NBTC
ONE STOP SERVICE
สำนักงาน กสทช.
Home
E-Learning
E-Practice
เปลี่ยนภาษา:
Login
เข้าสู่ระบบ
เข้าสู่ระบบ สำหรับคนไทย
Login for Foreigner
สำหรับเจ้าหน้าที่ กสทช.
Light
Dark
เข้าสู่ระบบ สำหรับเจ้าหน้าที่
Username
* กรุณาระบุ Username
Password
* กรุณาระบุ Password
Login
OTP
เลขที่บัตรประชาชน
* กรุณาระบุเลขที่บัตร
*โปรดกรอกเลขที่บัตรเป็นตัวเลข 13 หลัก
*เลขที่บัตรไม่ถูกต้อง
ขอรหัสผ่าน
แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น
แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ขั้นต้น
ขั้นกลาง
ขั้นสูง
แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุคมนาคมประเภททั่วไปประจำเรือ (GOC)
หมวดที่ 1. General Information and System Overview และ Principles of Communications
หมวดที่ 2. F.C.C. Rules & Regulations และ DSC & Alpha-Numeric ID
หมวดที่ 3. Distress, Urgency & Safety Communications และ Section-F: Survival Craft Equip & S.A.R
หมวดที่ 4. VHF-DSC Equipment & Communications และ Maritime Safety Information (M.S.I.)
หมวดที่ 5. Inmarsat Equip. & Communications และ MF-HF Equip. and Communications
แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุคมนาคมประเภทจำกัดเขตเดินเรือทะเล (ROC)
หมวดที่ 1. General Information and System Overview และ F.C.C. Rules & Regulations
หมวดที่ 2. DSC & Alpha-Numeric ID Systems และ Distress, Urgency & Safety Communication
หมวดที่ 3. Survival Craft Equip & S.A.R, Maritime Safety Information (M.S.I.) และ VHF-DSC Equipment & Communication
เฉลย
ทดสอบอีกครั้ง
คำถามที่ 1/100
89:59
นาที
1
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) แบ่งภารกิจในด้านต่าง ๆ เป็น 4 ภาคส่วน กิจการวิทยุสมัครเล่นอยู่ภายใต้ภาคส่วนใด
A.
ภาคการสื่อสารวิทยุ (ITU-R, Radiocommunication Sector)
B.
ภาคการกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม (ITU-T, Telecommunication Standardization Sector)
C.
ภาคการพัฒนาโทรคมนาคม (ITU-D, Telecommunication Development Sector)
D.
ภาคการจัดงาน ไอทียู เทเลคอม (ITU Telecom)
คำถามต่อไป
คำถามที่ 2/100
89:59
นาที
2
ตามข้อกำหนดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ข้อใดมีคำนำหน้าสัญญาณเรียกขานเพื่อบอกประเทศ (Prefix) ของประเทศไทย
A.
VRxxxx และ Arxxxx
B.
9Mxxxx และ 9Wxxxx
C.
HSxxxx และ E2xxxx
D.
W2xxxx และ LKxxxx
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 3/100
89:59
นาที
3
การใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการวิทยุสมัครเล่น จะต้องเป็นไปตามกฎหมายในข้อใด
A.
พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498
B.
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
C.
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544
D.
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 4/100
89:59
นาที
4
แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ที่ กสทช. จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์อะไร
A.
เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารคลื่นความถี่ของประเทศชาติ
B.
เพื่อป้องกันไม่ให้หน่วยงานใดคัดค้านการจัดสรรคลื่นความถี่
C.
เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ถูกฟ้องร้อง
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 5/100
89:59
นาที
5
เครื่องมือวัดทางอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม เครื่องรับวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการวิทยุนำทาง (GPS) และเครื่องรับวิทยุคมนาคมที่ใช้ในกิจการช่วยอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานคลื่นความถี่ แต่เพราะเหตุใดผู้ที่ใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวจึงไม่ต้องขอรับใบอนุญาต
A.
เพราะมีกำลังส่งต่ำเกินข้อกำหนดในพระราชบัญญัติ
B.
เพราะใช้คลื่นความถี่ต่ำเกินข้อกำหนดในพระราชบัญญัติ
C.
เพราะมีผู้ใช้งานมากเกินกำลังของสำนักงาน กสทช. จะพิจารณาออกใบอนุญาต
D.
เพราะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 6/100
89:59
นาที
6
พนักงานวิทยุคมนาคมในข้อใด ที่ต้องได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุคมนาคมจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต
A.
พนักงานวิทยุคมนาคมประจำสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
B.
พนักงานวิทยุคมนาคมประจำสถานีวิทยุสมัครเล่น
C.
พนักงานวิทยุคมนาคมประจำสถานีวิทยุคมนาคมในเรือ
D.
ถูกทั้งข้อ ข. และข้อ ค.
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 7/100
89:59
นาที
7
พนักงานวิทยุสื่อสารของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ได้เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานวิทยุประจำสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายได้หรือไม่
A.
ไม่ได้ เพราะผู้ใช้ความถี่นี้จะต้องมีใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
B.
ไม่ได้ เพราะใช้รหัสคิวไม่เป็น
C.
ได้ เพราะเป็นพนักงานวิทยุมืออาชีพอยู่แล้ว
D.
ได้ เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนกัน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 8/100
89:59
นาที
8
เมื่อใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นหมดอายุ หมายความว่าเราไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่นอีกต่อไป เราจะดำเนินการอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว
A.
ไม่ต้องทำอะไร เพราะการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นไม่ได้หมดอายุตามใบอนุญาต
B.
ไปยื่นขอใหม่เมื่อใดก็ได้
C.
ต้องสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรใหม่ก่อน
D.
ยื่นขอใบอนุญาตฉบับใหม่ก่อนใบอนุญาตฉบับเดิมหมดอายุ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 9/100
89:59
นาที
9
นายไข่ไก่ เป็นพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ต้องการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเพียงเครื่องเดียวที่บรรจุคลื่นความถี่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคลื่นความถี่กิจการวิทยุสมัครเล่น ได้หรือไม่
A.
ได้ โดยโปรแกรมคลื่นความถี่กิจการวิทยุสมัครเล่นเพิ่มในเครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ของหน่วยงาน
B.
ได้ โดยนำเครื่องรับ-ส่งวิทยุย่านสมัครเล่นมาเปิดแบนด์เพื่อใช้งานคลื่นความถี่ของหน่วยงาน
C.
ได้ โดยจัดหาเครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ ประเภทที่ 1 มาใช้งานซึ่งเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมที่ผู้ใช้สามารถตั้งคลื่นความถี่ได้เองจากหน้าเครื่อง
D.
ไม่ได้ เพราะมาตรฐานของเครื่องวิทยุคมนาคมเป็นคนละกิจการ ดังนั้น จะต้องใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุย่านสมัครเล่น 1 เครื่อง และเครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ ประเภทที่ 2 อีก 1 เครื่อง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 10/100
89:59
นาที
10
นายไข่ต้มมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองอยู่ 1 เครื่อง ซึ่งภายหลังตรวจสอบพบว่าเป็นเครื่อง วิทยุเถื่อน นายไข่ต้มจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
A.
นำเครื่องไปเสียภาษีและชำระค่าปรับที่กรมศุลกากร
B.
นำเครื่องไปขึ้นทะเบียนเป็นครุภัณฑ์ของราชการและทำเรื่องขอยืมใช้
C.
นำเครื่องไปขึ้นทะเบียนที่ กสทช.
D.
เครื่องเถื่อนคือเครื่องที่นำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร ไม่สามารถทำให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 11/100
89:59
นาที
11
กิจการวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ เนื่องจาก
A.
พนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้มีฐานะดี สามารถลงทุนซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือราคาแพง
B.
พนักงานวิทยุสมัครเล่นมีโอกาสศึกษาทดลอง วิจัย และสร้างอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นความถี่ที่กำหนดไว้สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น
C.
พนักงานวิทยุสมัครเล่นอยู่ใกล้ชิด กสทช. ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ด้านโทรคมนาคม
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 12/100
89:59
นาที
12
ประกาศนียบัตรในข้อใดที่ กสทช. อนุญาตให้เทียบเท่าประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นสำหรับใช้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น
A.
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
B.
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาอิเล็กทรอนิกส์
C.
ประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นของประเทศที่ทำข้อตกลงต่างตอบแทนกับประเทศไทย
D.
ประกาศนียบัตรหลักสูตรการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ของหน่วยงานของรัฐ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 13/100
89:59
นาที
13
พนักงานวิทยุสมัครเล่นจะถูกยกเลิกสัญญาณเรียกขานก็ต่อเมื่อ
A.
พนักงานวิทยุสมัครเล่นเสียชีวิต
B.
ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นหมดอายุไปแล้วเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี
C.
ถูกเพิกถอนใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นจากการกระทำผิดกฎหมาย
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 14/100
89:59
นาที
14
กสทช. อาจไม่พิจารณาอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่น ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสำนักงาน กสทช. ส่วนภูมิภาค ในรัศมีไม่เกินกี่กิโลเมตร
A.
0.5 กิโลเมตร
B.
1 กิโลเมตร
C.
2 กิโลเมตร
D.
2.5 กิโลเมตร
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 15/100
89:59
นาที
15
การกำหนดให้สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย สถานีวิทยุสมัครเล่นขององค์กรวิทยุสมัครเล่น สถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ และสถานีวิทยุสมัครเล่นประจำที่ ต้องบันทึกรายละเอียดลงในสมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร (Log Book) โดยต้องเก็บไว้เป็นเวลาเท่าใด
A.
3 ปี
B.
4 ปี
C.
5 ปี
D.
ไม่มีการกำหนดระยะเวลา
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 16/100
89:59
นาที
16
สถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่จัดให้เป็นกิจการหลัก หมายถึง
A.
สถานีวิทยุคมนาคมที่ส่งสัญญาณตลอดเวลา เพื่อรักษาสิทธิของตนเอง
B.
สถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนอย่างรุนแรงจากสถานีที่จัดให้เป็นกิจการรอง
C.
สถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนอย่างรุนแรงจากสถานีที่จัดให้เป็นกิจการรอง
D.
สถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับสิทธิใช้ความถี่ใด ๆ ก็ได้
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 17/100
89:59
นาที
17
สถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่จัดให้เป็นกิจการรอง หมายถึง
A.
ต้องไม่ก่อให้เกิดการรบกวนอย่างรุนแรงต่อสถานีที่จัดให้เป็นกิจการหลัก ทั้งที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่อยู่ก่อนหรือภายหลัง
B.
ไม่สามารถเรียกร้องขอสิทธิคุ้มครองการรบกวน
C.
ได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนจากสถานีอื่น ๆ
D.
ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 18/100
89:59
นาที
18
“การรบกวนอย่างรุนแรง” หมายถึง
A.
การรบกวนที่เป็นอันตรายต่อการทำงานของสถานีวิทยุคมนาคมที่จัดให้เป็นกิจการหลัก
B.
การรบกวนที่ทำให้เกิดผลเสียอย่างรุนแรงหรือขัดขวางต่อการดำเนินกิจการของสถานีวิทยุคมนาคมที่จัดให้เป็นกิจการหลักตามข้อบังคับวิทยุ
C.
การขัดขวางหรือขัดจังหวะเป็นช่วง ๆ ต่อการดำเนินกิจการของสถานีวิทยุคมนาคมที่จัดให้เป็นกิจการหลักตามข้อบังคับวิทยุ
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 19/100
89:59
นาที
19
ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของแนวทางการใช้งานความถี่ (Band plan)
A.
ข้อกำหนดการใช้งานความถี่สำหรับติดต่อสื่อสารในแต่ละประเภท
B.
ตารางกำหนดเวลาการใช้งานคลื่นความถี่
C.
ตารางแสดงความถี่ของการทำเน็ต
D.
ตารางแสดงช่องความถี่สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายหรือสถานี Club station
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 20/100
89:59
นาที
20
การกระทำผิดในข้อใดจะถูกตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรตามหลักเกณฑ์การพิจารณาโทษพนักงานวิทยุสมัครเล่น เช่นเดียวกับการใช้ถ้อยคำหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร
A.
ใช้สัญญาณเรียกขานปลอม
B.
ใช้ช่องสัญญาณในลักษณะยึดถือครอบครองเฉพาะบุคคล
C.
ไม่บันทึกการติดต่อสื่อสารใน Log Book
D.
ใช้คลื่นความถี่ขณะที่ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นหมดอายุ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 21/100
89:59
นาที
21
นายไข่ตุ๋นถูกเจ้าหน้าที่จับกุมดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 จากกรณีที่แอบอ้างใช้สัญญาณเรียกขานของผู้อื่น ในขณะที่ยื่นขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นฉบับใหม่เพื่อทดแทนใบอนุญาตฉบับเดิมที่หมดอายุแต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตฉบับใหม่ (เป็นกรณีการกระทำความผิดครั้งแรก) จะถูกดำเนินการอย่างไรตามหลักเกณฑ์การพิจารณาโทษพนักงานวิทยุสมัครเล่น
A.
ตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร
B.
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราวเป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
C.
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราวเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
D.
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราวเป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 22/100
89:59
นาที
22
ในการติดต่อสื่อสารของพนักงานวิทยุสมัครเล่นกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ข้อใดถูกต้องที่สุด
A.
รับส่งข่าวสารไปยังบุคคลที่สาม สามารถกระทำได้เท่าที่จำเป็น
B.
ห้ามมิให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นใช้คลื่นความถี่โดยเด็ดขาด
C.
ใช้คลื่นความถี่ตามปกติในขณะเกิดเหตุเพราะคลื่นความถี่กิจการวิทยุสมัครเล่นไม่ได้อนุญาตให้หน่วยงานของรัฐใช้งาน
D.
ปฏิบัติตามประกาศหรือข้อกำหนดของสำนักงาน กสทช. ในขณะที่เกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินครั้งนั้น ๆ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 23/100
89:59
นาที
23
หากเกิดเหตุอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดตรังและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เฝ้าฟังคลื่นความถี่กลางเพื่อรับข่าวสารจากกิจการวิทยุสมัครเล่น ถ้าเราต้องการทราบสถานที่ในการนำสิ่งของไปบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย เราควรทำอย่างไร
A.
เรียกที่ความถี่กลาง 145.000 MHz และสอบถามกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
B.
เรียกที่ความถี่กลาง 145.000 MHz และสอบถามไปที่สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายประจำจังหวัดจังหวัดตรัง (HS9AT)
C.
เรียกที่ความถี่กลาง 145.000 MHz และสอบถามใครก็ได้ที่ตอบรับ
D.
เรียกที่ความถี่สถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ และสอบถามใครก็ได้ที่ตอบรับ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 24/100
89:59
นาที
24
HS5AY เป็นสัญญาณเรียกขานสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายของจังหวัดอะไร และตั้งอยู่ที่ใด
A.
ยะลา ภาคใต้ตอนล่าง
B.
พะเยา ภาคเหนือตอนบน
C.
พระนครศรีอยุธยา ภาคกลาง
D.
ยโสธร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 25/100
89:59
นาที
25
ข้อใดคือสัญญาณเรียกขานของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
A.
E2A
B.
E22AA
C.
E22AAA
D.
E222AA
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 26/100
89:59
นาที
26
ข้อใดต่อไปนี้แสดงว่าเป็นการถูกรบกวนด้วยสัญญาณแบบ QRM
A.
หน้าปัดเครื่องวิทยุคมนาคมในรถยนต์แสดงความแรงสัญญาณเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการเหยียบคันเร่ง
B.
มีสัญญาณทะลุข้ามมาจากช่องข้างเคียง
C.
มีสัญญาณเงียบ หรือมีการดัดเสียงพูดเข้ามารบกวน
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 27/100
89:59
นาที
27
ก่อนส่งข่าวทางวิทยุโทรเลขด้วยรหัสมอร์ส ผู้ส่งจะส่งรหัสที่หมายถึงตัว V ย่อมาจาก QRV เพื่อบอก คู่สถานีว่าอะไร
A.
รอสักครู่
B.
เตรียมพร้อมนะ จะส่งข้อความแล้ว
C.
เราชนะแล้ว
D.
ขอทดสอบสัญญาณ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 28/100
89:59
นาที
28
ถ้าเราได้รับข้อความว่า QRZ? ที่หมายความว่า “ใครกำลังเรียกฉันอยู่” แสดงว่าคู่สถานีต้องการข้อมูลอะไรจากเรา
A.
ชื่อจังหวัด
B.
ชื่อ – สกุล
C.
สัญญาณเรียกขาน
D.
ที่ตั้งสถานี
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 29/100
89:59
นาที
29
“เวลานัดหมาย 0505 QSL ?” ประโยคดังกล่าวหมายความว่าอย่างไร
A.
ยืนยันหรือไม่ว่าเวลานัดหมายคือ 0505
B.
เปลี่ยนเวลานัดหมายจาก 0505 ไปแล้วใช่ไหม
C.
ยกเลิกเวลานัดหมาย 0505 ใช่ไหม
D.
ขอพบก่อนเวลานัดหมาย 0505 ใช่ไหม
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 30/100
89:59
นาที
30
ถ้าได้รับรายงานสัญญาณว่า 52 หมายความว่าอย่างไร
A.
น่าจะมีความผิดปกติในภาคส่ง เพราะความแรงสัญญาณต่ำ
B.
ภาครับของคู่สถานีผิดปกติ
C.
น่าจะมีความผิดปกติในภาคผสมสัญญาณ เพราะความแรงสัญญาณมากแต่เสียงไม่ชัด
D.
คุณภาพสถานีดีมาก เพราะเสียงชัดเจนแม้ความแรงสัญญาณไม่มาก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 31/100
89:59
นาที
31
ถ้าได้รับรายงานสัญญาณว่า 44 หมายความว่าอย่างไร
A.
รับข้อความได้ค่อนข้างชัด โดยมิเตอร์วัดความแรงสัญญาณขึ้นเกือบเต็มสเกล
B.
รับข้อความได้ค่อนข้างชัด โดยมิเตอร์วัดความแรงสัญญาณขึ้นไม่ถึงครึ่ง
C.
รับข้อความได้ค่อนข้างอ่อน โดยมิเตอร์วัดความแรงสัญญาณขึ้นเกือบเต็มสเกล
D.
รับข้อความได้ค่อนข้างอ่อน โดยมิเตอร์วัดความแรงสัญญาณขึ้นไม่ถึงครึ่ง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 32/100
89:59
นาที
32
สัญญาณเรียกขาน G4UAV ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
A.
กอล์ฟ-โฟร์-ยูนิฟอร์ม-อัลฟา-วิกเต้
B.
กอล์ฟ-โฟร์-ยูนิคอร์น-อัลฟา-วิกตี้
C.
กอล์ฟ-โฟร์-ยูนิฟอร์ม-อัลฟา-วิกต้า
D.
กอล์ฟ-โฟร์-ยูนิคอร์น-อัลฟา-วิกโต้
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 33/100
89:59
นาที
33
สัญญาณเรียกขาน I2NDT ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
A.
อินเดีย-ทู-โนดีล-แทงโก
B.
อินเดีย-ทู-โนเวมเบอร์-เดลตา-แทงโก
C.
ไอ-ทู-เนเวอร์-ดู-แธต
D.
อินเดีย-ทู-น็อต-เดลตา-ทู
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 34/100
89:59
นาที
34
สัญญาณเรียกขาน VK3KT ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
A.
วิกเตอร์-คิง-ทรี-คิง-แทงโก
B.
วีนนิ-คิง-ทรี-คิง-โตเมโต
C.
วี-เค-ทรี-เค-ที
D.
วิกต้า-กิโล-ทรี-กิโล-แทงโก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 35/100
89:59
นาที
35
สัญญาณเรียกขาน E2ØAW ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
A.
เอคโค-ยี่สิบ-วัตต์
B.
เอคโค-ทู-ซีโร-อัลฟา-วิสกี
C.
อีซี่-ทเวนตี้-เอเบิล-วิสกี้
D.
เอคโค-ทู-โอ-อัลฟา-วิสกี
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 36/100
89:59
นาที
36
เมื่อได้ยินสัญญาณเรียกขาน “เอกซ์เรย์-เอคโค-วัน-เดลตา-เอกซ์เรย์” เขียนเป็นตัวอักษรอย่างไร
A.
XR1DTR
B.
XE1DX
C.
EX1XD
D.
XR1RX
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 37/100
89:59
นาที
37
ระหว่างที่นายไข่พะโล้กำลัง QSO กับนางสาวไข่ตุ๋น มีคีย์แทรกขึ้นมาว่า “Break (เบรก)” แสดงว่าบุคคลนั้นต้องการจะบอกว่าอะไร
A.
เตือนนายไข่พะโล้ว่าพูดจาไม่เหมาะสม
B.
สั่งนายไข่พะโล้ให้หยุดพูด
C.
ขอขัดจังหวะการสนทนา
D.
ขอคุยกับนางสาวไข่ตุ๋น
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 38/100
89:59
นาที
38
ข้อใดเป็นการใช้คำว่า Roger อย่างถูกต้อง
A.
คุยกันมานาน ยังไม่ Roger หน้ากันเลย ขอ Eyeball หน่อยได้ไหมคะ
B.
เรื่องนี้ผมก็ Roger มานานแล้ว
C.
ขอประทานโทษ ท่าน Roger ที่ตั้งของ E27AU หรือไม่
D.
Roger ครับ จะออกปฏิบัติเดี๋ยวนี้
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 39/100
89:59
นาที
39
เมื่อเพื่อนนักวิทยุทักทายว่า “Hello, OM, how are you ?” เขาหมายความว่าอย่างไร
A.
สวัสดีครับคุณพ่อ สบายดีไหม ?
B.
สวัสดีเพื่อนรัก สบายดีไหม ?
C.
สวัสดีครับแม่ สบายดีไหม ?
D.
ไม่มีในภาษาของนักวิทยุสมัครเล่น
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 40/100
89:59
นาที
40
ในภาษาของนักวิทยุสมัครเล่น คำว่า Eyeball หมายความว่าอย่างไร
A.
เชิญมาเล่นกีฬาเพื่อกระชับมิตรภาพ
B.
พบปะเห็นหน้ากันเห็นตากัน
C.
งานเลี้ยงสังสรรค์
D.
อวยพรวันเกิด
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 41/100
89:59
นาที
41
นายไข่เค็มสตาร์ทรถและเปิดวิทยุขึ้นมาก็ได้ยินการประสานงานให้ความช่วยเหลือในอุบัติเหตุที่มีผู้บาดเจ็บ นายไข่เค็มต้องการทราบว่าอุบัติเหตุนี้อยู่ในเส้นทางที่จะต้องผ่านหรือไม่ นายไข่เค็มควรทำอย่างไร
A.
ฟังไปเรื่อย ๆ โดยไม่รบกวนการประสานงาน เดี๋ยวก็ทราบข้อมูลเอง
B.
กดคีย์เข้าไปถามรายละเอียดจากผู้ประสานงาน
C.
กดคีย์เข้าไปถามว่าต้องการความช่วยเหลือหรือไม่
D.
เปลี่ยนความถี่เพื่อแจ้งข่าวอุบัติเหตุให้กับสถานีควบคุมข่าย
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 42/100
89:59
นาที
42
เพราะเหตุใดพนักงานวิทยุสมัครเล่นจึงสามารถเป็นจิตอาสาที่ดีของประเทศชาติในด้านการสื่อสาร
A.
จากการที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารทางวิทยุด้วยตนเอง
B.
จากการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเครือข่ายของนักสื่อสารสมัครเล่น
C.
มีความรู้และเครื่องมือสื่อสารที่สามารถช่วยเหลือสังคมและสร้างข่ายสื่อสารสำรองของชาติ
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 43/100
89:59
นาที
43
โหมดการติดต่อสื่อสารของวิทยุสมัครเล่นในข้อใด ที่ทำให้ผู้รับแจ้งเหตุรับทราบสถานที่ของผู้แจ้งเหตุได้โดยอัตโนมัติ
A.
APRS (Automatic Packet Report System)
B.
ARDF (Amateur Radio Direction Finding)
C.
ARES (Amateur Radio Emergency Service)
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 44/100
89:59
นาที
44
เราสามารถใช้สมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร (Logbook) เพื่อพัฒนาสถานีวิทยุสื่อสารของเราได้อย่างไร
A.
เปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของสัญญาณที่รับได้จากสถานีที่ติดต่อเป็นประจำ และบันทึกความรู้ต่าง ๆ ที่มีการแลกเปลี่ยนกัน
B.
ส่งให้สำนักงาน กสทช. ตรวจเก็บคะแนนเพื่อเลื่อนขั้น
C.
ติดตั้งไว้ประดับสถานีเพื่อแสดงความเก๋า
D.
ส่งไปแลกเปลี่ยนกับสถานีอื่น
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 45/100
89:59
นาที
45
การแลกเปลี่ยน QSL Card หรือบัตรยืนยันการติดต่อสื่อสารมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
A.
เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ
B.
เพื่อส่งให้สำนักงาน กสทช. ตรวจสอบเป็นระยะ ๆ
C.
เพื่อยืนยันว่าติดต่อกันได้จริง และสะสมไว้แลกรางวัล
D.
เพื่อเป็นหลักฐานในการต่ออายุใบอนุญาต
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 46/100
89:59
นาที
46
p (pico : พิโค) เป็นคำนำหน้าหน่วย หมายถึง
A.
1
⁄
10
6
B.
1
⁄
10
12
C.
1
⁄
10
5
D.
1
⁄
10
4
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 47/100
89:59
นาที
47
ข้อใดต่อไปนี้ทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
A.
มอเตอร์
B.
แบตเตอรี่รถยนต์
C.
ไดนาโม
D.
โรงไฟฟ้า
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 48/100
89:59
นาที
48
เมื่อเส้นลวดตัวนำเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กจะเกิดอะไรขึ้นในเส้นลวดตัวนำ
A.
ความร้อน
B.
กระแสไฟฟ้า
C.
พลังงานนิวเคลียร์
D.
พลังงานกล
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 49/100
89:59
นาที
49
แบตเตอรี่แบบปฐมภูมิ (Primary Cell) หมายถึง
A.
แบตเตอรี่ที่สามารถประจุไฟใหม่ได้
B.
แบตเตอรี่ที่ไม่สามารถประจุไฟใหม่ได้
C.
แบตเตอรี่ที่ประจุไฟได้เป็นบางครั้ง
D.
แบตเตอรี่ที่เป็นพื้นฐานหลักของแบตเตอรี่ทุกชนิด
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 50/100
89:59
นาที
50
แบตเตอรี่ขนาดความจุ 500 มิลลิแอมแปร์-ชั่วโมง (mAh) 12 โวลต์ (V) เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าไปใช้งาน 100 มิลลิแอมแปร์ (mA) คงที่จะใช้งานได้นานเท่าไร
A.
5 นาที
B.
5 วัน
C.
5 ชั่วโมง
D.
5 ปี
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 51/100
89:59
นาที
51
สัญลักษณ์ทางไฟฟ้าข้างล่างนี้หมายถึงอุปกรณ์ใด
A.
ตัวต้านทาน
B.
ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้
C.
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า
D.
ตัวเก็บประจุไฟฟ้าชนิดปรับค่าได้
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 52/100
89:59
นาที
52
กำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็น
A.
โวลต์ (V)
B.
โอห์ม (?)
C.
วัตต์ (W)
D.
แอมแปร์ (A)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 53/100
89:59
นาที
53
ฉนวนไฟฟ้า คือ
A.
สสารที่มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี
B.
สสารที่มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ยากมาก
C.
สสารที่มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ในบางเวลา
D.
สสารที่มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ปานกลาง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 54/100
89:59
นาที
54
อุปกรณ์ใดต่อไปนี้สร้างขึ้นจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)
A.
ทรานซิสเตอร์
B.
ไดโอดชนิดซิลิคอน (Silicon Diode)
C.
ไอซี (Integrated Circuit)
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 55/100
89:59
นาที
55
สูตรในการหาค่าความจุไฟฟ้ารวม (C รวม) ที่ต่อแบบขนานคือ
A.
C รวม = C
1
-C
2
+C
3
-C
....
B.
C รวม = C
1
+C
2
+C
3
+C
....
C.
D.
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 56/100
89:59
นาที
56
ค่าคาปาซิทีฟ รีแอกแตนซ์ (Capacitive Reactance : XC) มีหน่วยเป็น
A.
โมห์
B.
วัตต์
C.
โอห์ม
D.
โวลต์
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 57/100
89:59
นาที
57
อุปกรณ์ที่ใช้กำเนิดความถี่โดยเกิดการสั่นด้วยความถี่เฉพาะค่าหนึ่งเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าคือ
A.
ตัวต้านทาน
B.
ตัวเก็บประจุ
C.
หม้อแปลงไฟฟ้า
D.
แร่บังคับความถี่
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 58/100
89:59
นาที
58
ความถี่ไอเอฟ (IF) ของเครื่องรับวิทยุแบบซูเปอร์เฮเทอโรดายน์ เอเอ็ม (Superheterodyne AM) เป็นเท่าไร
A.
455 กิโลเฮิรตซ์ (kHz)
B.
10.7 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)
C.
500 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)
D.
2882 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 59/100
89:59
นาที
59
ภาคโลคัลออสซิลเลเตอร์ (Local Oscillator) ของเครื่องรับวิทยุแบบซูเปอร์เฮเทอโรดายน์(Superheterodyne) ทำหน้าที่
A.
กำเนิดความถี่ขึ้นมาเพื่อไปผสมกับความถี่ที่รับเข้ามาที่ภาคมิกเซอร์ (Mixer)
B.
กำเนิดความถี่ขึ้นมาเพื่อไปผสมกับความถี่ที่รับเข้ามาภาคไอเอฟแอมปลิไฟเออร์ (IF Amplifier)
C.
กำเนิดขึ้นมาเพื่อชดเชยการเปลี่ยนแปลงทางความถี่ ทำให้การรับดีขึ้น
D.
ไม่มีคำตอบใดถูกต้อง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 60/100
89:59
นาที
60
เครื่องรับ-ส่งวิทยุเครื่องหนึ่งใช้กับแรงดันไฟฟ้าขนาด 12 VDC ถ้าป้อนแรงดันไฟฟ้า ขนาด 36 VDC เข้าไปจะทำให้
A.
เครื่องชำรุดเสียหาย
B.
เครื่องมีกำลังส่งมากขึ้น
C.
เครื่องรับสัญญาณได้ดีขึ้น
D.
เครื่องมีอายุการใช้งานมากขึ้น
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 61/100
89:59
นาที
61
คลื่นความถี่ 28 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นสามารถใช้งานได้ มีความยาวคลื่นประมาณเท่าใด
A.
8 เมตร
B.
9 เมตร
C.
10 เมตร
D.
11 เมตร
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 62/100
89:59
นาที
62
เวอร์ติคัลโพลาไรเซชัน (Vertical Polarization) หมายถึง
A.
สนามไฟฟ้าตั้งฉากกับพื้นโลก
B.
สนามแม่เหล็กขนานกับสนามไฟฟ้า
C.
สนามไฟฟ้าขนานกับพื้นโลก
D.
สนามแม่เหล็กตั้งฉากกับสนามไฟฟ้า
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 63/100
89:59
นาที
63
ตามรูปข้างล่าง ทิศทางใดที่สามารถรับ-ส่งสัญญาณได้ดีที่สุด
A.
ทิศเหนือ
B.
ทิศใต้
C.
ทิศตะวันออก
D.
ทิศตะวันตก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 64/100
89:59
นาที
64
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับปรับอิมพีแดนซ์ (Impedance) ของสายนำสัญญาณให้เข้ากันได้เรียกว่าอะไร
A.
บาลัน (Balun)
B.
คอยล์ (Coil)
C.
ออสซิลเลเตอร์ (Oscillator)
D.
คอนเดนเซอร์ (Condenser)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 65/100
89:59
นาที
65
หน้าที่หลักของสถานีทวนสัญญาณ (Repeater) คือ
A.
บันทึกข้อความการติดต่อสื่อสารของสถานีวิทยุต่างๆ
B.
เพิ่มระยะทางการติดต่อให้ไกลขึ้น
C.
เป็นสถานีพยากรณ์อากาศเพื่อให้ทราบความสูงของชั้นบรรยากาศในการติดต่อสื่อสาร
D.
เป็นสถานีที่ช่วยเหลือและให้คำแนะนำนักวิทยุสมัครเล่น
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 66/100
89:59
นาที
66
การที่สายจ่ายกำลังไฟฟ้าที่ต่อกับแบตเตอรี่ร้อนจัดผิดปกติในขณะใช้งาน โดยทั่วไปเกิดจาก
A.
สายจ่ายกำลังไฟฟ้าต่ออย่างไม่เรียบร้อย เช่น หลวม
B.
การเกิดสนิมที่รอยต่อระหว่างสายจ่ายกำลังไฟฟ้ากับขั้วแบตเตอรี่
C.
สายจ่ายกำลังไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กเกินไป
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 67/100
89:59
นาที
67
การเลือกใช้ดัมมีโหลด (Dummy Load) ควรคำนึงถึง
A.
ย่านความถี่ใช้งาน
B.
กำลังส่งสูงสุดที่ทนได้
C.
ค่าอิมพีแดนซ์ (Impedance)
D.
ไม่มีคำตอบข้อใดถูกต้อง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 68/100
89:59
นาที
68
ตามรูปข้างล่างนี้เครื่องมือวัด A และ B จะแสดงค่าอะไร
A.
A แสดงค่าแรงดันไฟฟ้า และ B แสดงค่ากระแสไฟฟ้า
B.
A แสดงค่ากระแสไฟฟ้า และ B แสดงค่าแรงดันไฟฟ้า
C.
A แสดงค่าความต้านทาน และ B แสดงค่ากระแสไฟฟ้า
D.
A แสดงค่าแรงดันไฟฟ้า และ B แสดงค่าความต้านทาน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 69/100
89:59
นาที
69
การจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้กับเครื่องรับ-ส่งวิทยุดังรูป จะเกิดผลอย่างไร
A.
เครื่องรับ-ส่งวิทยุทำงานปกติ
B.
เครื่องรับ-ส่งวิทยุไม่ทำงาน
C.
เครื่องรับ-ส่งวิทยุเสียหายเฉพาะภาคส่ง
D.
เครื่องรับ-ส่งวิทยุเสียหายเฉพาะภาครับ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 70/100
89:59
นาที
70
การที่กำลังส่งย้อนกลับมาสู่เครื่องรับ-ส่งวิทยุ มีสาเหตุมาจาก
A.
การใช้สายอากาศในย่านความถี่ที่ไม่ตรงกับความถี่ของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
B.
การปรับสายอากาศไม่ตรงทิศทางในการรับ-ส่ง
C.
การใช้แบตเตอรี่ผิดพลาด
D.
การเคลื่อนที่หรือย้ายเครื่องรับ-ส่งวิทยุเป็นประจำ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 71/100
89:59
นาที
71
เมื่อต้องการทดสอบหรือปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุ ต้องใช้เครื่องมือชนิดใด
A.
เอเอฟ ซิกแนลเจนเนอเรเตอร์ (AF Signal Generator)
B.
อาร์เอฟ ซิกแนลเจนเนอเรเตอร์ (RF Signal Generator)
C.
ออสซิลโลสโคป (Oscilloscope)
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 72/100
89:59
นาที
72
เมื่อต้องการเห็นรูปคลื่นของสัญญาณไฟฟ้า ต้องใช้เครื่องมือวัดชนิดใด
A.
อิเล็กตรอนไมโครสโคป (Electron Microscope)
B.
ออสซิลโลสโคป (Oscilloscope)
C.
เครื่องนับความถี่ (Frequency Counter)
D.
เอซีโวลต์มิเตอร์ (AC Voltmeter)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 73/100
89:59
นาที
73
เครื่องมือที่ใช้วัดความแรงของคลื่นวิทยุเพื่อหารูปแบบการแพร่กระจายคลื่น (Radiation Pattern) คือ
A.
เครื่องนับความถี่ (Frequency Counter)
B.
อาร์เอฟ ฟิลด์สเตร็งท์มิเตอร์ (RF Field Strength Meter)
C.
วีเอสดับบลิวอาร์มิเตอร์ (VSWR Meter)
D.
อาร์เอฟ โวลต์มิเตอร์ (RF Voltmeter)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 74/100
89:59
นาที
74
คำว่า การใช้พลังงานไฟฟ้า (Power Consumption) หมายความว่าอะไร
A.
กำลังความเข้มของคลื่นวิทยุ
B.
อัตราการขยายของเครื่องส่งวิทยุ
C.
ค่ากำลังไฟฟ้าที่ทำให้เครื่องรับ-ส่งวิทยุทำงานได้
D.
อัตราการขยายของเครื่องรับวิทยุ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 75/100
89:59
นาที
75
ค่า SWR ต่อไปนี้ ค่าใดดีที่สุด
A.
5:1
B.
1.5 : 1
C.
3:1
D.
4:1
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 76/100
89:59
นาที
76
วีเอสดับบลิวอาร์ มิเตอร์ (VSWR Meter) เป็นเครื่องมือตรวจสอบอะไรบ้าง
A.
การเบี่ยงเบนของความถี่
B.
ความไวในการรับของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
C.
การแมตชิ่งอิมพีแดนซ์ของสายอากาศ
D.
ความชัดเจนของคลื่นเสียง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 77/100
89:59
นาที
77
ถ้าสายอากาศภาคส่งวางในแนวตั้ง สายอากาศภาครับควรวางในแนวใดจึงสามารถรับส่งได้ดีที่สุด
A.
แนวเฉียงทำมุม 45 องศา
B.
แนวนอน
C.
แนวตั้ง
D.
แนวขนานกับพื้นโลก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 78/100
89:59
นาที
78
การใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุ ทำหน้าที่รับโดยถอดสายอากาศออก จะมีผลอย่างไร
A.
รับไม่ได้เลย หรือรับได้แต่ไม่ค่อยดี
B.
เครื่องจะเสีย
C.
รับได้เป็นปกติ
D.
ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ค.
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 79/100
89:59
นาที
79
แอนเทนนา โรเตเตอร์ (Antenna Rotator) คืออะไร
A.
สายอากาศชนิดหนึ่งซึ่งหมุนได้
B.
อุปกรณ์ที่ใช้หมุนเพื่อเปลี่ยนทิศทางของสายอากาศ
C.
สายอากาศชนิดเคลื่อนที่ได้
D.
เครื่องมือซึ่งทำให้สายอากาศเพิ่มอัตราการขยาย
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 80/100
89:59
นาที
80
ถ้าต้องการติดต่อระยะทางไกล ๆ สามารถปฏิบัติอย่างไรได้บ้าง
A.
เพิ่มความสูงของสายอากาศ
B.
เพิ่มความไวในการรับ
C.
เพิ่มอัตราขยายของสายอากาศ
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 81/100
89:59
นาที
81
การใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุโดยขาดการดูแลรักษา อาจทำให้เกิดการชำรุดในลักษณะใดได้บ้าง
A.
รับได้ ส่งไม่ได้
B.
ส่งได้ รับไม่ได้
C.
ความไวและกำลังส่งลดน้อยลงกว่าเดิม
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 82/100
89:59
นาที
82
คลื่นฮาร์มอนิก (Harmonic) มีความหมายว่าอย่างไร
A.
คือ คลื่นความถี่ของวงจรไอเอฟ แอมปลิไฟเออร์ (IF Amplifier)
B.
คือ คลื่นความถี่ที่ต้องการออกอากาศ
C.
คือ คลื่นความถี่ที่มีค่าเป็นจำนวนเท่าของความใช้งาน
D.
ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ค.
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 83/100
89:59
นาที
83
การติดตั้งสายอากาศเพื่อใช้กับเครื่องรับ-ส่งวิทยุมีหลักการดังนี้
A.
ติดตั้งให้ห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูงมากที่สุด
B.
ติดตั้งห่างจากต้นไม้ใหญ่
C.
ติดตั้งให้ใกล้เครื่องรับ-ส่งวิทยุมากที่สุด
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 84/100
89:59
นาที
84
อิเล็กโตรแมกเนติก อินเตอร์เฟียเรนซ์ (Electromagnetic Interference: EMI) คือ
A.
การรบกวนต่อคลื่นวิทยุอันเกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
B.
การรบกวนต่อคลื่นวิทยุอันเกิดจากระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์
C.
การรบกวนต่อคลื่นวิทยุอันเกิดจากผู้จงใจส่งคลื่นรบกวน
D.
ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 85/100
89:59
นาที
85
การตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นย่านความถี่ VHF โดยติดตั้งสายอากาศสูง 60 เมตร บางครั้งจะได้ยินเสียงสัญญาณจากสถานีวิทยุต่าง ๆ ซ้อนทับกันวุ่นวายจนไม่สามารถใช้สื่อสารได้ ควรแก้ปัญหาอย่างไร
A.
บ่นและระบายอารมณ์บนคลื่นความถี่
B.
ใช้อุปกรณ์ลดความไวภาครับ (Attenuator) และลดกำลังส่งให้ต่ำที่สุด
C.
แจ้งสำนักงาน กสทช.
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 86/100
89:59
นาที
86
“จริยธรรม” แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ “จริยะ+ธรรม” ซึ่งคำว่า “ธรรม” หมายถึงข้อใด
A.
ความรู้สึก
B.
ความประพฤติ
C.
คุณความดี
D.
ความนึกคิด
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 87/100
89:59
นาที
87
พฤติกรรมเชิงจริยธรรม หมายถึงข้อใด
A.
ความรู้สึกต่อพฤติกรรมต่าง ๆ ในทางที่ชอบหรือไม่ชอบ
B.
เบื้องหลังการกระทำของบุคคลใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกกระทำ
C.
การแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของสังคมและปฏิเสธการแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของสังคม
D.
ไม่มีข้อถูก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 88/100
89:59
นาที
88
ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ “พรหมวิหาร 4”
A.
เมตตา คือ ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
B.
กรุณา คือ ความปรารถนาช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์
C.
มุทิตา คือ ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
D.
ทาน คือ การให้ เสียสละ แบ่งปัน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 89/100
89:59
นาที
89
ข้อใดต่อไปนี้คือ “พรหมวิหาร 4”
A.
ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
B.
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
C.
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
D.
ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 90/100
89:59
นาที
90
พนักงานวิทยุสมัครเล่นที่พูดจาสุภาพ อ่อนหวานและไพเราะ ตรงกับหลักธรรมะในข้อใด
A.
เมตตา
B.
กรุณา
C.
มุทิตา
D.
ปิยวาจา
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 91/100
89:59
นาที
91
บุคคลใดต่อไปนี้ ปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น
A.
หญิงใหญ่ ใช้ถ้อยคำสุภาพในการออกอากาศทุกครั้ง
B.
ชายใหญ่ รับ-ส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง
C.
ชายกลาง ติดต่อสื่อสารกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาตเป็นประจำ
D.
หญิงเล็ก ใช้ช่องความถี่สำหรับโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับร้านคาราโอเกะของตนเอง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 92/100
89:59
นาที
92
ข้อใดไม่ใช่คุณธรรมและจริยธรรมของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
A.
รู้รักสามัคคีและเป็นมิตรกับพนักงานวิทยุสมัครเล่นทุกคน
B.
มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
C.
เปิดเผยข้อมูลความลับที่ไม่ควรเปิดเผย
D.
ดำรงตนเป็นที่พึ่งของสุจริตชน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 93/100
89:59
นาที
93
ข้อใดเป็นข้อห้ามสำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น
A.
ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีหรือเครื่องวิทยุคมนาคม
B.
กระทำผิดกฎหมายวิทยุคมนาคมหรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
C.
แย่งใช้ช่องสัญญาณติดต่อสื่อสาร
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 94/100
89:59
นาที
94
ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่นตามคำกล่าวของนายพอล เอ็ม ซีกัล (Pual M. Segal) นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน สัญญาณเรียกขาน W9EEA
A.
นักวิทยุสมัครเล่นต้องคำนึงถึงผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจใช้ความถี่ไปลดทอนความพึงพอใจของสถานีอื่น
B.
นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้ที่มีความจริงใจ ให้การส่งเสริมและช่วยเหลือเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่น
C.
นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้รักความก้าวหน้า ติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ และปรับปรุงสถานีวิทยุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานทันที
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 95/100
89:59
นาที
95
ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่นตามคำกล่าวของนายพอล เอ็ม ซีกัล (Pual M. Segal) นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน สัญญาณเรียกขาน W9EEA
A.
นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ที่มีอัธยาศัย ความเป็นมิตร ให้ความร่วมมือ และคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่นเสมอเพื่อความเป็นนักวิทยุสมัครเล่นที่ดีต่อกัน
B.
นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้ที่มีความจริงใจ ให้การส่งเสริมและช่วยเหลือเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่น
C.
นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้รักความก้าวหน้า ติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ และปรับปรุงสถานีวิทยุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานทันที
D.
ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 96/100
89:59
นาที
96
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้อง
A.
นายเป้ ใช้ถ้อยคำหยาบคายหรือเป็นการดูหมิ่นในการติดต่อสื่อสารอยู่เป็นประจำ
B.
นายปังปอนด์ แนะนำให้นายปิ่นไปซื้อเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
C.
นางสาวมิ้นต์ ใฝ่หาความรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองและทำหน้าที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
D.
นางสาวไฉไล เป็นนักวิทยุสมัครเล่นได้ดัดแปลงเครื่องวิทยุคมนาคมกิจการวิทยุสมัครเล่นเพื่อให้สามารถใช้ความถี่ของมูลนิธิสาธารณกุศลต่าง ๆ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 97/100
89:59
นาที
97
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้อง
A.
ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีวิทยุคมนาคมกระทำผิดกฎหมายวิทยุคมนาคม
B.
ไม่รับจ้างวานเพื่อรับส่งข่าวสารไปยังบุคคลที่สาม
C.
รับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมาย
D.
ติดต่อกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาต
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 98/100
89:59
นาที
98
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้องภายหลังจากทราบว่าการปฏิบัติตนในการออกอากาศของเราไม่ถูกต้อง
A.
สอบถามข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้และฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ
B.
ค้นหาข้อมูลเองไม่ต้องสอบถามใคร เพราะกลัวคนอื่นจะรู้ว่าเป็นมือใหม่
C.
หยุดออกอากาศระยะหนึ่ง เพื่อให้คนอื่น ๆ ลืมการปฏิบัติของตนที่ผ่านมา
D.
เปลี่ยนจากการออกอากาศเป็นการฟังอย่างเดียว
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 99/100
89:59
นาที
99
ข้อใดเป็นเรื่องที่เหมาะสำหรับการนำมาเป็นบทสนทนาในการออกอากาศ
A.
การนำเสนอขายสินค้าที่เป็นธุรกิจของตน
B.
เทคนิคการติดต่อสื่อสารในโหมดต่าง ๆ
C.
ศาสนาและการเมือง
D.
เรื่องขำขันใต้สะดือ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 100/100
89:59
นาที
100
คำตอบในข้อใดเหมาะสมกับคำว่า “นักวิทยุสมัครเล่นที่ดี”
A.
เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นมานาน 20 ปีแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งสัญญาณเรียกขานเพราะทุกคนจำเสียงได้
B.
คิดค้นและประดิษฐ์สายอากาศเป็นประจำเพื่อนำมาเสนอขายให้เพื่อนสมาชิกในการออกอากาศ
C.
ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักวิทยุสมัครเล่นคนอื่น ๆ ในการออกอากาศ และคอยแนะนำการใช้คลื่นความถี่ให้กับผู้ที่สนใจ
D.
ให้คำปรึกษากับเพื่อนสมาชิกในเรื่องการติดต่อสื่อสารในโหมดต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ แต่ตนเองลืมไปดำเนินการขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นฉบับใหม่ ภายหลังจากฉบับเดิมหมดอายุ
คำถามก่อนหน้า
คุณยังตอบคำถามไม่ครบ :
100
ข้อ จาก 100 ข้อ
(คลิกที่หมายเลขข้อที่ต้องการ เพื่อตอบคำถาม)
เลือก
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
เสร็จสิ้น