NBTC ONE STOP SERVICE

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นต้น

90:00 นาที

คำถามที่ 1/100

1
ข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศมีข้อห้ามในการส่งข่าวถึงบุคคลที่ 3 คือ การรับข่าวจากผู้ที่ไม่ได้เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น และส่งข่าวนั้นผ่านความถี่วิทยุสมัครเล่นไปยังผู้ที่ไม่ได้เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น แต่อนุญาตให้ทำได้ในกรณีใด
ก. การส่งข่าวนั้นได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่า
ข. บุคคลที่สามนั้นเป็นคนในครอบครัว
ค. เฉพาะในกรณีฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ
ง. ไม่อนุญาตโดยเด็ดขาด
คำถามต่อไป

คำถามที่ 2/100

2
แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ที่ กสทช. จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์อะไร
ก. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารคลื่นความถี่ของประเทศชาติ
ข. เพื่อป้องกันไม่ให้หน่วยงานใดคัดค้านการจัดสรรคลื่นความถี่
ค. เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ถูกฟ้องร้อง
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 3/100

3
แผนแม่บทในข้อใดกล่าวถึงการใช้คลื่นความถี่ในแต่ละกิจการ
ก. แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม
ข. แผนแม่บทบริหารกิจการวิทยุสมัครเล่น
ค. แผนแม่บทการทำธุรกรรมทางคลื่นความถี่
ง. แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 4/100

4
เพราะเหตุใดผู้ขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นจึงต้องผ่านเกณฑ์การสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นก่อน
ก. เพื่อให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ความถี่ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและได้รับประโยชน์สูงสุด
ข. เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถเรียนต่อในสายวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคมได้
ค. เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 5/100

5
ในกฎระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น จะเรียกนักวิทยุสมัครเล่นว่า "พนักงานวิทยุสมัครเล่น" เพราะเหตุใด
ก. เพื่อให้ฟังดูเป็นทางการ
ข. เป็นเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
ค. เป็นประชาชนที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานสื่อสารตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
ง. เนื่องจากเป็นผู้ที่ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. ตามกฎหมายซึ่งได้กำหนดให้ต้องได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นด้วย
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 6/100

6
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คือ “เจ้าพนักงาน ผู้ออกใบอนุญาต” ซึ่งในปัจจุบันได้มอบอำนาจให้ผู้ใดบ้าง
ก. ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ข. เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ค. พนักงานของสำนักงาน กสทช. ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และข้อ ค.
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 7/100

7
เครื่องวิทยุคมนาคมที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถขออนุญาตนำเข้าได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญอย่างไร
ก. ความถี่ต่ำ
ข. กำลังส่งต่ำ
ค. เป็นเครื่องที่ผ่านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานจาก กสทช.
ง. เป็นเครื่องที่ผ่านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานจาก กฟภ.
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 8/100

8
เมื่อใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นหมดอายุ หมายความว่าเราไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่นอีกต่อไป เราจะดำเนินการอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว
ก. ไม่ต้องทำอะไร เพราะการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นไม่ได้หมดอายุตามใบอนุญาต
ข. ไปยื่นขอใหม่เมื่อใดก็ได้
ค. ต้องสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรใหม่ก่อน
ง. ยื่นขอใบอนุญาตฉบับใหม่ก่อนใบอนุญาตฉบับเดิมหมดอายุ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 9/100

9
ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม มีอายุตลอดอายุของเครื่องวิทยุคมนาคม ค่าธรรมเนียม 700 บาท
ข. ใบอนุญาตให้ค้าเพื่อการซ่อมแซมเครื่องวิทยุคมนาคม มีอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 500 บาท
ค. ใบอนุญาตให้ค้าเครื่องวิทยุคมนาคม มีอายุ 1 ปี ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ง. ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น มีอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 200 บาท
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 10/100

10
นายไข่ต้มมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองอยู่ 1 เครื่อง ซึ่งภายหลังตรวจสอบพบว่าเป็นเครื่อง วิทยุเถื่อน นายไข่ต้มจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ก. นำเครื่องไปเสียภาษีและชำระค่าปรับที่กรมศุลกากร
ข. นำเครื่องไปขึ้นทะเบียนเป็นครุภัณฑ์ของราชการและทำเรื่องขอยืมใช้
ค. นำเครื่องไปขึ้นทะเบียนที่ กสทช.
ง. เครื่องเถื่อนคือเครื่องที่นำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร ไม่สามารถทำให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 11/100

11
กิจการวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ เนื่องจาก
ก. พนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้มีฐานะดี สามารถลงทุนซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือราคาแพง
ข. พนักงานวิทยุสมัครเล่นมีโอกาสศึกษาทดลอง วิจัย และสร้างอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นความถี่ที่กำหนดไว้สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น
ค. พนักงานวิทยุสมัครเล่นอยู่ใกล้ชิด กสทช. ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ด้านโทรคมนาคม
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 12/100

12
ประกาศนียบัตรในข้อใดที่ กสทช. อนุญาตให้เทียบเท่าประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นสำหรับใช้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก. ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
ข. ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาอิเล็กทรอนิกส์
ค. ประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นของประเทศที่ทำข้อตกลงต่างตอบแทนกับประเทศไทย
ง. ประกาศนียบัตรหลักสูตรการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ของหน่วยงานของรัฐ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 13/100

13
พนักงานวิทยุสมัครเล่นจะถูกยกเลิกสัญญาณเรียกขานก็ต่อเมื่อ
ก. พนักงานวิทยุสมัครเล่นเสียชีวิต
ข. ใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นหมดอายุไปแล้วเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี
ค. ถูกเพิกถอนใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นจากการกระทำผิดกฎหมาย
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 14/100

14
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 กำหนดให้ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม มีอายุตลอดอายุของเครื่องวิทยุคมนาคม หมายถึง
ก. เมื่อเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับใบอนุญาตเกิดชำรุดเสียหายใช้งานไม่ได้ ก็สามารถซื้อเครื่องใหม่มาทดแทนได้เลยโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตอีก
ข. เมื่อเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับใบอนุญาตเกิดสูญหาย ก็สามารถซื้อเครื่องใหม่มาทดแทนได้เลยโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตอีก
ค. เมื่อเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับใบอนุญาตเกิดชำรุดเสียหายใช้งานไม่ได้อายุของใบอนุญาตจะสิ้นสุดลง
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 15/100

15
สถานีวิทยุสมัครเล่นประเภทใดที่สามารถให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นทดลองออกอากาศได้และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก. สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย
ข. สถานีวิทยุสมัครเล่นขององค์กรวิทยุสมัครเล่น (Club station)
ค. สถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ (Special event station)
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 16/100

16
องค์กรของพนักงานวิทยุสมัครเล่นในรูปแบบใด มีคุณสมบัติที่สามารถขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นขององค์กรวิทยุสมัครเล่น (Club station)
ก. ชมรม
ข. จดทะเบียนนิติบุคคลเป็นสมาคม
ค. กลุ่มบุคคล
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 17/100

17
การกำหนดให้สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย สถานีวิทยุสมัครเล่นขององค์กรวิทยุสมัครเล่น สถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ และสถานีวิทยุสมัครเล่นประจำที่ ต้องบันทึกรายละเอียดลงในสมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร (Log Book) โดยต้องเก็บไว้เป็นเวลาเท่าใด
ก. 3 ปี
ข. 4 ปี
ค. 5 ปี
ง. ไม่มีการกำหนดระยะเวลา
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 18/100

18
“การรบกวนอย่างรุนแรง” หมายถึง
ก. การรบกวนที่เป็นอันตรายต่อการทำงานของสถานีวิทยุคมนาคมที่จัดให้เป็นกิจการหลัก
ข. การรบกวนที่ทำให้เกิดผลเสียอย่างรุนแรงหรือขัดขวางต่อการดำเนินกิจการของสถานีวิทยุคมนาคมที่จัดให้เป็นกิจการหลักตามข้อบังคับวิทยุ
ค. การขัดขวางหรือขัดจังหวะเป็นช่วง ๆ ต่อการดำเนินกิจการของสถานีวิทยุคมนาคมที่จัดให้เป็นกิจการหลักตามข้อบังคับวิทยุ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 19/100

19
คลื่นความถี่ที่ใช้สำหรับส่งจากพื้นโลกไปยังดาวเทียม เรียกว่าความถี่อะไร
ก. Downlink
ข. Uplink
ค. Active link
ง. Control link
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 20/100

20
เพราะเหตุใดการขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นที่เชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่นต่อสำนักงาน กสทช. จึงกำหนดให้ยื่นเอกสารผ่านสมาคมวิทยุสมัครเล่นที่ทำหน้าที่บริหารสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายในพื้นที่
ก. เพื่อให้สมาคมฯ มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือน
ข. เพื่อช่วยให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคลื่นความถี่ กำลังส่ง และความสูงของสถานีวิทยุสมัครเล่นที่เชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่นนั้นให้เหมาะกับพื้นที่และจำนวนสถานีฯ ที่มีอยู่แล้ว
ค. เพื่อให้สถานีวิทยุสมัครเล่นที่เชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่นถูกบันทึกว่าเป็นผลงานของสมาคมฯ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 21/100

21
เราสามารถให้ผู้ที่มิใช่พนักงานวิทยุสมัครเล่นทดลองออกอากาศจากสถานีวิทยุสมัครเล่นส่วนตัว ของเราได้หรือไม่ หากมีการทดลองดังกล่าว ถือว่าเป็นข้อห้ามในกรณีใด
ก. ให้ทดลองได้ โดยเราจะต้องเฝ้าดูแลตลอดการออกอากาศและต้องบันทึกลง Log Book
ข. ให้ทดลองได้ เพราะเป็นการประชาสัมพันธ์กิจการวิทยุสมัครเล่น
ค. ไม่ได้ โดยผู้ออกอากาศเท่านั้นที่มีความผิดเพราะไม่มีใบอนุญาต
ง. ไม่ได้ เพราะเป็นกรณียินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานีวิทยุคมนาคม ซึ่งมิใช่สถานีวิทยุสมัครเล่นที่มีลักษณะการใช้งานร่วมกัน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 22/100

22
ในการติดต่อสื่อสารของพนักงานวิทยุสมัครเล่นกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. รับส่งข่าวสารไปยังบุคคลที่สาม สามารถกระทำได้เท่าที่จำเป็น
ข. ห้ามมิให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นใช้คลื่นความถี่โดยเด็ดขาด
ค. ใช้คลื่นความถี่ตามปกติในขณะเกิดเหตุเพราะคลื่นความถี่กิจการวิทยุสมัครเล่นไม่ได้อนุญาตให้หน่วยงานของรัฐใช้งาน
ง. ปฏิบัติตามประกาศหรือข้อกำหนดของสำนักงาน กสทช. ในขณะที่เกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินครั้งนั้น ๆ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 23/100

23
การตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นนอกสถานที่เพื่อการประสานงานในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ต้องได้รับอนุญาตจาก สำนักงาน กสทช. ก่อนจึงออกไปตั้งสถานีได้
ข. ออกไปตั้งสถานีได้เลยไม่ต้องแจ้งใครเพราะเมื่อเราทำงาน สำนักงาน กสทช. ก็ทราบเอง
ค. ออกไปตั้งสถานีและแจ้งต่อ สำนักงาน กสทช. ในพื้นที่ทันทีที่ทำได้
ง. ไม่มีข้อใดถูก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 24/100

24
HS5AY เป็นสัญญาณเรียกขานสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายของจังหวัดอะไร และตั้งอยู่ที่ใด
ก. ยะลา ภาคใต้ตอนล่าง
ข. พะเยา ภาคเหนือตอนบน
ค. พระนครศรีอยุธยา ภาคกลาง
ง. ยโสธร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 25/100

25
HS6AT เป็นสัญญาณเรียกขานสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายของจังหวัดอะไร และตั้งอยู่ที่ใด
ก. ตรัง ภาคใต้ตอนล่าง
ข. ตราด ภาคตะวันออก
ค. ตาก ภาคเหนือตอนล่าง
ง. ภูเก็ต ภาคใต้ตอนบน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 26/100

26
ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง เกี่ยวกับการใช้ประมวลรหัสคิว (Q Code) และคำย่อต่าง ๆ ในการสื่อสารย่านความถี่ VHF ลักษณะการใช้งานประเภทเสียง
ก. มีความจำเป็นต้องใช้น้อยมาก เพราะย่านความถี่นี้สามารถสื่อสารได้ชัดเจนอยู่แล้ว
ข. มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่เข้าใจผิด
ค. มีความจำเป็นต้องใช้และมีความสำคัญมากจึงต้องนำมาออกสอบ
ง. มีความจำเป็นต้องใช้เพราะเป็นข้อบังคับของ ITU
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 27/100

27
ข้อใดต่อไปนี้แสดงว่าเป็นการถูกรบกวนด้วยสัญญาณแบบ QRM
ก. หน้าปัดเครื่องวิทยุคมนาคมในรถยนต์แสดงความแรงสัญญาณเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการเหยียบคันเร่ง
ข. มีสัญญาณทะลุข้ามมาจากช่องข้างเคียง
ค. มีสัญญาณเงียบ หรือมีการดัดเสียงพูดเข้ามารบกวน
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 28/100

28
ก่อนส่งข่าวทางวิทยุโทรเลขด้วยรหัสมอร์ส ผู้ส่งจะส่งรหัสที่หมายถึงตัว V ย่อมาจาก QRV เพื่อบอก คู่สถานีว่าอะไร
ก. รอสักครู่
ข. เตรียมพร้อมนะ จะส่งข้อความแล้ว
ค. เราชนะแล้ว
ง. ขอทดสอบสัญญาณ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 29/100

29
“เวลานัดหมาย 0505 QSL ?” ประโยคดังกล่าวหมายความว่าอย่างไร
ก. ยืนยันหรือไม่ว่าเวลานัดหมายคือ 0505
ข. เปลี่ยนเวลานัดหมายจาก 0505 ไปแล้วใช่ไหม
ค. ยกเลิกเวลานัดหมาย 0505 ใช่ไหม
ง. ขอพบก่อนเวลานัดหมาย 0505 ใช่ไหม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 30/100

30
ถ้าได้รับรายงานสัญญาณว่า 52 หมายความว่าอย่างไร
ก. น่าจะมีความผิดปกติในภาคส่ง เพราะความแรงสัญญาณต่ำ
ข. ภาครับของคู่สถานีผิดปกติ
ค. น่าจะมีความผิดปกติในภาคผสมสัญญาณ เพราะความแรงสัญญาณมากแต่เสียงไม่ชัด
ง. คุณภาพสถานีดีมาก เพราะเสียงชัดเจนแม้ความแรงสัญญาณไม่มาก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 31/100

31
ถ้าได้รับรายงานสัญญาณว่า 44 หมายความว่าอย่างไร
ก. รับข้อความได้ค่อนข้างชัด โดยมิเตอร์วัดความแรงสัญญาณขึ้นเกือบเต็มสเกล
ข. รับข้อความได้ค่อนข้างชัด โดยมิเตอร์วัดความแรงสัญญาณขึ้นไม่ถึงครึ่ง
ค. รับข้อความได้ค่อนข้างอ่อน โดยมิเตอร์วัดความแรงสัญญาณขึ้นเกือบเต็มสเกล
ง. รับข้อความได้ค่อนข้างอ่อน โดยมิเตอร์วัดความแรงสัญญาณขึ้นไม่ถึงครึ่ง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 32/100

32
สัญญาณเรียกขาน DL8UI ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
ก. เดลตา-ลิมา-เอท-ยูนิคอร์น-อินเดีย
ข. เดลตา-ลิมา-เอท-ยูนิเวอร์ซิตี-อินเดีย
ค. เดลตา-ลิมา-เอท-ยูนิฟอร์ม-อินเดีย
ง. เดลตา-ลิมา-เอท-ยูนิโคล-อินเตอร์
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 33/100

33
สัญญาณเรียกขาน EA3SKQ ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
ก. เอคโค-อัลฟา-ทรี-เซียรา-กิโล-คิว
ข. เอคโค-อัลฟา-ทรี-เซียรา-กิโล-คิวเบก
ค. เอคโค-อัลฟา-ทรี-เซียรา-กิโล-คิวปิด
ง. เอคโค-อัลฟา-ทรี-เซียรา-กิโล-คิเบก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 34/100

34
สัญญาณเรียกขาน F6MRQ ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
ก. ฟอกซ์-ซิกซ์-ไมโครโฟน-เรดิโอ-คิเบก
ข. ฟอกซ์ทร็อต-ซิกซ์-ไมค์-โรมิโอ-คิเบก
ค. เฟรดี-ซิกซ์-มังกี-เรดิโอ-ควีน
ง. ฟอกซ์-ซิกซ์-ไมค์-เรดิโอ-ควีน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 35/100

35
สัญญาณเรียกขาน I2NDT ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
ก. อินเดีย-ทู-โนดีล-แทงโก
ข. อินเดีย-ทู-โนเวมเบอร์-เดลตา-แทงโก
ค. ไอ-ทู-เนเวอร์-ดู-แธต
ง. อินเดีย-ทู-น็อต-เดลตา-ทู
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 36/100

36
สัญญาณเรียกขาน VK3KT ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
ก. วิกเตอร์-คิง-ทรี-คิง-แทงโก
ข. วีนนิ-คิง-ทรี-คิง-โตเมโต
ค. วี-เค-ทรี-เค-ที
ง. วิกต้า-กิโล-ทรี-กิโล-แทงโก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 37/100

37
คำว่า YL หมายถึงอะไร
ก. ผู้ที่มีความหลายหลายทางเพศ
ข. สตรี
ค. ไม่มีในภาษาของนักวิทยุสมัครเล่น
ง. บุรุษ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 38/100

38
เมื่อเราต้องการบอกว่า “ลาแล้วนะ สวัสดี” ในภาษาของนักวิทยุสมัครเล่นจะแทนด้วยคำว่าอะไร
ก. บายบาย
ข. CUL
ค. 73
ง. ว.61
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 39/100

39
เราจะแจ้งอย่างไรให้ทราบว่าเราจะหยุดใช้ความถี่นี้แล้ว ให้ผู้อื่นใช้ต่อได้ แต่เรายังคงเฝ้าฟังอยู่และสามารถเรียกเราได้ตลอดเวลา
ก. กล่าวลาแล้วตามด้วยคำว่า “เคลียร์”
ข. กล่าวลาด้วยคำว่า 73
ค. กล่าวลาและขานเวลา
ง. กล่าวลาแล้วตามด้วยคำว่า “สแตนด์บาย”
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 40/100

40
ในภาษาของนักวิทยุสมัครเล่น คำว่า Eyeball หมายความว่าอย่างไร
ก. เชิญมาเล่นกีฬาเพื่อกระชับมิตรภาพ
ข. พบปะเห็นหน้ากันเห็นตากัน
ค. งานเลี้ยงสังสรรค์
ง. อวยพรวันเกิด
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 41/100

41
เพราะอะไรเมื่อพบเหตุและได้ประสานงานขอความช่วยเหลือแล้ว จึงควรรออยู่ในที่เกิดเหตุจนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึง
ก. เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่
ข. เพื่อให้เจ้าหน้าที่รู้ว่าใครเป็นผู้แจ้ง
ค. เพื่อเล่ารายละเอียดให้เจ้าหน้าที่ทราบ
ง. เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่รับหน้านักข่าว
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 42/100

42
เหตุการณ์ประเภทใดที่ไม่จำเป็นต้องแจ้ง
ก. เหตุการณ์นั้นต้องการความช่วยเหลือ
ข. เหตุการณ์นั้นอาจสร้างปัญหาตามหลัง
ค. เหตุการณ์นั้นเกิดมานานน่าจะมีผู้แจ้งแล้ว
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 43/100

43
ข้อมูลสำคัญอย่างหนึ่งที่เราจะต้องสังเกตก่อนจะแจ้งเหตุ คืออะไร
ก. ทิศของจุดเกิดเหตุกับสถานีวิทยุที่รับแจ้งเหตุ
ข. จุดสังเกตที่ชัดเจนของที่เกิดเหตุ
ค. เวลาที่พบเหตุ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 44/100

44
การแลกเปลี่ยน QSL Card หรือบัตรยืนยันการติดต่อสื่อสารมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
ก. เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ
ข. เพื่อส่งให้สำนักงาน กสทช. ตรวจสอบเป็นระยะ ๆ
ค. เพื่อยืนยันว่าติดต่อกันได้จริง และสะสมไว้แลกรางวัล
ง. เพื่อเป็นหลักฐานในการต่ออายุใบอนุญาต
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 45/100

45
ในบัตรยืนยันการติดต่อสื่อสาร (QSL Card) ข้อมูลใดจำเป็นต้องมี
ก. รายงานสัญญาณ วัน เวลา และโหมดการติดต่อสื่อสาร
ข. ชนิดของเครื่องวิทยุคมนาคมและสายอากาศ
ค. ธงประจำชาติ
ง. รูปของสถานีวิทยุคมนาคม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 46/100

46
k (kilo : กิโล) เป็นคำนำหน้าหน่วย หมายถึง
ก. 100
ข. 1000
ค. 10000
ง. 100000
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 47/100

47
ความถี่ของระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ตามบ้านในประเทศไทยมีค่าเท่ากับ
ก. 50 กิโลเฮิรตซ์
ข. 50 เฮิรตซ์
ค. 50 เมกะเฮิรตซ์
ง. 60 เฮิรตซ์
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 48/100

48
กระแสไฟฟ้ากำเนิดได้จาก
ก. ปฏิกิริยาทางเคมี
ข. การนำวัตถุต่างชนิดมาขัดสีกัน
ค. การนำขดลวดตัวนำไปตัดเส้นแรงแม่เหล็ก
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 49/100

49
แบตเตอรี่แบบปฐมภูมิ (Primary Cell) หมายถึง
ก. แบตเตอรี่ที่สามารถประจุไฟใหม่ได้
ข. แบตเตอรี่ที่ไม่สามารถประจุไฟใหม่ได้
ค. แบตเตอรี่ที่ประจุไฟได้เป็นบางครั้ง
ง. แบตเตอรี่ที่เป็นพื้นฐานหลักของแบตเตอรี่ทุกชนิด
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 50/100

50
แบตเตอรี่ชนิดเดียวกันต่ออนุกรมกันจะได้
ก. แรงดันเพิ่ม ความจุเพิ่ม
ข. แรงดันเท่าเดิม ความจุเพิ่ม
ค. แรงดันเท่าเดิม ความจุเท่าเดิม
ง. แรงดันเพิ่ม ความจุเท่าเดิม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 51/100

51
ข้อใดต่อไปนี้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหล
ก. ต่อตัวต้านทาน 100 โอห์ม (Ω) เข้ากับแบตเตอรี่ 129 โวลต์ (V)
ข. ต่อตัวต้านทาน 200 โอห์ม (Ω) เข้ากับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ (V)
ค. ต่อตัวต้านทาน 300 โอห์ม (Ω) เข้ากับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ (V)
ง. ต่อตัวต้านทาน 400 โอห์ม (Ω) จำนวน 2 ตัว แบบอนุกรม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 52/100

52
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 5000 วัตต์ (W) 200 โวลต์ (V) จะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าไปใช้งานได้สูงสุดกี่แอมแปร์ (A)
ก. 250
ข. 25
ค. 2.5
ง. 0.25
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 53/100

53
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีทั้งหมด
ก. ทองแดง ไม้ อากาศ
ข. กระดาษ พลาสติก ทองเหลือง
ค. ทองเหลือง อลูมิเนียม ลวดเงิน
ง. เหล็ก ตะกั่ว แก้ว
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 54/100

54
จากรูปข้างล่างนี้ เป็นการต่อตัวต้านทานแบบ
ก. อนุกรม
ข. ขนาน
ค. ผสม
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 55/100

55
จากรูปข้างล่างนี้ เป็นการต่อตัวเหนี่ยวนำแบบ
ก. อนุกรม
ข. ขนาน
ค. ผสม
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 56/100

56
ค่าอิมพีแดนซ์ (Impedance : Z) มีหน่วยเป็น
ก. โมห์
ข. แอมแปร์
ค. โอห์ม
ง. ฟารัด
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 57/100

57
ไดโอด คือ อุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติอย่างไร
ก. ยอมให้กระแสไหลผ่านได้ทางเดียว
ข. ยอมให้กระแสไหลผ่านได้สองทาง
ค. ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ทุกทิศทาง
ง. ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้เมื่อได้รับความร้อน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 58/100

58
ภาคที่ทำหน้าที่แยกสัญญาณความถี่เสียงออกจากสัญญาณความถี่วิทยุ เรียกว่า
ก. ภาคอาร์เอฟแอมปลิไฟเออร์ (RF Amplifier)
ข. ภาคดีเทคเตอร์ (Detector)
ค. ภาคออสซิลเลเตอร์ (Oscillator)
ง. ภาคมอดูเลเตอร์ (Modulator)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 59/100

59
เครื่องรับวิทยุแบบซูเปอร์เฮเทอโรดายน์ (Superheterodyne) ต่างจากเครื่องรับวิทยุแบบ TRF เพราะว่า
ก. ไม่ต้องมีภาคอาร์เอฟแอมปลิไฟเออร์ (RF Amplifier)
ข. ไม่ต้องมีภาคดีเทคเตอร์ (Detector)
ค. เปลี่ยนสัญญาณความถี่วิทยุที่รับเข้ามาให้เป็นสัญญาณความถี่เสียงโดยตรง
ง. เปลี่ยนสัญญาณความถี่วิทยุที่รับเข้ามาให้มีความถี่ต่ำลงเป็นความถี่กลาง (IF)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 60/100

60
การผสมคลื่นแบบใด ที่ทำให้ความสูงหรือแอมปลิจูด (Amplitude) ของคลื่นพาห์หรือแคเรียร์ (Carrier) เปลี่ยนแปลงไปตามความสูงของสัญญาณเสียง
ก. แอมปลิจูดมอดูเลชั่น (Amplitude Modulation)
ข. เฟสมอดูเลชั่น (Phase Modulation)
ค. พลัสมอดูเลชั่น (Plus Modulation)
ง. ฟรีเควนซีมอดูเลชั่น (Frequency Modulation)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 61/100

61
ความยาวคลื่น (Wave Length) ของคลื่นวิทยุหมายถึง
ก. ระยะทางที่คลื่นวิทยุเดินทางได้ในเวลา 1 วินาที
ข. ระยะทางที่คลื่นวิทยุเดินทางได้ในเวลา 1 นาที
ค. ระยะทางระหว่างสถานีรับและสถานีส่งที่คลื่นเดินทางไปถึง
ง. ระยะทางที่คลื่นวิทยุเดินทางไปได้ในระยะทางที่คลื่นเปลี่ยนแปลงไปครบ 1 รอบ (Cycle)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 62/100

62
ฮอริซอนทอลโพลาไรเซชัน (Horizontal Polarization) หมายถึง
ก. สนามแม่เหล็กขนานกับพื้นโลก
ข. สนามไฟฟ้าขนานกับพื้นโลก
ค. สนามไฟฟ้าตั้งฉากกับพื้นโลก
ง. สนามแม่เหล็กตั้งฉากกับสนามไฟฟ้า
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 63/100

63
สายอากาศที่ใช้กับวิทยุสมัครเล่นแบบมือถือนิยม เรียกกันว่าสายอากาศแบบชักเป็นสายอากาศแบบใด
ก. ไดโพล
ข. เทเลสโคปิก
ค. Rubber Duck (รับเบอร์ดัก)
ง. Ground Plane (กราวด์เพลน)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 64/100

64
การปรับค่าอิมพีแดนซ์ของสายนำสัญญาณให้เท่ากับอิมพีแดนซ์ทางออกของเครื่องรับ-ส่งวิทยุเรียกว่า
ก. แมตชิ่ง (Matching)
ข. บาลานซิง (Balancing)
ค. โหลดดิง (Loading)
ง. คอนเวอร์ติง (Converting)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 65/100

65
ข้อใดเป็นความถี่ย่าน VHF
ก. 30 kHz – 300 MHz
ข. 300 kHz – 3 MHz
ค. 3 MHz – 30 MHz
ง. 30 MHz – 300 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 66/100

66
การที่สายจ่ายกำลังไฟฟ้าที่ต่อกับแบตเตอรี่ร้อนจัดผิดปกติในขณะใช้งาน โดยทั่วไปเกิดจาก
ก. สายจ่ายกำลังไฟฟ้าต่ออย่างไม่เรียบร้อย เช่น หลวม
ข. การเกิดสนิมที่รอยต่อระหว่างสายจ่ายกำลังไฟฟ้ากับขั้วแบตเตอรี่
ค. สายจ่ายกำลังไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กเกินไป
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 67/100

67
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับต่อแทนสายอากาศเมื่อไม่ต้องการให้มีการแพร่กระจายคลื่นขณะปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุ คือ
ก. ดัมมีโหลด (Dummy Load)
ข. โอห์มมิเตอร์ (Ohmmeter)
ค. อาร์เอฟโวลต์มิเตอร์ (RF Voltmeter)
ง. ซิกแนลมิเตอร์ (Signal Meter)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 68/100

68
สายนำสัญญาณเบอร์ RG-8 มีข้อดีเหนือสายนำสัญญาณเบอร์ RG-58 ที่ความยาวเท่ากัน คือ
ก. มีขนาดเล็กกว่า
ข. ราคาถูกกว่า
ค. มีการสูญเสียกำลังสัญญาณในสายน้อยกว่า
ง. ไม่มีคำตอบข้อใดถูกต้อง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 69/100

69
เมื่อตรวจพบว่าเกิดการหลวมคลอนที่ขั้วต่อสายอากาศของเครื่องรับ-ส่งวิทยุแบบมือถือ ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. หยุดการใช้งาน และแก้ไขขั้วต่อสายอากาศให้เรียบร้อย
ข. ใช้งานต่อไปโดยไม่ต้องทำอะไร
ค. ดัดแปลงเครื่องให้เป็นแบบติดตั้งประจำที่
ง. ไม่มีคำตอบข้อใดถูกต้อง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 70/100

70
การใช้มัลติมิเตอร์ (Multimeter) วัดแรงดันไฟฟ้าในจุดที่ไม่ทราบค่าต้องปรับซีเล็กเตอร์สวิตซ์ (Selector Switch) ของโวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) อย่างไร
ก. ต่ำสุด
ข. สูงสุด
ค. ปานกลาง
ง. ตามความพอใจ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 71/100

71
ออสซิลโลสโคป (Oscilloscope) ไม่สามารถวัดค่าอะไร
ก. แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ
ข. แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง
ค. สัญญาณความถี่วิทยุ
ง. ค่าความต้านทาน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 72/100

72
เครื่องมือที่ใช้วัดความแรงของคลื่นวิทยุเพื่อหารูปแบบการแพร่กระจายคลื่น (Radiation Pattern) คือ
ก. เครื่องนับความถี่ (Frequency Counter)
ข. อาร์เอฟ ฟิลด์สเตร็งท์มิเตอร์ (RF Field Strength Meter)
ค. วีเอสดับบลิวอาร์มิเตอร์ (VSWR Meter)
ง. อาร์เอฟ โวลต์มิเตอร์ (RF Voltmeter)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 73/100

73
วีเอสดับบลิวอาร์ มิเตอร์ (VSWR Meter) เป็นเครื่องมือตรวจสอบอะไรบ้าง
ก. การเบี่ยงเบนของความถี่
ข. ความไวในการรับของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ค. การแมตชิ่งอิมพีแดนซ์ของสายอากาศ
ง. ความชัดเจนของคลื่นเสียง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 74/100

74
เครื่องมือที่ใช้วัดอัตราส่วนของกำลังส่งที่ออกสายอากาศกับกำลังส่งที่สะท้อนกลับมาจากสายอากาศ คือ
ก. ซิกแนล มิเตอร์ (Signal Meter)
ข. วีเอสดับบลิวอาร์ มิเตอร์ (VSWR Meter)
ค. ฟิลด์สเตร็งท์ มิเตอร์ (Field Strength Meter)
ง. อาร์เอฟ เพาเวอร์ มิเตอร์ (RF Power Meter)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 75/100

75
สายนำสัญญาณ เบอร์ RG-8 และ RG-58 มีค่าอิมพีแดนซ์ (Impedance) ประมาณเท่าใด
ก. 40 โอห์ม
ข. 75 โอห์ม
ค. 300 โอห์ม
ง. 50 โอห์ม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 76/100

76
ถ้าสายอากาศภาคส่งวางในแนวตั้ง สายอากาศภาครับควรวางในแนวใดจึงสามารถรับส่งได้ดีที่สุด
ก. แนวเฉียงทำมุม 45 องศา
ข. แนวนอน
ค. แนวตั้ง
ง. แนวขนานกับพื้นโลก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 77/100

77
เครื่องรับ-ส่งวิทยุแบบมือถือเมื่อต่อกับสายอากาศภายนอกที่มีอัตราขยาย (Gain) สูงและติดตั้งในที่สูง จะเกิดผลอย่างไร
ก. รับ-ส่งได้ไกลกว่าเดิม
ข. อาจถูกคลื่นความถี่อื่นรบกวน
ค. อาจส่งคลื่นความถี่ไปรบกวนข่ายสื่อสารอื่น
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 78/100

78
แอนเทนนา โรเตเตอร์ (Antenna Rotator) คืออะไร
ก. สายอากาศชนิดหนึ่งซึ่งหมุนได้
ข. อุปกรณ์ที่ใช้หมุนเพื่อเปลี่ยนทิศทางของสายอากาศ
ค. สายอากาศชนิดเคลื่อนที่ได้
ง. เครื่องมือซึ่งทำให้สายอากาศเพิ่มอัตราการขยาย
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 79/100

79
วงจรเรโซแนนซ์ ที่ใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุทั่ว ๆ ไปจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์อะไร
ก. รีซิสเตอร์ (Resistor)
ข. คาปาซิเตอร์ (Capacitor) กับ รีซิสเตอร์ (Resistor)
ค. อินดักเตอร์ (Inductor)
ง. อินดักเตอร์ (Inductor) กับ คาปาซิเตอร์ (Capacitor)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 80/100

80
เมื่อต้องการทราบว่าวงจรเรโซแนนซ์นั้นมีความถี่เรโซแนนซ์เท่าใด ต้องใช้เครื่องมืออะไร
ก. ดิปมิเตอร์ (DIP Meter)
ข. เครื่องนับความถี่ (Frequency Counter)
ค. โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter)
ง. วีเอสดับบลิวอาร์ มิเตอร์ (VSWR Meter)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 81/100

81
หลักปฏิบัติในขณะที่รับ-ส่งข่าวสารในบริเวณที่มีเสียงดังรบกวนมาก คือ
ก. ลดความดังของเสียงที่ดังออกจากลำโพงของเครื่องรับ-ส่งวิทยุให้น้อยลง
ข. ใช้หูฟังแทนลำโพงของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ค. เปลี่ยนลำโพงของเครื่องรับ-ส่งวิทยุให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิม
ง. นำเครื่องขยายเสียงมาต่อร่วมกับเครื่องรับ-ส่งวิทยุให้เสียงดังมากขึ้น
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 82/100

82
การรบกวนของคลื่นวิทยุมีสาเหตุมาจากอะไร
ก. ใช้ช่องสัญญาณเดียวกัน
ข. ช่องสัญญาณข้างเคียงความถี่คลาดเคลื่อน
ค. ความบกพร่องของภาครับของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 83/100

83
เมื่อแบตเตอรี่ถูกประจุไฟฟ้ามากเกินพิกัด (Over Charge) จะทำให้
ก. แบตเตอรี่มีความจุมากขึ้น
ข. แบตเตอรี่ชำรุดเสียหาย
ค. แบตเตอรี่มีความจุลดลง
ง. แบตเตอรี่ยังคงใช้งานได้เป็นปกติ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 84/100

84
อิเล็กโตรแมกเนติก อินเตอร์เฟียเรนซ์ (Electromagnetic Interference: EMI) คือ
ก. การรบกวนต่อคลื่นวิทยุอันเกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
ข. การรบกวนต่อคลื่นวิทยุอันเกิดจากระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์
ค. การรบกวนต่อคลื่นวิทยุอันเกิดจากผู้จงใจส่งคลื่นรบกวน
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 85/100

85
การตั้งสถานีวิทยุสมัครเล่นย่านความถี่ VHF โดยติดตั้งสายอากาศสูง 60 เมตร บางครั้งจะได้ยินเสียงสัญญาณจากสถานีวิทยุต่าง ๆ ซ้อนทับกันวุ่นวายจนไม่สามารถใช้สื่อสารได้ ควรแก้ปัญหาอย่างไร
ก. บ่นและระบายอารมณ์บนคลื่นความถี่
ข. ใช้อุปกรณ์ลดความไวภาครับ (Attenuator) และลดกำลังส่งให้ต่ำที่สุด
ค. แจ้งสำนักงาน กสทช.
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 86/100

86
“จริยธรรม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึงข้อใด
ก. คำสั่งสอน
ข. ระเบียบข้อบังคับ
ค. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 87/100

87
“จริยธรรม” แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ “จริยะ+ธรรม” ซึ่งคำว่า “จริยะ” หมายถึงข้อใด
ก. ความรู้สึก
ข. ความประพฤติ
ค. คุณความดี
ง. ความนึกคิด
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 88/100

88
“จริยธรรม” แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ “จริยะ+ธรรม” ซึ่งคำว่า “ธรรม” หมายถึงข้อใด
ก. ความรู้สึก
ข. ความประพฤติ
ค. คุณความดี
ง. ความนึกคิด
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 89/100

89
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัส “การรู้จักข่มใจ” หมายถึงข้อใด
ก. การรู้จักฝึกใจตนเอง
ข. การประพฤติปฏิบัติต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์
ค. ความจริงใจต่อตนเอง
ง. รู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 90/100

90
ผลดีของการมีสติหมายถึง ข้อใด
ก. รู้ว่าใครจะทำอะไร
ข. รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
ค. รู้ว่าตนเองกำลังทำอะไร
ง. รู้อดีตชาติของตนเอง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 91/100

91
บุคคลใดต่อไปนี้ ปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก. ชายใหญ่ รับ-ส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง
ข. ชายกลาง ติดต่อสื่อสารกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาตเป็นประจำ
ค. หญิงใหญ่ ใช้ช่องความถี่สำหรับโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับร้านคาราโอเกะของตนเอง
ง. ไม่มีข้อใดถูก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 92/100

92
บุคคลในข้อใดไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของกิจการวิทยุสมัครเล่น
ก. นายปกรณ์ กระทำผิดกฎหมายวิทยุคมนาคมหรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข. นายภูภูมิ ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีหรือเครื่องวิทยุคมนาคม
ค. นายณเดช แย่งใช้ช่องสัญญาณติดต่อสื่อสาร
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 93/100

93
ข้อใดไม่ใช่คุณธรรมและจริยธรรมของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก. รู้รักสามัคคีและเป็นมิตรกับพนักงานวิทยุสมัครเล่นทุกคน
ข. มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
ค. เปิดเผยข้อมูลความลับที่ไม่ควรเปิดเผย
ง. ดำรงตนเป็นที่พึ่งของสุจริตชน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 94/100

94
ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่นตามคำกล่าวของนายพอล เอ็ม ซีกัล (Pual M. Segal) นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน สัญญาณเรียกขาน W9EEA
ก. นักวิทยุสมัครเล่นต้องคำนึงถึงผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจใช้ความถี่ไปลดทอนความพึงพอใจของสถานีอื่น
ข. นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้ที่มีความจริงใจ ให้การส่งเสริมและช่วยเหลือเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่น
ค. นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้รักความก้าวหน้า ติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ และปรับปรุงสถานีวิทยุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานทันที
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 95/100

95
ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่นตามคำกล่าวของนายพอล เอ็ม ซีกัล (Pual M. Segal) นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน สัญญาณเรียกขาน W9EEA
ก. นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ที่มีอัธยาศัย ความเป็นมิตร ให้ความร่วมมือ และคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่นเสมอเพื่อความเป็นนักวิทยุสมัครเล่นที่ดีต่อกัน
ข. นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้ที่มีความจริงใจ ให้การส่งเสริมและช่วยเหลือเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่น
ค. นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้รักความก้าวหน้า ติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ และปรับปรุงสถานีวิทยุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานทันที
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 96/100

96
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้อง
ก. นายเป้ ใช้ถ้อยคำหยาบคายหรือเป็นการดูหมิ่นในการติดต่อสื่อสารอยู่เป็นประจำ
ข. นายปังปอนด์ แนะนำให้นายปิ่นไปซื้อเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
ค. นางสาวมิ้นต์ ใฝ่หาความรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองและทำหน้าที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ง. นางสาวไฉไล เป็นนักวิทยุสมัครเล่นได้ดัดแปลงเครื่องวิทยุคมนาคมกิจการวิทยุสมัครเล่นเพื่อให้สามารถใช้ความถี่ของมูลนิธิสาธารณกุศลต่าง ๆ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 97/100

97
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้อง
ก. ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีวิทยุคมนาคมกระทำผิดกฎหมายวิทยุคมนาคม
ข. ไม่รับจ้างวานเพื่อรับส่งข่าวสารไปยังบุคคลที่สาม
ค. รับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมาย
ง. ติดต่อกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาต
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 98/100

98
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้องภายหลังจากทราบว่าการปฏิบัติตนในการออกอากาศของเราไม่ถูกต้อง
ก. สอบถามข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้และฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ
ข. ค้นหาข้อมูลเองไม่ต้องสอบถามใคร เพราะกลัวคนอื่นจะรู้ว่าเป็นมือใหม่
ค. หยุดออกอากาศระยะหนึ่ง เพื่อให้คนอื่น ๆ ลืมการปฏิบัติของตนที่ผ่านมา
ง. เปลี่ยนจากการออกอากาศเป็นการฟังอย่างเดียว
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 99/100

99
ข้อใดเป็นเรื่องที่เหมาะสำหรับการนำมาเป็นบทสนทนาในการออกอากาศ
ก. การนำเสนอขายสินค้าที่เป็นธุรกิจของตน
ข. เทคนิคการติดต่อสื่อสารในโหมดต่าง ๆ
ค. ศาสนาและการเมือง
ง. เรื่องขำขันใต้สะดือ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 100/100

100
คำตอบในข้อใดเหมาะสมกับคำว่า “นักวิทยุสมัครเล่นที่ดี”
ก. เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นมานาน 20 ปีแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งสัญญาณเรียกขานเพราะทุกคนจำเสียงได้
ข. คิดค้นและประดิษฐ์สายอากาศเป็นประจำเพื่อนำมาเสนอขายให้เพื่อนสมาชิกในการออกอากาศ
ค. ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักวิทยุสมัครเล่นคนอื่น ๆ ในการออกอากาศ และคอยแนะนำการใช้คลื่นความถี่ให้กับผู้ที่สนใจ
ง. ให้คำปรึกษากับเพื่อนสมาชิกในเรื่องการติดต่อสื่อสารในโหมดต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ แต่ตนเองลืมไปดำเนินการขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นฉบับใหม่ ภายหลังจากฉบับเดิมหมดอายุ
คำถามก่อนหน้า

คุณยังตอบคำถามไม่ครบ : 100 ข้อ จาก 100 ข้อ

(คลิกที่หมายเลขข้อที่ต้องการ เพื่อตอบคำถาม)