NBTC ONE STOP SERVICE

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง

120:00 นาที

คำถามที่ 1/100

1
ข้อใดคือกำลังส่งสูงสุดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานในย่าน HF สำหรับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
ก. 200 วัตต์
ข. 500 วัตต์
ค. 1000 วัตต์
ง. 1500 วัตต์
คำถามต่อไป

คำถามที่ 2/100

2
ความถี่ใดต่อไปนี้ในตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการรอง
ก. 1.825 – 2.000 MHz
ข. 430 – 440 MHz
ค. 1 240 – 1 300 MHz
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 3/100

3
ความถี่ใดต่อไปนี้ในตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการหลัก
ก. 50 – 54 MHz
ข. 2 300 – 2 450 MHz
ค. 3 300 – 3 500 MHz
ง. 24 – 24.05 GHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 4/100

4
ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง การแพร่คลื่นความถี่แปลกปลอม (Spurious Emissions)
ก. สถานีวิทยุสมัครเล่นที่ส่งสัญญาณโดยไม่ระบุสัญญาณเรียกขาน
ข. สัญญาณที่ถูกส่งออกมาเพื่อป้องกันการดักรับสัญญาณ
ค. สัญญาณแปลกปลอมใด ๆ ที่ถูกส่งออกมาจากเครื่องส่งวิทยุคมนาคม
ง. สัญญาณที่แผ่เกินจากแถบความถี่ที่ใช้งาน (Necessary Bandwidth) ซึ่งสามารถที่จะลดหรือตัดออกไปได้โดยไม่กระทบกับข้อมูลที่ต้องการส่ง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 5/100

5
การลงโทษโดยตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ครอบคลุมการกระทำของพนักงานวิทยุสมัครเล่นในข้อใด
ก. ใช้ถ้อยคำหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร
ข. ติดต่อกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่รับอนุญาต
ค. ไม่บันทึกการติดต่อสื่อสารในสมุดบันทึก (Log Book) ประจำสถานีวิทยุคมนาคม
ง. แย่งใช้ช่องสัญญาณในการติดต่อสื่อสาร หรือใช้ช่องสัญญาณในลักษณะยึดถือครอบครองเฉพาะกลุ่มบุคคล
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 6/100

6
ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่นตามคำกล่าวของนายพอล เอ็ม ซีกัล (Paul M. Segal) นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน สัญญาณเรียกขาน W9EEA
ก. นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยความเป็นมิตร ให้ความร่วมมือและคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่นเสมอเพื่อความเป็นนักวิทยุสมัครเล่นที่ดีต่อกัน
ข. นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้มีความรักชาติ พร้อมเสมอที่จะใช้ความรู้ความสามารถและใช้สถานีวิทยุสมัครเล่นเพื่อรับใช้สังคมและประเทศชาติ
ค. นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้มีดุลยภาพที่พอดี โดยคิดเสมอว่าวิทยุสมัครเล่นเป็นงานอดิเรก จึงไม่ปล่อยให้เกิดความเสียหายต่อภารกิจที่ต้องรับผิดชอบทั้งครอบครัว อาชีพ และสังคม
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 7/100

7
กิจการวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียมหมายถึงข้อใด
ก. กิจการวิทยุนำทางที่ใช้ดาวเทียมเพื่อการฝึกฝนตนเองในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน และการทดสอบทางเทคนิคโดยพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ข. กิจการที่ให้บริการจัดส่งดาวเทียมที่สร้างโดยพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ค. กิจการวิทยุคมนาคมที่ใช้สถานีอวกาศบนดาวเทียมเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
ง. กิจการวิทยุคมนาคมที่ใช้สถานีภาคพื้นดินเพื่อการกระจายเสียง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 8/100

8
ข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศปัจจุบัน กำหนดให้สัญญาณเรียกขานของสถานีในกิจการวิทยุสมัครเล่นปกติเป็นแบบใด
ก. ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 2 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ข. ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 3 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ค. ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 4 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ง. ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 5 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 9/100

9
ประเทศใดต่อไปนี้ที่ประเทศไทยไม่มีข้อตกลงต่างตอบแทน (Reciprocal Agreement) เกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
ก. เยอรมัน
ข. สหราชอาณาจักร
ค. ออสเตรีย
ง. ออสเตรเลีย
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 10/100

10
พนักงานวิทยุสมัครเล่นในข้อใดที่ได้รับอนุญาตให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ขยายกำลังส่งภายนอก (External RF Power Amplifier) ได้
ก. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
ข. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
ค. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และข้อ ค.
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 11/100

11
คาบเวลาวงโคจร (Orbital Period) ของดาวเทียมคือข้อใด
ก. จุดที่สูงที่สุดของวงโคจรดาวเทียม
ข. จุดที่ต่ำที่สุดของวงโคจรดาวเทียม
ค. ระยะเวลาที่ดาวเทียมใช้ในการโคจรรอบโลกหนึ่งรอบ
ง. ระยะเวลาที่ดาวเทียมใช้ในการเดินทางจากโลกเข้าสู่วงโคจร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 12/100

12
ในการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง Mode
ก. ชนิดของสัญญาณซึ่งสามารถส่งผ่านดาวเทียม
ข. ช่วงความถี่ที่ใช้ในการส่งสัญญาณ Uplink และ Downlink ของดาวเทียม
ค. ลักษณะการใช้งานดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นของสถานีภาคพื้นดิน
ง. ลักษณะการโคจรของดาวเทียม ได้แก่ทางแถบขั้วโลกหรือทางแถบเส้นศูนย์สูตร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 13/100

13
รูปแบบการติดต่อสื่อสารของดาวเทียม (Satellite Mode) จะถูกกำหนดโดยอะไร
ก. ขนาดกำลังส่งของการ Uplink และ Downlink
ข. ตำแหน่งของสถานีควบคุม
ค. รูปแบบการแพร่กระจายคลื่นของการส่งสัญญาณ Uplink และ Downlink
ง. ช่วงความถี่ที่ใช้สำหรับการ Uplink และ Downlink
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 14/100

14
ถ้าดาวเทียมทำงานในโหมด U/V ภาครับสัญญาณของดาวเทียมจะใช้ช่วงความถี่ใด
ก. 435 – 438 MHz
ข. 144 – 146 MHz
ค. 50.0 – 50.2 MHz
ง. 29.5 – 29.7 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 15/100

15
รูปแบบของการส่งสัญญาณประเภทใด สามารถส่งผ่านทาง Linear Transponder ของดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นได้
ก. FM และ CW
ข. SSB และ SSTV
ค. PSK และ Packet
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 16/100

16
ข้อใดต่อไปนี้คือสาเหตุของการที่สัญญาณจากดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นอาจจางหายไปอย่างรวดเร็วเป็นบางครั้ง
ก. เนื่องจากดาวเทียมมีการหมุนตัว
ข. เนื่องจากการดูดกลืนคลื่นในชั้นบรรยากาศ Ionosphere
ค. เนื่องจากเป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ
ง. เนื่องจาก Doppler Effect ซึ่งความถี่ของคลื่นจะเปลี่ยนแปลงเมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 17/100

17
ข้อใดคือลักษณะการทำงานร่วมกันของโทรทัศน์แบบ Fast Scan ในระบบ NTSC
ก. การ Scan สองพื้นที่พร้อมกัน
ข. การ Scan แต่ละพื้นที่จากล่างขึ้นบน
ค. การ Scan จากซ้ายไปขวาบนพื้นที่แรกและขวาไปซ้ายของพื้นที่ถัดไป
ง. การ Scan เส้นจำนวนคี่ในพื้นที่แรกและจำนวนคู่ในพื้นที่ถัดไป
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 18/100

18
Blanking ของสัญญาณภาพ หมายถึง
ก. การ Synchronization แนวนอนและแนวตั้งของ Sync Pulses
ข. หยุดลำอิเล็กตรอนไม่ให้สแกนกลับจากขวาไปซ้ายหรือจากล่างขึ้นบน
ค. ปิดการ Scan ลำแสง หยุดลำอิเล็กตรอนเมื่อการส่งสัญญาณสิ้นสุดลง
ง. เป็นการส่งภาพทดสอบแบบขาวดำ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 19/100

19
การส่งสัญญาณ SSTV แบบ Analog บนย่านความถี่ HF มีหลักการทำงานอย่างไร
ก. แปลงข้อมูลภาพเป็นรหัส Baudot
ข. แปลงข้อมูลภาพเป็นรหัส ASCII
ค. แปลงข้อมูลภาพให้เป็นโทนเสียงที่หลากหลายแล้วส่งออกอากาศในรูปแบบ PSK
ง. แปลงข้อมูลภาพให้เป็นโทนเสียงที่หลากหลายแล้วส่งออกอากาศในรูปแบบ Single Sideband
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 20/100

20
ในการส่งสัญญาณ SSTV ของวิทยุสมัครเล่นจะใช้อะไรเป็นตัวกำหนดความสว่างของภาพ
ก. Tone Frequency
ข. Tone Amplitude
ค. Sync Amplitude
ง. Sync Frequency
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 21/100

21
การรับสัญญาณ SSTV จะเริ่มต้นการสร้างภาพใหม่โดย
ก. โทนเสียงที่มีความถี่เฉพาะ
ข. เวลาที่ใช้ไป (Elapsed Time)
ค. โทนเสียงที่มีระดับความแรงเฉพาะ
ง. สัญญาณ Two-Tone
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 22/100

22
Bandwidth โดยประมาณของสัญญาณ Slow Scan TV คือ
ก. 600 Hz
ข. 3 kHz
ค. 2 MHz
ง. 6 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 23/100

23
เทคนิค Frequency Hopping ของ Spread-Spectrum ทำงานอย่างไร
ก. ถ้าภาครับตรวจพบการรบกวน ภาคส่งจะเปลี่ยนความถี่ใช้งาน
ข. เมื่อภาครับพบการรบกวน ภาคส่งจะรอจนกว่าจะไม่มีการรบกวนเกิดขึ้น
ค. สร้างการสุ่มเทียม (Pseudo-Random) อย่างรวดเร็วเพื่อหลบหลีกสัญญาณการรบกวน
ง. ความถี่ส่งจะถูกเปลี่ยนอย่างรวดเร็วตามลำดับที่กำหนดไว้ โดยสถานีรับจะเปลี่ยนตาม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 24/100

24
โดยปกติเราจะแจ้งสัญญาณเรียกขานอย่างไร เมื่อต้องการติดต่อกับสถานี DX ที่กำลัง Pileup หรือสถานีที่กำลังแข่งขัน
ก. แจ้งสัญญาณเรียกขานเต็มครั้งเดียวหรือสองครั้ง
ข. แจ้งสัญญาณเรียกขานสองตัวสุดท้ายจนกว่าจะสามารถติดต่อได้
ค. แจ้งสัญญาณเรียกขานเต็มพร้อมทั้งแจ้งตำแหน่งที่ตั้งแบบ Grid Square
ง. แจ้งสัญญาณเรียกขานของสถานี DX สามครั้ง และแจ้งสัญญาณเรียกขานของสถานีตนเองสามครั้ง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 25/100

25
การสื่อสารสะท้อนผิวดวงจันทร์ (EME) โหมดดิจิทัล (Digital) ใช้รูปแบบใดจึงมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ก. FSK441
ข. PACTOR III
ค. Olivia
ง. JT65
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 26/100

26
วัตถุประสงค์ของการบันทึกแล้วส่งต่อข้อมูลดิจิทัล (Digital Store And Forward) บนดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นคืออะไร
ก. Upload ระบบปฏิบัติการของ Transponder
ข. ถ่ายทอดระบบโทรมาตรของดาวเทียม
ค. จัดเก็บข้อความในรูปแบบดิจิทัลบนดาวเทียม เพื่อให้สถานีอื่น ๆ Download ตามต้องการ
ง. ถ่ายทอดข้อความระหว่างดาวเทียม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 27/100

27
ความถี่ใช้งาน APRS ในย่าน 2 เมตร คือความถี่ใด
ก. 144.39 MHz
ข. 144.20 MHz
ค. 145.02 MHz
ง. 146.52 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 28/100

28
ข้อใดต่อไปนี้คือ Protocol ใช้ใน APRS
ก. PACTOR
ข. 802.11
ค. AX.25
ง. AMTOR
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 29/100

29
การสื่อสารดิจิทัลในรูปแบบใดสามารถส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วที่สุด ในสถานการณ์ที่สัญญาณสื่อสารชัดเจน
ก. AMTOR
ข. 170-Hz Shift, 45 Baud RTTY
ค. PSK31
ง. 300-Baud Packet
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 30/100

30
นิยมใช้การผสมคลื่นแบบใดในการส่งข้อมูล (Data) ด้วยวิทยุสื่อสารในความถี่ที่ต่ำกว่า 30 MHz
ก. DTMF Tone ด้วยการผสมคลื่นแบบ FM
ข. FSK
ค. Pulse Modulation
ง. Spread-Spectrum
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 31/100

31
โดยทั่วไปอัตราการส่งข้อมูล (Data Rate) ของ Packet Radio ในย่านความถี่ HF คือ
ก. 48 Baud
ข. 110 Baud
ค. 300 Baud
ง. 1200 Baud
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 32/100

32
Bandwidth ที่ใช้ในการส่งสัญญาณแบบ MFSK16 คือ
ก. 31 Hz
ข. 316 Hz
ค. 550 Hz
ง. 2.16 kHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 33/100

33
ข้อใดต่อไปนี้เป็นการสื่อสารแบบดิจิทัล (Digital Mode) ในย่าน HF ที่สามารถใช้ส่งข้อมูลรูปแบบ Binary File ได้
ก. Hellschreiber
ข. PACTOR
ค. RTTY
ง. AMTOR
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 34/100

34
การสื่อสารแบบดิจิทัล (Digital) รูปแบบใดใช้ Bandwidth แคบที่สุด
ก. MFSK16
ข. 170-Hz shift, 45 Baud RTTY
ค. PSK31
ง. 300-Baud Packet
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 35/100

35
การสื่อสารแบบดิจิทัล (Digital) รูปแบบใดไม่สนับสนุนการทำงานแบบ Keyboard To Keyboard
ก. WinLink
ข. RTTY
ค. PSK31
ง. MFSK
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 36/100

36
ข้อใดต่อไปนี้คือขนาดกระแสหมุนเวียนภายในตัวอุปกรณ์ของวงจร LC แบบขนาน ในภาวะ Resonance
ก. มีค่าต่ำสุด
ข. มีค่าสูงสุด
ค. มีค่าเท่ากับ 1/(2π√LC)
ง. มีค่าเท่ากับ 2π (fL)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 37/100

37
ข้อใดต่อไปนี้คือความสัมพันธ์เชิงเฟสระหว่างกระแสที่ผ่านและแรงดันตกคร่อมวงจร Resonance แบบขนานในภาวะ Resonance
ก. เฟสของแรงดันนำเฟสของกระแสอยู่ 90 องศา
ข. เฟสของกระแสนำเฟสของแรงดันอยู่ 90 องศา
ค. เฟสของกระแสและแรงดันตรงกัน
ง. เฟสของแรงดันและเฟสของกระแสต่างกันอยู่ 180 องศา
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 38/100

38
ข้อใดต่อไปนี้คือค่า Half Power Bandwidth ของวงจร Resonance แบบขนานซึ่งมีความถี่ Resonance 3.7 MHz และ มีค่าคิว (Q) เท่ากับ 118
ก. 436.6 kHz
ข. 218.3 kHz
ค. 31.4 kHz
ง. 15.7 kHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 39/100

39
ข้อใดต่อไปนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างกระแสผ่านและแรงดันตกคร่อมของตัวเก็บประจุ
ก. แรงดันและกระแสมีเฟสตรงกัน
ข. แรงดันและกระแสมีเฟสต่างกัน 180 องศา
ค. เฟสของแรงดันนำหน้ากระแสอยู่ 90 องศา
ง. เฟสของกระแสนำหน้าแรงดันอยู่ 90 องศา
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 40/100

40
ข้อใดต่อไปนี้คือมุมระหว่างเฟสของแรงดันตกคร่อมและกระแสผ่านวงจร RLC อนุกรม ถ้า XC= 75 Ω, R= 100 Ω และ XL= 50 Ω
ก. 76 องศา และ แรงดันตามหลังกระแส
ข. 14 องศา และ แรงดันนำหน้ากระแส
ค. 14 องศา และ แรงดันตามหลังกระแส
ง. 76 องศา และ แรงดันนำหน้ากระแส
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 41/100

41
Polar Coordinate ข้อใดต่อไปนี้คือ Impedance ของวงจรที่ประกอบด้วย XL= 400 Ω ต่อขนานอยู่กับ R= 300 Ω
ก. 240 Ω ที่มุม 36.9 องศา
ข. 240 Ω ที่มุม -36.9 องศา
ค. 500 Ω ที่มุม 53.1 องศา
ง. 500 Ω ที่มุม -53.1 องศา
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 42/100

42
Polar Coordinate ข้อใดต่อไปนี้คือ Impedance ของวงจรที่ประกอบด้วย XC= 100 Ω ต่ออนุกรมอยู่กับ R= 100 Ω
ก. 121 Ω ที่มุม -25 องศา
ข. 191 Ω ที่มุม -85 องศา
ค. 161 Ω ที่มุม -65 องศา
ง. 141 Ω ที่มุม -45 องศา
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 43/100

43
Polar Coordinate ข้อใดต่อไปนี้คือ Impedance ของวงจรที่ประกอบด้วย XC= 100 Ω ต่อขนาน อยู่กับ R= 100 Ω
ก. 31 Ω ที่มุม -15 องศา
ข. 51 Ω ที่มุม -25 องศา
ค. 71 Ω ที่มุม -45 องศา
ง. 91 Ω ที่มุม -65 องศา
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 44/100

44
Polar Coordinate ข้อใดต่อไปนี้คือ Impedance ของวงจรที่มีค่า Impedance 100 - j100 Ω
ก. 141 Ω ที่มุม -45 องศา
ข. 100 Ω ที่มุม 45 องศา
ค. 100 Ω ที่มุม -45 องศา
ง. 141 Ω ที่มุม 45 องศา
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 45/100

45
เหตุใดค่าความต้านทานของตัวนำที่มีต่อ RF Currents จึงไม่เหมือนกับที่มีต่อ DC Currents
ก. เนื่องจากฉนวนจะนำกระแสที่ความถี่สูง
ข. เนื่องจาก Heisenburg Effect
ค. เนื่องจาก Skin Effect
ง. เนื่องจากตัวนำเป็นอุปกรณ์ทำงานแบบไม่เป็นเชิงเส้น
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 46/100

46
ข้อใดต่อไปนี้คือหน่วยในการวัดค่าของพลังงานไฟฟ้าที่เก็บอยู่ในรูปแบบสนามไฟฟ้าสถิตย์
ก. คูลอมป์
ข. จูลล์
ค. วัตต์
ง. โวลต์
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 47/100

47
วงจรไฟฟ้าที่ประกอบด้วย R = 100 Ω ต่ออนุกรมอยู่กับ L ที่มีค่า XL = 100 Ω และมีกระแสผ่าน 1 A จะกินกำลังไฟฟ้ากี่วัตต์
ก. 70.7 W
ข. 100 W
ค. 141.4 W
ง. 200 W
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 48/100

48
ในรูปที่ A6-2 ข้อใดเป็นสัญลักษณ์ของ P-Channel Junction FET
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 6
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 49/100

49
สารกึ่งตัวนำใดต่อไปนี้ประกอบด้วย Excess Of Holes ในวงนอกของอิเล็กตรอน
ก. N Type
ข. P Type
ค. Superconductor Type
ง. Bipolar Type
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 50/100

50
สัญญาณ Output จะเปลี่ยนไปกี่ครั้งเมื่อมีการ Trig ของสัญญาณทุก ๆ สองครั้งเข้าไปที่ Input ของวงจร T Flip-Flop
ก. ไม่มีการเปลี่ยน
ข. 1 ครั้ง
ค. 2 ครั้ง
ง. 3 ครั้ง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 51/100

51
วงจรหาร 4 ของความถี่ Input จะใช้ Flip-Flops จำนวนกี่ตัว
ก. 1 ตัว
ข. 2 ตัว
ค. 4 ตัว
ง. 8 ตัว
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 52/100

52
ลอจิกชนิดใดที่มีสถานะเป็น "1" แทนแรงดันไฟฟ้าระดับสูง
ก. Reverse Logic
ข. Assertive Logic
ค. Negative Logic
ง. Positive Logic
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 53/100

53
JK Flip-Flop คือข้อใด
ก. JK Flip-Flop จะทำงานคล้ายกับ RS Flip-Flop ยกเว้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง สถานะของ J และ K เป็น 1
ข. JK Flip-Flop เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กำลังงานต่ำ อุณหภูมิไม่สูง
ค. JK Flip-Flop จะทำงานคล้ายกับ D Flip-Flop ยกเว้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาณทริกในช่วงขาลงของสัญญาณทริก
ง. JK Flip-Flop เริ่มพัฒนาในประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 54/100

54
ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของ Isotropic Antenna
ก. กราวด์ของสายอากาศที่ใช้วัดความนำไฟฟ้าของพื้นดินบริเวณนั้น
ข. สายอากาศที่มีการแพร่กระจายคลื่นในแนวนอนที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบกับสายอากาศยากิ
ค. เป็นสายอากาศในอุดมคติใช้เป็นตัวอ้างอิงในเรื่องอัตราขยายของสายอากาศ
ง. สายอากาศของยานอวกาศที่ใช้ในการส่งสัญญาณมายังโลก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 55/100

55
อัตราขยายของสายอากาศ Half Wave Dipole ใน Free Space จะเป็นเท่าไรเมื่อเทียบกับสายอากาศแบบ Isotropic
ก. 1.55 dB
ข. 2.15 dB
ค. 3.05 dB
ง. 4.30 dB
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 56/100

56
สายอากาศ Folded Dipole คือ
ก. สายอากาศแบบ Dipole มีความยาวหนึ่งในสี่ของความยาวคลื่น
ข. เป็นรูปแบบหนึ่งของสายอากาศแบบ Ground Plane
ค. เป็นสายอากาศแบบ Dipole ที่สร้างมาจากเส้นโลหะขนาด 1 ความยาวคลื่นแล้วดัดให้เป็น Loop ที่มีลักษณะแคบมาก
ง. เป็นสายอากาศ Dipole ชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้มีอัตราการขยายไปทางด้านหน้า
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 57/100

57
อัตราขยายของสายอากาศ หมายถึงข้อใด
ก. เป็นการเปรียบเทียบความแรงในการแพร่กระจายคลื่นในทิศทางที่มีการแพร่กระจายคลื่นสูงสุดโดยเทียบกับสายอากาศอ้างอิง
ข. อัตราส่วนของกำลังที่ส่งออกไปเทียบกับกำลังที่สะท้อนกลับมา
ค. อัตราส่วนโดยรวมของกำลังการแพร่กระจายสัญญาณจากสายอากาศเทียบกับกำลังส่งจากเครื่องส่ง
ง. อัตราขยายของเครื่องส่งวิทยุลบด้วยการสูญเสียในสายนำสัญญาณและสาย Phasing ต่าง ๆ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 58/100

58
หลักของการวิเคราะห์วิธีโมเมนต์ (Method of Moments) คือ
ก. ใช้ลวดเป็นแบบจำลองแบ่งเป็นส่วน ๆ มาต่ออนุกรมกัน โดยแต่ละส่วนมีกระแสไฟฟ้าจำนวนหนึ่ง
ข. ใช้ลวดเป็นแบบจำลองสำหรับสร้างกระแสไฟฟ้ารูป Sine Wave หนึ่งคลื่น
ค. ใช้ลวดเป็นแบบจำลองแบ่งเป็นจุดมาอนุกรมกัน แต่ละจุดซึ่งมีตำแหน่งที่แตกต่างกันไปตามสถานที่
ง. ใช้ลวดเป็นแบบจำลองแบ่งเป็นส่วน ๆ มาต่ออนุกรมกัน โดยแต่ละส่วนมีแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมจำนวนหนึ่ง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 59/100

59
รูปแบบของการแพร่กระจายคลื่นของสายอากาศ 1/4 ความยาวคลื่น แบบแนวตั้ง 2 ต้น วางขนานกันที่ระยะห่าง 1/2 ความยาวคลื่นและ Feed แบบเฟสเดียวกัน
ก. แพร่กระจายคลื่นคล้ายรูปหัวใจ ♥ (Cardioid)
ข. แพร่กระจายคลื่นแบบรอบตัว
ค. รูปร่างคล้ายเลข 8 ตั้งฉากกับแกนขนาน
ง. รูปร่างคล้ายเลข 8 ท้ายแกนขนาน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 60/100

60
จุดด้อยของสายอากาศแบบ Terminated Rhombic คือ
ก. Bandwidth แคบมาก
ข. กระจายคลื่นในรูปแบบ Circularly
ค. ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากและต้องใช้เสาช่วยยึดทั้ง 4 ด้าน
ง. ความไวและรับสัญญาณรบกวนที่มนุษย์สร้างขึ้นได้มากกว่าสายอากาศชนิดอื่น
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 61/100

61
จากรูปแบบการกระจายคลื่นในภาพ A9-2 แสดงคุณสมบัติใดของสายอากาศที่ติดตั้งบนพื้นดินจริง
ก. มุมเงย (Elevation)
ข. มุมกวาด (Azimuth)
ค. ความต้านทานการแพร่กระจายคลื่น (Radiation Resistance)
ง. การแพร่กระจายเชิงขั้ว (Polarization)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 62/100

62
ข้อเสียของสายอากาศ Multiband Trapped Antenna คือ
ก. อาจมีการปล่อยความถี่ฮาร์มอนิก
ข. ใช้ได้กับความถี่ย่านเดียวเท่านั้น
ค. ให้มุมการแพร่กระจายคลื่นแคบมากในย่านความถี่ต่ำ
ง. มันต้องใช้เทคนิค Neutralization
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 63/100

63
ที่จุดป้อนสัญญาณกึ่งกลางสายอากาศ Folded Dipole จะมีค่า Impedance โดยประมาณเท่าใด
ก. 300 Ω
ข. 72 Ω
ค. 50 Ω
ง. 450 Ω
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 64/100

64
ข้อใดต่อไปนี้เป็นการแมตช์สายอากาศที่มี Impedance 100 Ω กับสายนำสัญญาณ 50 Ω
ก. ใช้สายนำสัญญาณ Twin Lead 300 Ω แบบ Open Stub ยาว ¼ ความยาวคลื่น ต่อแบบขนานกับสายนำสัญญาณและสายอากาศ
ข. ใช้สายนำสัญญาณ Twin Lead 300 Ω ยาว ½ ความยาวคลื่น ต่อแบบอนุกรมระหว่างจุดต่อของสายอากาศและสายนำสัญญาณ 50 Ω
ค. ใช้สายนำสัญญาณ 75 Ω ยาว ¼ ความยาวคลื่น ต่อแบบอนุกรมระหว่างจุดต่อของสายอากาศกับสายนำสัญญาณ 50 Ω
ง. ใช้สายนำสัญญาณ 75 Ω ยาว ½ ความยาวคลื่นแบบ Short Stub ต่อขนานกับสายนำสัญญาณ 50 Ω และต่อกับสายอากาศ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 65/100

65
โดยทั่วไป Velocity Factor ของสายนำสัญญาณที่ใช้โพลีเอทีลีนเป็นฉนวนคือ
ก. 2.7
ข. 0.66
ค. 0.3
ง. 0.1
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 66/100

66
สายนำสัญญาณที่ใช้โพลีเอทีลีนเป็นฉนวนซึ่งมีความยาวทางไฟฟ้า ¼ ความยาวคลื่นของ 14.1 MHz จะมีความยาวทางกายภาพเท่าไรโดยประมาณ
ก. 20 เมตร
ข. 2.3 เมตร
ค. 3.5 เมตร
ง. 0.2 เมตร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 67/100

67
ข้อใดต่อไปนี้สามารถคำนวณได้โดยการใช้ Smith Chart
ก. ค่า Impedance ของสายนำสัญญาณตลอดเส้น
ข. ความต้านทานการแพร่กระจายคลื่น
ค. รูปแบบการแพร่กระจายคลื่นของสายอากาศ
ง. พฤติกรรมการแพร่กระจายคลื่นวิทยุ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 68/100

68
ลักษณะของวงกลมและส่วนโค้งที่เป็น Smith Chart คือ
ก. Resistance และ Voltage
ข. Reactance และ Voltage
ค. Resistance และ Reactance
ง. Voltage และ Impedance
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 69/100

69
หลักการค้นหาทิศทางสัญญาณวิทยุแบบสามเหลี่ยมคืออะไร
ก. ใช้มุมสะท้อนจากท้องฟ้าในการอ้างอิงตำแหน่ง
ข. กำหนดจุดสถานีรับบนแผนที่ 3 ตำแหน่ง และลากเส้นไปยังแหล่งกำเนิดสัญญาณ
ค. สถานีรับจากหลาย ๆ ตำแหน่งหันสายอากาศไปยังทิศทางที่รับสัญญาณได้เพื่อระบุแหล่งกำเนิดสัญญาณ
ง. กำหนดจุดสถานีรับบนแผนที่ 3 ตำแหน่ง แลใช้สายอากาศต่างกันเพื่อหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 70/100

70
Sense Antenna ทำงานอย่างไร
ก. Array สายอากาศเพื่อให้ทิศทางหนึ่งบอดสัญญาณ
ข. เพิ่มความไวในการรับสัญญาณของสายอากาศสำหรับหาทิศ
ค. ทำให้สายอากาศสำหรับหาทิศสามารถก้มเงยได้
ง. สามารถรับสัญญาณซ้ำเพื่อลบสัญญาณที่มาจากหลายทิศทาง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 71/100

71
ช่วงความถี่ใดที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ ในความถี่วิทยุย่าน 2 เมตร
ก. 144.000 - 144.150 MHz
ข. 144.100 - 144.300 MHz
ค. 144.150 - 144.200 MHz
ง. 145.000 - 145.100 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 72/100

72
ข้อใดต่อไปนี้คือระยะทางไกลที่สุดโดยประมาณสำหรับการติดต่อสื่อสารข้ามเส้นศูนย์สูตร
ก. 1,600 กิโลเมตร
ข. 4,000 กิโลเมตร
ค. 8,000 กิโลเมตร
ง. 12,000 กิโลเมตร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 73/100

73
ข้อใดต่อไปนี้ที่อาจทำให้ได้ยินเสียงสะท้อนจากคู่สถานี
ก. การดูดซับคลื่นของชั้นบรรยากาศ D
ข. การสะท้อนหางดาวตก
ค. การส่งคลื่นด้วยความถี่ที่สูงกว่าความถี่สูงสุดที่สามารถใช้ได้ (MUF)
ง. การรับสัญญาณได้จากมากกว่าหนึ่งทิศทาง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 74/100

74
ข้อใดต่อไปนี้ คือคำอธิบายการแพร่กระจายคลื่นแบบ Gray Line
ก. การสะท้อนกลับของความถี่ย่าน 10 เมตร
ข. การแพร่คลื่นเหนือเส้นขอบฟ้าของความถี่ย่าน 6 เมตรและย่าน 2 เมตร
ค. การสื่อสารทางไกล ในช่วงหัวค่ำบนความถี่ที่ต่ำกว่า 15 MHz
ง. การแพร่คลื่นที่ชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียส์ของความถี่ย่าน 2 เมตร และ 70 เซนติเมตร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 75/100

75
ความสูงของสายอากาศจากระดับพื้นดินมีผลอย่างไรกับรูปแบบของการแพร่กระจายคลื่นของสายอากาศแบบทิศทาง 3 Elements ที่แพร่กระจายคลื่น ในแนวนอน (Horizontal)
ก. มุมยกของ Main Lobe เพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความสูง
ข. มุมยกของ Main Lobe ลดลงเมื่อเพิ่มความสูง
ค. Horizontal Beam Width เพิ่มขึ้นตามความสูง
ง. Horizontal Beam Width ลดลงตามความสูง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 76/100

76
เพราะเหตุใดระยะเส้นขอบฟ้าของการแพร่กระจายคลื่นวิทยุ (Radio Horizon) จึงมากกว่าระยะเส้นขอบฟ้าจริงของผิวโลก
ก. การสะท้อนชั้นบรรยากาศ E (E-Region Skip)
ข. การสะท้อนชั้นบรรยากาศ D (D-Region Skip)
ค. การหักเหกลับของคลื่น เมื่อสะท้อนกับแสงขั้วโลก (Aurora)
ง. ปรากฏการณ์การบิดโค้งของคลื่นวิทยุ (Radio Wave Bent)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 77/100

77
ข้อใดต่อไปนี้ใช้การผสมสัญญาณแบบ Pulse
ก. การขยายเชิงเส้น
ข. การส่งข้อมูล PSK31
ค. การส่งพลังงานแบบหลายเฟส
ง. การส่งข้อมูล Digital
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 78/100

78
ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของอัตราส่วนระหว่างความถี่เบี่ยงเบนของสัญญาณ RF และการผสมความถี่ของสัญญาณเสียง FM
ก. ความสามารถในการบีบอัดสัญญาณ FM
ข. ดัชนีความเงียบ
ค. เปอร์เซ็นต์ของการผสมคลื่น
ง. ดัชนีการผสมคลื่น
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 79/100

79
วิธีการใดต่อไปนี้สามารถใช้รวมหลาย ๆ Information Streams แบบ Analog เพื่อผสมกับสัญญาณความถี่วิทยุแบบ Analog เพียงสัญญาณเดียว
ก. Frequency Shift Keying
ข. Diversity Combiner
ค. Frequency Division Multiplexing
ง. Pulse Compression
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 80/100

80
อะไรคือคำอธิบายของ Time Division Multiplexing
ก. กระแสข้อมูลสองตัวขึ้นไปถูกกำหนดเป็นสัญญาณย่อยแยกกัน ในเครื่องส่งแบบ FM
ข. การจัดเรียงสัญญาณสองตัวขึ้นไป เพื่อแบ่งกันใช้ช่วงเวลาในการส่งข้อมูลแบบ Digital
ค. กระแสข้อมูลสองตัวขึ้นไปใช้เวลาร่วมช่องเดียวกันโดยเวลาการส่ง ซึ่งการส่งนั้นจะส่งในรูปแบบคลื่นพาห์ย่อย
ง. สัญญาณสองตัวขึ้นไปผสมกันเพื่อเพิ่มแถบความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 81/100

81
ข้อใดต่อไปนี้เป็นรหัส Digital ที่มีความยาวไม่เท่ากัน
ก. ASCII
ข. AX.25
ค. Baudot
ง. Morse Code
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 82/100

82
การส่งข้อมูล ASCII ความถี่เยื้อง 170 Hz ความเร็ว 300 Baud ต้องการแถบความถี่กว้างเท่าใด
ก. 0.1 Hz
ข. 0.3 kHz
ค. 0.5 kHz
ง. 1.0 kHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 83/100

83
ข้อใดเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการวัดแรงดันเมื่อเห็นสัญญาณคลื่นไซน์บริสุทธิ์ใน Oscilloscope แบบ Analog
ก. แรงดัน Peak-To-Peak
ข. แรงดัน RMS
ค. แรงดันเฉลี่ย
ง. แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 84/100

84
เมื่อต่อตัวต้านทาน 50 Ω กับแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่มีค่าสูงสุดที่ 35 V จะมีกำลังไฟฟ้าเฉลี่ยเท่าใด
ก. 12.2 W
ข. 9.9 W
ค. 24.5 W
ง. 16 W
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 85/100

85
ถ้าอ่านค่า RMS จาก Voltmeter ได้ 34 V Sine Wave นั้นจะมีค่าแรงดันสูงสุด (Peak Voltage) เท่าใด
ก. 123 V
ข. 96 V
ค. 55 V
ง. 48 V
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 86/100

86
ข้อใดต่อไปนี้เป็นวิธีการปฏิบัติในการประเมินสนามพลังงาน RF โดยสถานีวิทยุสมัครเล่นตามข้อตกลง (MPE)
ก. เทียบกับเครื่องวิเคราะห์สายอากาศ (Antenna Analyzer)
ข. คำนวณสนามพลังงานด้วยมือโดยใช้ Smith Chart
ค. ใช้โปรแกรมจำลองสายอากาศในการคำนวณสนามพลังงาน
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 87/100

87
ทำไมการจำกัด (MPE) จึงต้องแบ่งเป็นสนามไฟฟ้า (E) และสนามแม่เหล็ก (H)
ก. ร่างกายตอบสนองต่อรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งจากสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก
ข. การสะท้อนพื้นดินทำให้ความต้านทานของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กมีความหลากหลาย
ค. ความเข้มของรังสีของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กมีผลแตกต่างกันในสถานที่ต่างกัน
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 88/100

88
ข้อใดต่อไปนี้เป็นอาการบาดเจ็บที่ได้รับจากการใช้กำลังส่งสูงในย่านความถี่ UHF และ Microwave
ก. สูญเสียการได้ยินซึ่งเกิดจากปรากฏการโคโรนาไฟฟ้าแรงสูง
ข. การแข็งตัวของเลือดจากสนามแม่เหล็ก
ค. เกิดความร้อนในร่างกายจากการสัมผัสคลื่นความถี่วิทยุเมื่อเกินขีดจำกัด MPE
ง. การรับก๊าซโอโซนจากระบบระบายความร้อน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 89/100

89
Spectrum Analyzer แตกต่างจาก Oscilloscope อย่างไร
ก. Spectrum Analyzer วัดการสะท้อนชั้นบรรยากาศ ; Oscilloscope ใช้แสดงสัญญาณไฟฟ้า
ข. Spectrum Analyzer แสดงสัญญาณสูงสุด ; Oscilloscope แสดงค่าสัญญาณเฉลี่ย
ค. Spectrum Analyzer แสดงสัญญาณตามค่าช่วงความถี่ ; Oscilloscope แสดงสัญญาณตามค่าช่วงเวลา
ง. Spectrum Analyzer แสดงสัญญาณความถี่วิทยุ ; Oscilloscope แสดงความถี่เสียง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 90/100

90
เครื่องมือในข้อใดต่อไปนี้ที่ใช้แสดงผลของสัญญาณแปลกปลอม
ก. Spectrum Analyzer
ข. Wattmeter
ค. Logic Analyzer
ง. Time-Domain Reflectometer
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 91/100

91
เครื่องมือใดต่อไปนี้ที่ใช้วัดการผสมคลื่นที่เบี่ยงเบนไป ในการส่งแบบ SSB
ก. Wattmeter
ข. Spectrum Analyzer
ค. Time-Domain Reflectometer
ง. Logic Analyzer
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 92/100

92
ข้อใดต่อไปนี้สามารถวัดค่าได้โดยใช้ Spectrum Analyzer
ก. ความแรงของการถ่ายทอดสัญญาณระหว่างขั้วขาเข้าและขาออกของอุปกรณ์ Duplexer ที่ใช้ในย่าน 2 เมตร
ข. ทดสอบว่าคริสตัลทำงานปกติหรือไม่
ค. สเปคตรัมของความถี่ที่ได้จากเครื่องส่งวิทยุ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 93/100

93
ข้อใดต่อไปนี้เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบมากที่สุดต่อความแม่นยำของ Frequency Counter
ก. การป้อนสัญญาณลดทอนที่ถูกต้อง
ข. ฐานเวลาที่ถูกต้อง
ค. การแบ่งรอบที่ถูกต้อง
ง. อุณหภูมิของวงจร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 94/100

94
ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้อง ในการใช้ Probe กับ Oscilloscope
ก. สายกราวด์ของ Probe ต้องสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
ข. ไม่ใช้ Probe ที่มีค่าอิมพีแดนซ์สูงในการวัดวงจรที่มีค่าอิมพีแดนซ์ต่ำ
ค. ไม่ใช้ Probe กระแสตรงไปวัดวงจรกระแสสลับ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 95/100

95
ข้อใดคือสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่ากระแสไฟที่อ่านได้นั้นมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อต่อ RF Ammeter ระหว่างสายอากาศและเครื่องส่ง ในกรณีมีการจูนอย่างเหมาะสม
ก. สายนำสัญญาณอาจจะลัดวงจรลงกราวด์
ข. เครื่องส่งสัญญาณผิดปกติ
ค. ค่าอิมพีแดนซ์ไม่ถูกต้องระหว่างสายนำสัญญาณและสายอากาศ
ง. มีกำลังส่งไปยังสายอากาศเพิ่มมากขึ้น
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 96/100

96
ข้อใดต่อไปนี้คือวิธีการปรับแต่งเพื่อชดเชยค่าที่เกิดจาก Probe ของ Oscilloscope
ก. ปรับแต่งด้านบนล่างของ Square Wave ที่ปรากฏนั้นจนเรียบตรง
ข. ปรับแต่ง Sine Wave ของความถี่ที่ปรากฏนั้นจนมีความสูงมากที่สุด
ค. ปรับแต่งค่าเวลาที่ผิดเพี้ยนของความถี่มาตรฐานที่ปรากฏนั้นจนถูกต้อง
ง. ปรับแต่งค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ปรากฏนั้นจนถูกต้อง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 97/100

97
ทำอย่างไรจึงสามารถกำจัดสัญญาณรบกวนที่มาจากมอเตอร์ไฟฟ้า
ก. ติดตั้งแกนเฟอไรต์บีตอนุกรมกับสายไฟเลี้ยงของมอเตอร์
ข. ติดตั้งวงจรกรองสัญญาณแบบบรูตฟอร์ซ (Brute-Force AC-Line Filter) อนุกรมกับสายไฟเลี้ยงของมอเตอร์
ค. ติดตั้งตัวเก็บประจุเพื่อบายพาสสัญญาณ อนุกรมกับสายไฟเลี้ยงของมอเตอร์
ง. ติดตั้งเครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่ว (Ground Fault Current Interrupter) ให้กับมอเตอร์
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 98/100

98
อะไรเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตในชั้นบรรยากาศโลก (Atmospheric Static)
ก. การแพร่คลื่นวิทยุจากดวงอาทิตย์ (Solar Radio Frequency Emissions)
ข. พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstroms)
ค. พายุแม่เหล็กโลก (Geomagnetic Storms)
ง. ฝนดาวตก (Meteor Showers)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 99/100

99
สัญญาณชนิดใดที่อาจถูกเหนี่ยวนำเข้าไปในสายไฟฟ้าที่อยู่ใกล้ ๆ เครื่องส่งวิทยุ
ก. สัญญาณทั่วไปในความถี่เดียวกับวิทยุสื่อสาร
ข. สัญญาณที่เกิดจากการสปาร์คของไฟฟ้า
ค. สัญญาณแบบต่างมุมต่างเฟสของความถี่ในสายไฟฟ้า AC
ง. ฮาร์มอนิกของความถี่ในสายไฟฟ้า AC
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 100/100

100
ข้อใดคือสาเหตุที่อาจทำให้เกิดการผสมสัญญาณวิทยุกระจายเสียงแบบ AM ปนมาในการสื่อสารความถี่วิทยุสมัครเล่นย่าน MF หรือ HF
ก. สัญญาณจากสถานีวิทยุกระจายเสียงนั้น Over Modulation
ข. เกิดจากข้อต่อโลหะขึ้นสนิมที่อยู่ใกล้ ๆ ผสมและแพร่กระจายสัญญาณรบกวนปนมาในความถี่ที่กำลังใช้งาน
ค. เป็นสัญญาณแบบคลื่นฟ้าจากสถานีไกล ๆ
ง. ภาคขยาย IF ของเครื่องส่งในสถานีของคุณบกพร่อง
คำถามก่อนหน้า

คุณยังตอบคำถามไม่ครบ : 100 ข้อ จาก 100 ข้อ

(คลิกที่หมายเลขข้อที่ต้องการ เพื่อตอบคำถาม)