรียกขาน JA3AER ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
ก.
เจแปน-อัลฟา-ทรี-อัลฟา-เอคโค-โรมิโอ
ข.
เจแปน-อเมริกา-ทรี-อเมริกา-เอคโค-เรดิโอ
ค.
จูเลียต-อัลฟา-ทรี-อัลฟา-เอคโค-โรมิโอ
ง.
เจแปน-อเมริกา-ทรี-อเมริกา-เอคโค-โรมิโอ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 36/100
90:00
นาที
36
สัญญาณเรียกขาน E2ØAW ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
ก.
เอคโค-ยี่สิบ-วัตต์
ข.
เอคโค-ทู-ซีโร-อัลฟา-วิสกี
ค.
อีซี่-ทเวนตี้-เอเบิล-วิสกี้
ง.
เอคโค-ทู-โอ-อัลฟา-วิสกี
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 37/100
90:00
นาที
37
คำว่า OL หมายถึงอะไร
ก.
เพื่อนรักที่เป็นผู้หญิง
ข.
หญิงชรา
ค.
ไม่มีในภาษาของนักวิทยุสมัครเล่น
ง.
คุณแม่
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 38/100
90:00
นาที
38
คำว่า YT หมายถึงอะไร
ก.
ผู้ที่มีความหลายหลายทางเพศ
ข.
บุรุษ
ค.
ไม่มีในภาษาของนักวิทยุสมัครเล่น
ง.
สตรี
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 39/100
90:00
นาที
39
เมื่อเราต้องการบอกว่า “ลาแล้วนะ สวัสดี” ในภาษาของนักวิทยุสมัครเล่นจะแทนด้วยคำว่าอะไร
ก.
บายบาย
ข.
CUL
ค.
73
ง.
ว.61
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 40/100
90:00
นาที
40
เพื่อแจ้งให้ทราบว่าเราจะหยุดใช้แล้วและความถี่นี้ว่างให้ผู้อื่นใช้ได้ เราจะต้องทำอย่างไร
ก.
กล่าวลาแล้วตามด้วยคำว่า “เคลียร์”
ข.
กล่าวลาด้วยคำว่า 73
ค.
กล่าวลาและขานเวลา
ง.
กล่าวลาแล้วตามด้วยคำว่า “สแตนด์บาย”
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 41/100
90:00
นาที
41
ระหว่างการ QSO มีผู้ขอความช่วยเหลืออย่างกะทันหัน คู่สถานีของเราเป็นผู้รับแจ้งเหตุ เราซึ่งว่างอยู่ควรทำอย่างไร
ก.
ฟังเฉย ๆ
ข.
ช่วยซักถาม
ค.
โทรศัพท์ไปแจ้งผู้เกี่ยวข้อง
ง.
ช่วยจดบันทึกอย่างเงียบ ๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำรองถ้าจำเป็น
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 42/100
90:00
นาที
42
เหตุการณ์ประเภทใดที่ไม่จำเป็นต้องแจ้ง
ก.
เหตุการณ์นั้นต้องการความช่วยเหลือ
ข.
เหตุการณ์นั้นอาจสร้างปัญหาตามหลัง
ค.
เหตุการณ์นั้นเกิดมานานน่าจะมีผู้แจ้งแล้ว
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 43/100
90:00
นาที
43
ข้อมูลสำคัญอย่างหนึ่งที่เราจะต้องสังเกตก่อนจะแจ้งเหตุ คืออะไร
ก.
ทิศของจุดเกิดเหตุกับสถานีวิทยุที่รับแจ้งเหตุ
ข.
จุดสังเกตที่ชัดเจนของที่เกิดเหตุ
ค.
เวลาที่พบเหตุ
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 44/100
90:00
นาที
44
ข้อมูลใดมีความจำเป็นน้อยที่สุดในการบันทึกลงในสมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร (Logbook)
ก.
วัน เดือน ปี และเวลาตั้งแต่เริ่มและสิ้นสุดการติดต่อแต่ละครั้ง
ข.
คลื่นความถี่และกำลังส่งของเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้งานของผู้รับและผู้ส่ง
ค.
สัญญาณเรียกขานของพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่ปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้น
ง.
ชื่อ – สกุล ของคู่สถานีที่ติดต่อด้วย
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 45/100
90:00
นาที
45
ข้อใดไม่จำเป็นในการทำ QSL Card
ก.
มีข้อมูลสถานีที่จำเป็น
ข.
แสดงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของประเทศ
ค.
มีพื้นที่เขียนข้อความส่วนตัว
ง.
พิมพ์สีสวยราคาแพง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 46/100
90:00
นาที
46
G (giga : กิกะ) เป็นคำนำหน้าหน่วย หมายถึง
ก.
1000
ข.
100000
ค.
1000000
ง.
1000000000
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 47/100
90:00
นาที
47
แรงดันไฟฟ้าของระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ตามบ้านในประเทศไทยมีค่าเท่ากับ
ก.
220 กิโลวัตต์
ข.
220 มิลลิวัตต์
ค.
220 ไมโครวัตต์
ง.
220 โวลต์
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 48/100
90:00
นาที
48
หลอดไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปตามอาคารบ้านเรือน สำนักงาน เดินสายต่อกันแบบไหน
ก.
ขนาน
ข.
อนุกรม
ค.
ผสม
ง.
แบบใดก็ได้
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 49/100
90:00
นาที
49
ความจุแบตเตอรี่มีหน่วยเป็น
ก.
แอมแปร์ (A)
ข.
มิลลิแอมแปร์-ชั่วโมง (mAh)
ค.
แอมแปร์-ชั่วโมง (Ah)
ง.
ถูกทั้งข้อ ข. และข้อ ค.
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 50/100
90:00
นาที
50
แบตเตอรี่ชนิดเดียวกันต่อขนานกันจะได้
ก.
แรงดันเพิ่ม ความจุเพิ่ม
ข.
แรงดันเท่าเดิม ความจุเพิ่ม
ค.
แรงดันเท่าเดิม ความจุเท่าเดิม
ง.
แรงดันเพิ่ม ความจุเท่าเดิม
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 51/100
90:00
นาที
51
เมื่อทราบค่าแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมตัวต้านทานและรู้ค่าความต้านทานของตัวต้านทานนั้น กำลังไฟฟ้า ที่สูญเสียในตัวต้านทาน สามารถหาได้โดยใช้สูตร
ก.
P = E + I
ข.
P = E
2
/ I
ค.
P = I - R
ง.
P = E
2
/ R
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 52/100
90:00
นาที
52
เมื่อนำหลอดไฟดวงหนึ่งมาต่อกับแรงดันไฟฟ้าขนาด 110 โวลต์ (V) ดีซี (DC) แล้วทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหล 0.1 แอมแปร์ (A) แสดงว่าหลอดไฟฟ้าใช้กำลังไฟฟ้าเท่ากับ
ก.
11 มิลลิวัตต์ (mW)
ข.
11 วัตต์ (W)
ค.
110 วัตต์ (W)
ง.
11 กิโลวัตต์ (kW)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 53/100
90:00
นาที
53
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีทั้งหมด
ก.
ทองแดง ไม้ อากาศ
ข.
กระดาษ พลาสติก ทองเหลือง
ค.
ทองเหลือง อลูมิเนียม ลวดเงิน
ง.
เหล็ก ตะกั่ว แก้ว
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 54/100
90:00
นาที
54
จากรูปข้างล่างนี้ เป็นการต่อตัวต้านทานแบบ
ก.
อนุกรม
ข.
ขนาน
ค.
ผสม
ง.
ไม่มีคำตอบใดถูกต้อง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 55/100
90:00
นาที
55
สูตรที่ใช้ในการหาค่าความเหนี่ยวนำไฟฟ้ารวมของตัวเหนี่ยวนำ (Inductor) ที่ต่อกันอย่างอนุกรม คือ
ก.
L
T
= L
1
+ L
2
+ L
3
+ L
4
+… L
n
ข.
L
T
= L
1
- L
2
+ L
3
- L
4
+… L
n
ค.
L
T
= L
1
x L
2
x L
3
x L
4
x… L
n
ง.
L
T
= L
1
- L
2
- L
3
- L
4
-… L
n
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 56/100
90:00
นาที
56
ค่าอิมพีแดนซ์ (Impedance : Z) มีหน่วยเป็น
ก.
โมห์
ข.
แอมแปร์
ค.
โอห์ม
ง.
ฟารัด
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 57/100
90:00
นาที
57
ทรานซิสเตอร์และไอซี เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในวงจร
ก.
ไอเอฟ แอมปลิไฟเออร์ (IF Amplifier)
ข.
เอเอฟ แอมปลิไฟเออร์ (AF Amplifier)
ค.
อาร์เอฟ แอมปลิไฟเออร์ (RF Amplifier)
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 58/100
90:00
นาที
58
จากแผนผังอย่างง่ายของเครื่องรับวิทยุแบบ Superheterodyne ข้างล่างนี้ หมายเลข 5 เป็นภาคที่มีชื่อเรียกว่า
ก.
ภาคเอเอฟแอมปลิไฟเออร์ (AF Amplifier)
ข.
ภาคไอเอฟ แอมปลิไฟเออร์ (IF Amplifier)
ค.
ภาคอาร์เอฟแอมปลิไฟเออร์ (RF Amplifier)
ง.
ภาคดีเทคเตอร์ (Detector)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 59/100
90:00
นาที
59
ภาคเอเอฟแอมปลิไฟเออร์ (AF Amplifier) ทำหน้าที่
ก.
ขยายสัญญาณเสียงให้แรงขึ้นก่อนส่งกลับไปยังภาคดีเทคเตอร์ (Detector)
ข.
ขยายสัญญาณเสียงให้แรงขึ้นก่อนส่งออกลำโพง
ค.
ขยายสัญญาณเสียงให้แรงขึ้นก่อนส่งออกภาคดีเทคเตอร์ (Detector)
ง.
ไม่มีข้อใดถูก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 60/100
90:00
นาที
60
การเบี่ยงเบนทางความถี่ (Frequency Deviation) ของระบบ FM หมายถึง
ก.
การเบี่ยงเบนไปจากความถี่กลางของคลื่นพาห์ (Carrier)
ข.
ความคลาดเคลื่อนทางความถี่ของคลื่นที่ออกอากาศ
ค.
ความคลาดเคลื่อนของความถี่เสียง
ง.
ความคลาดเคลื่อนทางความถี่ของภาคกำเนิดความถี่ (Local Oscillator)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 61/100
90:00
นาที
61
คลื่นความถี่ 145 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นสามารถใช้งานได้ มีความยาวคลื่นประมาณเท่าใด
ก.
3 เมตร
ข.
2 เมตร
ค.
1 เมตร
ง.
0.5 เมตร
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 62/100
90:00
นาที
62
เรดิเอชันแพทเทิร์น (Radiation Pattern) ของสายอากาศ คือ
ก.
รูปร่างของสายอากาศ
ข.
มุมที่ติดตั้งสายอากาศ
ค.
รูปแบบการกระจายคลื่นของสายอากาศ
ง.
ไม่มีข้อใดถูก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 63/100
90:00
นาที
63
ค่าเรดิเอชันรีซิสแทนซ์ (Radiation Resistance) ของสายอากาศยากิ (Yagi) ทั่ว ๆ ไปมีค่าเท่ากับ
ก.
50 โอห์ม
ข.
75 โอห์ม
ค.
300 โอห์ม
ง.
600 โอห์ม
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 64/100
90:00
นาที
64
การใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจะต้องเลือกอิมพีแดนซ์ (Impedance) ทางออกของเครื่องส่ง และอิมพีแดนซ์ (Impedance) ของสายนำสัญญาณและสายอากาศ มีค่า
ก.
มากกว่ากัน 2 เท่า
ข.
เท่ากัน
ค.
น้อยกว่ากัน 2 เท่า
ง.
ต่ำสุด
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 65/100
90:00
นาที
65
สถานีวิทยุคมนาคมแห่งหนึ่ง เมื่อเพิ่มเกนของสายอากาศรับและส่ง จะมีผลต่อระยะทางการติดต่อสื่อสารดังนี้คือ
ก.
ส่งได้ไกล-รับได้ใกล้
ข.
ส่งได้ใกล้-รับได้ไกล
ค.
ส่งได้ใกล้-รับได้ใกล้
ง.
ส่งได้ไกล-รับได้ไกล
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 66/100
90:00
นาที
66
สายดินที่ดีควรจะต่อกับอะไร
ก.
มุ้งลวดหรือเหล็กดัด
ข.
แทงก์น้ำที่วางบนพื้นดิน
ค.
หลักดิน (Ground Rod) ที่ปักลงไปในดิน
ง.
โคนของต้นไม้ใหญ่
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 67/100
90:00
นาที
67
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับต่อแทนสายอากาศเมื่อไม่ต้องการให้มีการแพร่กระจายคลื่นขณะปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุ คือ
ก.
ดัมมีโหลด (Dummy Load)
ข.
โอห์มมิเตอร์ (Ohmmeter)
ค.
อาร์เอฟโวลต์มิเตอร์ (RF Voltmeter)
ง.
ซิกแนลมิเตอร์ (Signal Meter)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 68/100
90:00
นาที
68
การใช้มัลติมิเตอร์ (Multimeter) วัดแรงดันไฟฟ้าในจุดที่ไม่ทราบค่าต้องปรับซีเล็กเตอร์สวิตซ์ (Selector Switch) ของโวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) อย่างไร
ก.
ต่ำสุด
ข.
สูงสุด
ค.
ปานกลาง
ง.
ตามความพอใจ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 69/100
90:00
นาที
69
เมื่อต้องการทดสอบหรือปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุ ต้องใช้เครื่องมือชนิดใด
ก.
เอเอฟ ซิกแนลเจนเนอเรเตอร์ (AF Signal Generator)
ข.
อาร์เอฟ ซิกแนลเจนเนอเรเตอร์ (RF Signal Generator)
ค.
ออสซิลโลสโคป (Oscilloscope)
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 70/100
90:00
นาที
70
เครื่องมือที่ใช้วัดความแรงของคลื่นวิทยุเพื่อหารูปแบบการแพร่กระจายคลื่น (Radiation Pattern) คือ
ก.
เครื่องนับความถี่ (Frequency Counter)
ข.
อาร์เอฟ ฟิลด์สเตร็งท์มิเตอร์ (RF Field Strength Meter)
ค.
วีเอสดับบลิวอาร์มิเตอร์ (VSWR Meter)
ง.
อาร์เอฟ โวลต์มิเตอร์ (RF Voltmeter)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 71/100
90:00
นาที
71
คำว่า การใช้พลังงานไฟฟ้า (Power Consumption) หมายความว่าอะไร
ก.
กำลังความเข้มของคลื่นวิทยุ
ข.
อัตราการขยายของเครื่องส่งวิทยุ
ค.
ค่ากำลังไฟฟ้าที่ทำให้เครื่องรับ-ส่งวิทยุทำงานได้
ง.
อัตราการขยายของเครื่องรับวิทยุ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 72/100
90:00
นาที
72
เครื่องมือที่ใช้วัดกำลังส่งของเครื่องส่งวิทยุมีชื่อเรียกว่า
ก.
มิเตอร์วัดกําลังสัญญาณวิทยุ (RF Power Meter)
ข.
แอมมิเตอร์ (Ammeter)
ค.
โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter)
ง.
โอห์มมิเตอร์ (Ohmmeter)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 73/100
90:00
นาที
73
อาร์เอฟเพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์ (RF Power Amplifier) คืออะไร
ก.
วงจรขยายกำลังไฟฟ้า
ข.
วงจรเพิ่มกำลังส่งให้สูงขึ้น
ค.
วงจรขยายสัญญาณเสียง
ง.
วงจรกำเนิดคลื่นความถี่
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 74/100
90:00
นาที
74
วีเอสดับบลิวอาร์ มิเตอร์ (VSWR Meter) เป็นเครื่องมือตรวจสอบอะไรบ้าง
ก.
การเบี่ยงเบนของความถี่
ข.
ความไวในการรับของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ค.
การแมตชิ่งอิมพีแดนซ์ของสายอากาศ
ง.
ความชัดเจนของคลื่นเสียง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 75/100
90:00
นาที
75
ถ้าสายอากาศภาคส่งวางในแนวตั้ง สายอากาศภาครับควรวางในแนวใดจึงสามารถรับส่งได้ดีที่สุด
ก.
แนวเฉียงทำมุม 45 องศา
ข.
แนวนอน
ค.
แนวตั้ง
ง.
แนวขนานกับพื้นโลก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 76/100
90:00
นาที
76
เครื่องรับ-ส่งวิทยุแบบมือถือเมื่อต่อกับสายอากาศภายนอกที่มีอัตราขยาย (Gain) สูงและติดตั้งในที่สูง จะเกิดผลอย่างไร
ก.
รับ-ส่งได้ไกลกว่าเดิม
ข.
อาจถูกคลื่นความถี่อื่นรบกวน
ค.
อาจส่งคลื่นความถี่ไปรบกวนข่ายสื่อสารอื่น
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 77/100
90:00
นาที
77
เหตุใดการใช้งานสายอากาศย่านความถี่ VHF จึงควรติดตั้งให้อยู่ในตำแหน่งสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
ก.
เพื่อให้แพร่กระจายคลื่นได้ไกลที่สุด
ข.
เพื่อให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้า
ค.
เพื่อไม่ให้สายอากาศแพร่กระจายคลื่นฮาร์มอนิก (Harmonic) ออกมา
ง.
เพื่อให้ครบวงจรทางไฟฟ้าในเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 78/100
90:00
นาที
78
เมื่อต้องการทราบว่าวงจรเรโซแนนซ์นั้นมีความถี่เรโซแนนซ์เท่าใด ต้องใช้เครื่องมืออะไร
ก.
ดิปมิเตอร์ (DIP Meter)
ข.
เครื่องนับความถี่ (Frequency Counter)
ค.
โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter)
ง.
วีเอสดับบลิวอาร์ มิเตอร์ (VSWR Meter)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 79/100
90:00
นาที
79
ข้อความใดต่อไปนี้เป็นหลักปฏิบัติในการใช้งานเครื่องรับ-ส่งวิทยุแบบมือถือ
ก.
ส่งออกอากาศด้วยกำลังส่งต่ำตลอดเวลา
ข.
ส่งออกอากาศด้วยกำลังส่งสูงตลอดเวลา
ค.
เมื่อติดต่อได้แล้วให้ปรับลดกำลังส่งลงเหลือเท่าที่จำเป็น
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 80/100
90:00
นาที
80
ถ้าต้องการติดต่อระยะทางไกล ๆ สามารถปฏิบัติอย่างไรได้บ้าง
ก.
เพิ่มความสูงของสายอากาศ
ข.
เพิ่มความไวในการรับ
ค.
เพิ่มอัตราขยายของสายอากาศ
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 81/100
90:00
นาที
81
การใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุโดยขาดการดูแลรักษา อาจทำให้เกิดการชำรุดในลักษณะใดได้บ้าง
ก.
รับได้ ส่งไม่ได้
ข.
ส่งได้ รับไม่ได้
ค.
ความไวและกำลังส่งลดน้อยลงกว่าเดิม
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 82/100
90:00
นาที
82
คลื่นฮาร์มอนิก (Harmonic) มีความหมายว่าอย่างไร
ก.
คือ คลื่นความถี่ของวงจรไอเอฟ แอมปลิไฟเออร์ (IF Amplifier)
ข.
คือ คลื่นความถี่ที่ต้องการออกอากาศ
ค.
คือ คลื่นความถี่ที่มีค่าเป็นจำนวนเท่าของความใช้งาน
ง.
ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ค.
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 83/100
90:00
นาที
83
การติดตั้งสายอากาศเพื่อใช้กับเครื่องรับ-ส่งวิทยุมีหลักการดังนี้
ก.
ติดตั้งให้ห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูงมากที่สุด
ข.
ติดตั้งห่างจากต้นไม้ใหญ่
ค.
ติดตั้งให้ใกล้เครื่องรับ-ส่งวิทยุมากที่สุด
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 84/100
90:00
นาที
84
การชีลด์ (Shield) คืออะไร
ก.
การใช้แผ่นโลหะแยกอาณาบริเวณออกเป็น 2 ส่วน เพื่อควบคุมการแพร่กระจายสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก
ข.
การต่อสายกราวด์ (Ground)
ค.
การใช้แผ่นโลหะป้องกันฮาร์มอนิก (Harmonic)
ง.
การทำให้การแพร่กระจายคลื่นวิทยุไม่ได้ไกลกว่าเดิม
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 85/100
90:00
นาที
85
การตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นย่านความถี่ VHF โดยติดตั้งสายอากาศสูง 60 เมตร บางครั้งจะได้ยินเสียงสัญญาณจากสถานีวิทยุต่าง ๆ ซ้อนทับกันวุ่นวายจนไม่สามารถใช้สื่อสารได้ ควรแก้ปัญหาอย่างไร
ก.
บ่นและระบายอารมณ์บนคลื่นความถี่
ข.
ใช้อุปกรณ์ลดความไวภาครับ (Attenuator) และลดกำลังส่งให้ต่ำที่สุด
ค.
แจ้งสำนักงาน กสทช.
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 86/100
90:00
นาที
86
“จริยธรรม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึงข้อใด
ก.
คำสั่งสอน
ข.
ระเบียบข้อบังคับ
ค.
ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ
ง.
ไม่มีข้อใดถูก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 87/100
90:00
นาที
87
ค่านิยมทางจริยธรรม หมายถึงข้อใด
ก.
ทำให้เกิดความรับผิดชอบชั่วดี
ข.
ทำให้เกิดความซาบซึ้ง
ค.
ทำให้เกิดความรักความเข้าใจ
ง.
ทำให้ชีวิตและร่างกายอยู่รอด
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 88/100
90:00
นาที
88
ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ “พรหมวิหาร 4”
ก.
เมตตา คือ ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
ข.
กรุณา คือ ความปรารถนาช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์
ค.
มุทิตา คือ ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
ง.
ทาน คือ การให้ เสียสละ แบ่งปัน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 89/100
90:00
นาที
89
พนักงานวิทยุสมัครเล่นที่ยึดหลักธรรมะที่ว่า “ปิยวาจา” หมายถึงบุคคลใด
ก.
บุคคลที่พูดจาสุภาพ อ่อนหวาน และเหมาะสมกับกาลเทศะ
ข.
บุคคลที่ชอบแบ่งปัน เสียสละและเผื่อแผ่ผู้อื่น
ค.
บุคคลที่ชอบอิสระ มีนิสัยโอบอ้อมอารี
ง.
บุคคลที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 90/100
90:00
นาที
90
สิ่งใดสามารถยับยั้งความโกรธได้
ก.
เมตตา กรุณา
ข.
มุทิตา อุเบกขา
ค.
สติ สัมปชัญญะ
ง.
ฉันทะ วิริยะ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 91/100
90:00
นาที
91
บุคคลในข้อใดไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของกิจการวิทยุสมัครเล่น
ก.
นายปกรณ์ กระทำผิดกฎหมายวิทยุคมนาคมหรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข.
นายภูภูมิ ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีหรือเครื่องวิทยุคมนาคม
ค.
นายณเดช แย่งใช้ช่องสัญญาณติดต่อสื่อสาร
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 92/100
90:00
นาที
92
ข้อใดไม่ใช่คุณธรรมและจริยธรรมของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก.
ไม่เก็บรักษาข้อมูลความลับที่ไม่ควรเปิดเผย
ข.
รู้รักสามัคคีและเป็นมิตรกับพนักงานวิทยุสมัครเล่นทุกคน
ค.
มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานวิทยุสมัครเล่น
ง.
ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 93/100
90:00
นาที
93
ข้อใดเป็นข้อห้ามสำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น
ก.
ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีหรือเครื่องวิทยุคมนาคม
ข.
กระทำผิดกฎหมายวิทยุคมนาคมหรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ค.
แย่งใช้ช่องสัญญาณติดต่อสื่อสาร
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 94/100
90:00
นาที
94
ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่นตามคำกล่าวของนายพอล เอ็ม ซีกัล (Pual M. Segal) นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน สัญญาณเรียกขาน W9EEA
ก.
นักวิทยุสมัครเล่นต้องคำนึงถึงผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจใช้ความถี่ไปลดทอนความพึงพอใจของสถานีอื่น
ข.
นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้ที่มีความจริงใจ ให้การส่งเสริมและช่วยเหลือเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่น
ค.
นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้รักความก้าวหน้า ติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ และปรับปรุงสถานีวิทยุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานทันที
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 95/100
90:00
นาที
95
ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่นตามคำกล่าวของนายพอล เอ็ม ซีกัล (Pual M. Segal) นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน สัญญาณเรียกขาน W9EEA
ก.
นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ที่มีอัธยาศัย ความเป็นมิตร ให้ความร่วมมือ และคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่นเสมอเพื่อความเป็นนักวิทยุสมัครเล่นที่ดีต่อกัน
ข.
นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้ที่มีความจริงใจ ให้การส่งเสริมและช่วยเหลือเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่น
ค.
นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้รักความก้าวหน้า ติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ และปรับปรุงสถานีวิทยุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานทันที
ง.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 96/100
90:00
นาที
96
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้อง
ก.
นายเป้ ใช้ถ้อยคำหยาบคายหรือเป็นการดูหมิ่นในการติดต่อสื่อสารอยู่เป็นประจำ
ข.
นายปังปอนด์ แนะนำให้นายปิ่นไปซื้อเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
ค.
นางสาวมิ้นต์ ใฝ่หาความรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองและทำหน้าที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ง.
นางสาวไฉไล เป็นนักวิทยุสมัครเล่นได้ดัดแปลงเครื่องวิทยุคมนาคมกิจการวิทยุสมัครเล่นเพื่อให้สามารถใช้ความถี่ของมูลนิธิสาธารณกุศลต่าง ๆ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 97/100
90:00
นาที
97
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้อง
ก.
ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีวิทยุคมนาคมกระทำผิดกฎหมายวิทยุคมนาคม
ข.
ไม่รับจ้างวานเพื่อรับส่งข่าวสารไปยังบุคคลที่สาม
ค.
รับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมาย
ง.
ติดต่อกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาต
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 98/100
90:00
นาที
98
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้องภายหลังจากทราบว่าการปฏิบัติตนในการออกอากาศของเราไม่ถูกต้อง
ก.
สอบถามข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้และฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ
ข.
ค้นหาข้อมูลเองไม่ต้องสอบถามใคร เพราะกลัวคนอื่นจะรู้ว่าเป็นมือใหม่
ค.
หยุดออกอากาศระยะหนึ่ง เพื่อให้คนอื่น ๆ ลืมการปฏิบัติของตนที่ผ่านมา
ง.
เปลี่ยนจากการออกอากาศเป็นการฟังอย่างเดียว
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 99/100
90:00
นาที
99
ข้อใดเป็นเรื่องที่เหมาะสำหรับการนำมาเป็นบทสนทนาในการออกอากาศ
ก.
การนำเสนอขายสินค้าที่เป็นธุรกิจของตน
ข.
เทคนิคการติดต่อสื่อสารในโหมดต่าง ๆ
ค.
ศาสนาและการเมือง
ง.
เรื่องขำขันใต้สะดือ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 100/100
90:00
นาที
100
คำตอบในข้อใดเหมาะสมกับคำว่า “นักวิทยุสมัครเล่นที่ดี”
ก.
เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นมานาน 20 ปีแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งสัญญาณเรียกขานเพราะทุกคนจำเสียงได้
ข.
คิดค้นและประดิษฐ์สายอากาศเป็นประจำเพื่อนำมาเสนอขายให้เพื่อนสมาชิกในการออกอากาศ
ค.
ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักวิทยุสมัครเล่นคนอื่น ๆ ในการออกอากาศ และคอยแนะนำการใช้คลื่นความถี่ให้กับผู้ที่สนใจ
ง.
ให้คำปรึกษากับเพื่อนสมาชิกในเรื่องการติดต่อสื่อสารในโหมดต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ แต่ตนเองลืมไปดำเนินการขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นฉบับใหม่ ภายหลังจากฉบับเดิมหมดอายุ
คำถามก่อนหน้า
คุณยังตอบคำถามไม่ครบ :
100
ข้อ จาก 100 ข้อ
(คลิกที่หมายเลขข้อที่ต้องการ เพื่อตอบคำถาม)
เลือก
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
เสร็จสิ้น