NBTC ONE STOP SERVICE

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง

120:00 นาที

คำถามที่ 1/100

1
เมื่อใช้โหมด USB แบบเสียงพูด จอแสดงผลของเครื่องวิทยุในข้อใดต่อไปนี้แสดงความถี่สูงสุดที่ทำให้สัญญาณที่ส่งนั้นอยู่ในช่วงคลื่นความถี่ (Band) นั้นพอดี
ก. แสดงความถี่ขอบบนของช่วงคลื่นความถี่ (Upper Band Edge) นั้นพอดี
ข. แสดงความถี่ 300 Hz ต่ำกว่าความถี่ขอบบนของช่วงคลื่นความถี่ (Upper Band Edge)
ค. แสดงความถี่ 1 kHz ต่ำกว่าความถี่ขอบบนของช่วงคลื่นความถี่ (Upper Band Edge)
ง. แสดงความถี่ 3 kHz ต่ำกว่าความถี่ขอบบนของช่วงคลื่นความถี่ (Upper Band Edge)
คำถามต่อไป

คำถามที่ 2/100

2
ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงกิจการหลักและกิจการรองได้ถูกต้องที่สุด
ก. สถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก คือสถานีที่ไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนจากสถานีที่จัดเป็นกิจการรอง
ข. สถานีที่จัดเป็นกิจการรอง คือสถานีที่ได้รับสิทธิการคุ้มครองการรบกวนจากสถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก
ค. สถานีที่จัดเป็นกิจการรอง ไม่สามารถร้องเรียนขอสิทธิการคุ้มครองการรบกวนจากสถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก
ง. สถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก ไม่สามารถร้องเรียนขอสิทธิการคุ้มครองการรบกวนจากสถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 3/100

3
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง ต้องมีสถานะเป็นสมาชิกของสมาคมที่ได้รับการรับรองจาก กสทช. หรือไม่
ก. ไม่ต้องเป็นสมาชิกสมาคม เพราะพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงได้รับการยกเว้น
ข. ไม่ต้องเป็นสมาชิกสมาคม เพราะอยู่ที่ความสมัครใจ
ค. ไม่ต้องเป็นสมาชิกสมาคม เพราะประกาศ กสทช. ไม่ครอบคลุม
ง. ต้องเป็นสมาชิกสมาคม ตามที่ประกาศ กสทช. กำหนด
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 4/100

4
ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง การแพร่คลื่นความถี่แปลกปลอม (Spurious Emissions)
ก. สถานีวิทยุสมัครเล่นที่ส่งสัญญาณโดยไม่ระบุสัญญาณเรียกขาน
ข. สัญญาณที่ถูกส่งออกมาเพื่อป้องกันการดักรับสัญญาณ
ค. สัญญาณแปลกปลอมใด ๆ ที่ถูกส่งออกมาจากเครื่องส่งวิทยุคมนาคม
ง. สัญญาณที่แผ่เกินจากแถบความถี่ที่ใช้งาน (Necessary Bandwidth) ซึ่งสามารถที่จะลดหรือตัดออกไปได้โดยไม่กระทบกับข้อมูลที่ต้องการส่ง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 5/100

5
การลงโทษโดยตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ครอบคลุมการกระทำของพนักงานวิทยุสมัครเล่นในข้อใด
ก. ใช้ถ้อยคำหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร
ข. ติดต่อกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่รับอนุญาต
ค. ไม่บันทึกการติดต่อสื่อสารในสมุดบันทึก (Log Book) ประจำสถานีวิทยุคมนาคม
ง. แย่งใช้ช่องสัญญาณในการติดต่อสื่อสาร หรือใช้ช่องสัญญาณในลักษณะยึดถือครอบครองเฉพาะกลุ่มบุคคล
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 6/100

6
ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่นตามคำกล่าวของนายพอล เอ็ม ซีกัล (Paul M. Segal) นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน สัญญาณเรียกขาน W9EEA
ก. นักวิทยุสมัครเล่นต้องคำนึงถึงผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจใช้ความถี่ไปลดทอนความพึงพอใจของสถานีอื่น
ข. นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้ที่มีความจริงใจในการส่งเสริมและช่วยเหลือเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่น
ค. นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้รักความก้าวหน้า ติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ และปรับปรุงสถานีวิทยุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานทันที
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 7/100

7
ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่นตามคำกล่าวของนายพอล เอ็ม ซีกัล (Paul M. Segal) นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน สัญญาณเรียกขาน W9EEA
ก. นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยความเป็นมิตร ให้ความร่วมมือและคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่นเสมอเพื่อความเป็นนักวิทยุสมัครเล่นที่ดีต่อกัน
ข. นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้มีความรักชาติ พร้อมเสมอที่จะใช้ความรู้ความสามารถและใช้สถานีวิทยุสมัครเล่นเพื่อรับใช้สังคมและประเทศชาติ
ค. นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้มีดุลยภาพที่พอดี โดยคิดเสมอว่าวิทยุสมัครเล่นเป็นงานอดิเรก จึงไม่ปล่อยให้เกิดความเสียหายต่อภารกิจที่ต้องรับผิดชอบทั้งครอบครัว อาชีพ และสังคม
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 8/100

8
ข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศปัจจุบัน กำหนดให้สัญญาณเรียกขานของสถานีในกิจการวิทยุสมัครเล่นปกติเป็นแบบใด
ก. ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 2 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ข. ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 3 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ค. ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 4 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ง. ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 5 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 9/100

9
ข้อใดต่อไปนี้อธิบายความหมายของใบอนุญาตที่ออกโดย Conference of European Postal and Telecommunications Administrations (CEPT) ได้ถูกต้องที่สุด
ก. กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากประเทศในกลุ่มสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ข. กลุ่มประเทศยุโรปที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศสามารถใช้งานได้โดยต้องขออนุญาต เป็นการเฉพาะ
ค. กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศ สามารถ ใช้งานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ง. กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศ สามารถ ใช้งานได้โดยต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 10/100

10
อุปกรณ์ขยายกำลังส่งภายนอก (External RF Power Amplifier) ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางและขั้นสูงนำมาใช้งานได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ก. ต้องผ่านการตรวจสอบลักษณะทางวิชาการตามที่คณะกรรมการ กสทช. กำหนด
ข. ต้องผ่านการตรวจประเมินระดับการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ค. ต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน
ง. ผิดทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 11/100

11
คาบเวลาวงโคจร (Orbital Period) ของดาวเทียมคือข้อใด
ก. จุดที่สูงที่สุดของวงโคจรดาวเทียม
ข. จุดที่ต่ำที่สุดของวงโคจรดาวเทียม
ค. ระยะเวลาที่ดาวเทียมใช้ในการโคจรรอบโลกหนึ่งรอบ
ง. ระยะเวลาที่ดาวเทียมใช้ในการเดินทางจากโลกเข้าสู่วงโคจร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 12/100

12
ในการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง Mode
ก. ชนิดของสัญญาณซึ่งสามารถส่งผ่านดาวเทียม
ข. ช่วงความถี่ที่ใช้ในการส่งสัญญาณ Uplink และ Downlink ของดาวเทียม
ค. ลักษณะการใช้งานดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นของสถานีภาคพื้นดิน
ง. ลักษณะการโคจรของดาวเทียม ได้แก่ทางแถบขั้วโลกหรือทางแถบเส้นศูนย์สูตร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 13/100

13
รูปแบบการติดต่อสื่อสารของดาวเทียม (Satellite Mode) จะถูกกำหนดโดยอะไร
ก. ขนาดกำลังส่งของการ Uplink และ Downlink
ข. ตำแหน่งของสถานีควบคุม
ค. รูปแบบการแพร่กระจายคลื่นของการส่งสัญญาณ Uplink และ Downlink
ง. ช่วงความถี่ที่ใช้สำหรับการ Uplink และ Downlink
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 14/100

14
เหตุใดจึงต้องใช้กำลังส่งต่ำในการส่งสัญญาณไปยังดาวเทียมที่ใช้ Linear Transponder
ก. ป้องกันไม่ให้รบกวนระบบโทรมาตร (Telemetry) ของดาวเทียม
ข. ป้องกันไม่ให้ลดทอนสัญญาณ Downlink ของผู้ใช้งานคนอื่น ๆ
ค. ป้องกันไม่ให้ดาวเทียมส่งสัญญาณอื่น ๆ นอกความถี่ที่ใช้งาน
ง. ป้องกันไม่ให้รบกวนการติดต่อภาคพื้นดิน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 15/100

15
ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของคำว่า L Band และ S Band ในการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น
ก. ความถี่ย่าน 23 เซนติเมตร และ ความถี่ย่าน 13 เซนติเมตร
ข. ความถี่ย่าน 2 เมตร และ ความถี่ย่าน 70 เซนติเมตร
ค. FM และระบบดิจิทัลแบบบันทึกแล้วส่งต่อ (Digital Store And Forward)
ง. บอกด้านของ Sideband ที่ใช้งาน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 16/100

16
สายอากาศที่สามารถลดผลกระทบของ Spin Modulator และ Faraday Rotation คือสายอากาศชนิดใด
ก. สายอากาศชนิด Linearly Polarization
ข. สายอากาศชนิด Circularly Polarization
ค. สายอากาศชนิด Isotropic
ง. สายอากาศชนิด Log-Periodic Dipole Array
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 17/100

17
ข้อใดคือลักษณะการทำงานร่วมกันของโทรทัศน์แบบ Fast Scan ในระบบ NTSC
ก. การ Scan สองพื้นที่พร้อมกัน
ข. การ Scan แต่ละพื้นที่จากล่างขึ้นบน
ค. การ Scan จากซ้ายไปขวาบนพื้นที่แรกและขวาไปซ้ายของพื้นที่ถัดไป
ง. การ Scan เส้นจำนวนคี่ในพื้นที่แรกและจำนวนคู่ในพื้นที่ถัดไป
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 18/100

18
การผสมคลื่นแบบ Vestigial Sideband คือ
ก. เป็นรูปแบบการผสมคลื่นโหมด AM แบบหนึ่งโดยส่งออกอากาศไซด์แบนด์ด้านหนึ่งทั้งหมดกับบางส่วนของไซด์แบนด์อีกด้านหนึ่ง
ข. เป็นรูปแบบการผสมคลื่นที่ Sideband ด้านหนึ่งถูกสลับด้าน
ค. เป็นรูปแบบการผสมคลื่นโหมด FM แบบ Narrow Band โดยการกรอง Sideband ด้านหนึ่งจากเสียง ก่อนที่จะถูกผสมกับความถี่แล้วถูกส่งออกมา
ง. เป็นรูปแบบการผสมคลื่นแบบกว้างโดยประยุกต์การผสมคลื่นแบบ FM ตามแบบของการผสมคลื่นแบบ Single Sideband
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 19/100

19
ในการถอดรหัสสัญญาณ SSTV แบบดิจิทัลด้วยมาตรฐาน Digital Radio Mondiale (DRM) นอกจากเครื่องรับวิทยุระบบ SSB และคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมแล้วสถานีของเรายังต้องการอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติม
ก. IF converter
ข. อุปกรณ์แปลงข้อมูลภาพเป็นรหัส ASCII
ค. วงจร Notch Filter เพื่อกำจัดสัญญาณ Synchronization Pulses
ง. ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 20/100

20
ข้อใดต่อไปนี้คือหน้าที่ของรหัส Vertical Interval Signaling (VIS) ที่เป็นส่วนหนึ่งของ SSTV
ก. ควบคุมการกำเนิดสัญญาณสีบนภาพที่ส่งผ่านทาง SSTV
ข. เพื่อระบุ Mode ของ SSTV ที่กำลังใช้งาน
ค. ทำให้เกิด Vertical Synchronization
ง. เพื่อระบุสัญญาณเรียกขานของสถานีที่กำลังส่งสัญญาณ SSTV
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 21/100

21
การส่งสัญญาณ SSTV แบบ Analog บนย่านความถี่ HF มีหลักการทำงานอย่างไร
ก. แปลงข้อมูลภาพเป็นรหัส Baudot
ข. แปลงข้อมูลภาพเป็นรหัส ASCII
ค. แปลงข้อมูลภาพให้เป็นโทนเสียงที่หลากหลายแล้วส่งออกอากาศในรูปแบบ PSK
ง. แปลงข้อมูลภาพให้เป็นโทนเสียงที่หลากหลายแล้วส่งออกอากาศในรูปแบบ Single Sideband
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 22/100

22
ข้อจำกัดพิเศษสำหรับการส่ง Slow Scan TV คือ
ก. ไม่มีข้อจำกัดใด ๆ สามารถส่งได้ตลอดความถี่ของวิทยุสมัครเล่น
ข. ถูกจำกัดให้ใช้เฉพาะความถี่ 7.245 MHz, 14.245 MHz, 21.345 MHz และ 28.945 MHz
ค. ถูกจำกัดให้ใช้เฉพาะ Phone Band และใช้ Bandwidth ต้องไม่มากกว่าการส่งสัญญาณเสียงพูดในการผสมคลื่นแบบเดียวกัน
ง. ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานที่ความถี่สูงกว่า 54 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 23/100

23
เทคนิค Frequency Hopping ของ Spread-Spectrum ทำงานอย่างไร
ก. ถ้าภาครับตรวจพบการรบกวน ภาคส่งจะเปลี่ยนความถี่ใช้งาน
ข. เมื่อภาครับพบการรบกวน ภาคส่งจะรอจนกว่าจะไม่มีการรบกวนเกิดขึ้น
ค. สร้างการสุ่มเทียม (Pseudo-Random) อย่างรวดเร็วเพื่อหลบหลีกสัญญาณการรบกวน
ง. ความถี่ส่งจะถูกเปลี่ยนอย่างรวดเร็วตามลำดับที่กำหนดไว้ โดยสถานีรับจะเปลี่ยนตาม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 24/100

24
ข้อใดคือความหมายของคำว่า Baud
ก. จำนวนที่ถูกส่งต่อวินาทีของสัญลักษณ์ข้อมูล (Data Symbol)
ข. จำนวนที่ถูกส่งต่อวินาทีของตัวอักษร
ค. จำนวนที่ถูกส่งต่อนาทีของตัวอักษร
ง. จำนวนที่ถูกส่งต่อวินาทีของคำ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 25/100

25
การสื่อสารสะท้อนผิวดวงจันทร์ (EME) โหมดดิจิทัล (Digital) ใช้รูปแบบใดจึงมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ก. FSK441
ข. PACTOR III
ค. Olivia
ง. JT65
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 26/100

26
วัตถุประสงค์ของการบันทึกแล้วส่งต่อข้อมูลดิจิทัล (Digital Store And Forward) บนดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นคืออะไร
ก. Upload ระบบปฏิบัติการของ Transponder
ข. ถ่ายทอดระบบโทรมาตรของดาวเทียม
ค. จัดเก็บข้อความในรูปแบบดิจิทัลบนดาวเทียม เพื่อให้สถานีอื่น ๆ Download ตามต้องการ
ง. ถ่ายทอดข้อความระหว่างดาวเทียม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 27/100

27
ข้อใดต่อไปนี้คือ Protocol ใช้ใน APRS
ก. PACTOR
ข. 802.11
ค. AX.25
ง. AMTOR
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 28/100

28
สถานี APRS มีส่วนร่วมกับกิจกรรมบริการสาธารณะได้อย่างไร
ก. สถานี APRS มีผู้ชำนาญทางการแพทย์ฉุกเฉินซึ่งสามารถส่งข้อมูลต่อไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียงได้
ข. สถานี APRS สามารถตรวจสอบและส่งข้อมูลและเวลาเมื่อเดินทางผ่านจุดที่กำหนด
ค. สถานี APRS มีอุปกรณ์ GPS จึงสามารถส่งข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งของสถานีเคลื่อนที่ได้อัตโนมัติ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 29/100

29
ข้อใดต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่เครือข่าย APRS นำไปใช้ในการระบุตำแหน่ง
ก. Polar Coordinates
ข. Time And Frequency
ค. Radio Direction Finding
ง. Latitude And Longitude
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 30/100

30
การติดต่อสื่อสารแบบ JT65 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์(EME) ได้อย่างไร
ก. สามารถถอดสัญญาณในระดับที่ต่ำกว่า Noise Floor มากโดยใช้เทคนิค FEC
ข. สามารถควบคุมภาครับของเครื่องวิทยุให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของความถี่จากปรากฏการณ์ Doppler ได้
ค. สามารถควบคุมสายอากาศในการติดตามการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ได้
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 31/100

31
นิยมใช้การผสมคลื่นแบบใดในการส่งข้อมูล (Data) ด้วยวิทยุสื่อสารในความถี่ที่ต่ำกว่า 30 MHz
ก. DTMF Tone ด้วยการผสมคลื่นแบบ FM
ข. FSK
ค. Pulse Modulation
ง. Spread-Spectrum
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 32/100

32
ARQ ช่วยแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดได้อย่างไร
ก. Binary Codes พิเศษช่วยแก้ไขข้อมูลอัตโนมัติ
ข. Polynomial Codes พิเศษช่วยแก้ไขข้อมูลอัตโนมัติ
ค. หากตรวจพบความผิดพลาด จะมีการใช้ข้อมูลสำรองแทน
ง. หากตรวจพบความผิดพลาด จะมีการร้องขอให้ส่งข้อมูลซ้ำ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 33/100

33
โดยทั่วไปอัตราการส่งข้อมูล (Data Rate) ของ Packet Radio ในย่านความถี่ HF คือ
ก. 48 Baud
ข. 110 Baud
ค. 300 Baud
ง. 1200 Baud
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 34/100

34
ข้อใดต่อไปนี้เป็นการสื่อสารแบบดิจิทัล (Digital Mode) ในย่าน HF ที่สามารถใช้ส่งข้อมูลรูปแบบ Binary File ได้
ก. Hellschreiber
ข. PACTOR
ค. RTTY
ง. AMTOR
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 35/100

35
ข้อแตกต่างระหว่าง Direct FSK และ Audio FSK คือ
ก. Direct FSK ประยุกต์ใช้สัญญาณข้อมูลในภาคส่ง VFO
ข. Audio FSK มีการตอบสนองความถี่ที่ดีกว่า
ค. Direct FSK ใช้การเชื่อมต่อข้อมูลคู่ DC
ง. Audio FSK สามารถส่งได้ทุกช่วง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 36/100

36
ข้อใดต่อไปนี้คือขนาดของ Impedance วงจร RLC แบบขนานในภาวะ Resonance
ก. มีค่าใกล้เคียงกับค่าความต้านทานของวงจร
ข. มีค่าใกล้เคียงกับค่า Inductive Reactance
ค. มีค่าต่ำเมื่อเมื่อเทียบกับค่าความต้านทานของวงจร
ง. มีค่าใกล้เคียงกับค่า Capacitive Reactance
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 37/100

37
ข้อใดต่อไปนี้คือความถี่ Resonance ของวงจร RLC แบบอนุกรมซึ่งมีค่า R= 56 Ω, L= 40 μH และ C= 200 pF
ก. 3.76 MHz
ข. 1.78 MHz
ค. 11.18 MHz
ง. 22.36 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 38/100

38
ข้อใดต่อไปนี้คือความถี่ Resonance ของวงจร RLC แบบขนานซึ่งมีค่า R= 33 Ω, L= 50 μH และ C= 10 pF
ก. 23.5 MHz
ข. 23.5 kHz
ค. 7.12 kHz
ง. 7.12 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 39/100

39
ตัวเก็บประจุในวงจร RC จะถูก Discharge ลงเหลือกี่เปอร์เซนต์ของค่าแรงดันเริ่มต้น หลังจากผ่านค่าคงที่ทางเวลาครั้งที่ 2 ไปแล้ว
ก. 0.865
ข. 0.632
ค. 0.368
ง. 0.135
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 40/100

40
ข้อใดต่อไปนี้คือมุมระหว่างเฟสของแรงดันตกคร่อมและกระแสผ่านวงจร RLC อนุกรม ถ้า XC= 250 Ω, R= 1 kΩ และ XL= 500 Ω
ก. 81.47 องศา และ แรงดันตามหลังกระแส
ข. 81.47 องศา และ แรงดันนำหน้ากระแส
ค. 14.04 องศา และ แรงดันตามหลังกระแส
ง. 14.04 องศา และ แรงดันนำหน้ากระแส
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 41/100

41
Polar Coordinate ข้อใดต่อไปนี้คือ Impedance ของวงจรที่ประกอบด้วย XC= 400 Ω ต่ออนุกรมอยู่กับ R= 300 Ω
ก. 240 Ω ที่มุม 36.9 องศา
ข. 240 Ω ที่มุม -36.9 องศา
ค. 500 Ω ที่มุม 53.1 องศา
ง. 500 Ω ที่มุม -53.1 องศา
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 42/100

42
เมื่อเราใช้ Rectangular Coordinate ในการวาดกราฟ Impedance ของวงจร แกนนอนจะแสดงค่าของอะไร
ก. องค์ประกอบส่วน Resistance
ข. องค์ประกอบส่วน Reactive
ค. ผลรวมของค่าองค์ประกอบส่วน Reactive และองค์ประกอบส่วน Resistance
ง. ผลต่างระหว่างค่าองค์ประกอบส่วน Resistance และองค์ประกอบส่วน Reactive
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 43/100

43
ระบบพิกัดแบบใดที่มักนิยมใช้ในการแสดงค่า R, XC และ/หรือ XL ของอิมพีแดนซ์
ก. Maidenhead Grid
ข. Faraday Grid
ค. Elliptical Coordinate
ง. Rectangular Coordinate
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 44/100

44
Polar Coordinate ข้อใดต่อไปนี้คือ Impedance ของวงจรอนุกรมที่ประกอบด้วย R = 4 Ω, XL = 4 Ω และ XC = 1 Ω
ก. 6.4 Ω ที่มุม 53 องศา
ข. 5 Ω ที่มุม 37 องศา
ค. 5 Ω ที่มุม 45 องศา
ง. 10 Ω ที่มุม -51 องศา
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 45/100

45
สนามแม่เหล็กในตัวนำจะมีทิศทางอย่างไรเมื่อเทียบกับการไหลของอิเล็กตรอน
ก. มีทิศทางเดียวกับการไหลของกระแส
ข. มีทิศทางตรงข้ามกับการไหลของกระแส
ค. มีทิศทางแผ่ออกไปรอบตัวนำในทุก ๆ ทิศทาง
ง. มีทิศทางตามกฎมือซ้ายของเฟลมมิง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 46/100

46
ข้อใดต่อไปนี้คือตัวประกอบกำลังของวงจร RL ที่มีมุมเฟสระหว่างแรงดันกับกระแสเป็น 60 องศา
ก. 1.414
ข. 0.866
ค. 0.5
ง. 1.73
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 47/100

47
จะมีกำลังสูญเสียเป็นจำนวนกี่วัตต์ในวงจรที่มีตัวประกอบกำลังค่า 0.71 และมีกำลังปรากฏเป็น 500 VA
ก. 704 W
ข. 355 W
ค. 252 W
ง. 1.42 mW
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 48/100

48
ในรูปที่ A6-2 ข้อใดเป็นสัญลักษณ์ของ P-Channel Junction FET
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 6
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 49/100

49
สารกึ่งตัวนำใดต่อไปนี้ประกอบด้วย Excess Of Holes ในวงนอกของอิเล็กตรอน
ก. N Type
ข. P Type
ค. Superconductor Type
ง. Bipolar Type
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 50/100

50
ข้อใดเป็น ความต้านทาน Input และ Output ที่นิยมใช้ในวงจร MMICs
ก. 50 Ω
ข. 300 Ω
ค. 450 Ω
ง. 10 Ω
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 51/100

51
สัญญาณ Output จะเปลี่ยนไปกี่ครั้งเมื่อมีการ Trig ของสัญญาณทุก ๆ สองครั้งเข้าไปที่ Input ของวงจร T Flip-Flop
ก. ไม่มีการเปลี่ยน
ข. 1 ครั้ง
ค. 2 ครั้ง
ง. 3 ครั้ง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 52/100

52
อุปกรณ์ใดที่สามารถหาร Pulse Train ให้เหลือครึ่งหนึ่ง
ก. “XOR” Gate
ข. Flip-Flop
ค. “OR” Gate
ง. วงจร Multiplexer
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 53/100

53
ข้อใดเป็นคุณลักษณะของวงจร Monostable Multivibrator
ก. เมื่อมีการทริก (Trigger) วงจรจะสลับการทำงานไปยังสภาวะตรงข้ามในช่วงเวลาหนึ่งและกลับมาอยู่ในสภาวะเดิมอีกครั้งตามเวลาที่กำหนดไว้
ข. วงจรจะผลิต Square Wave สถานะ 0 และ 1 อย่างต่อเนื่อง ตามเวลาที่กำหนดไว้
ค. จะเก็บข้อมูลเอาไว้ 1 บิต อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างสถานะ 0 หรือ 1
ง. จะรักษาระดับแรงดัน Output เอาไว้ให้คงที่ถึงแม้แรงดัน Input จะเปลี่ยนแปลงก็ตาม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 54/100

54
อัตราขยายของสายอากาศ Half Wave Dipole ใน Free Space จะเป็นเท่าไรเมื่อเทียบกับสายอากาศแบบ Isotropic
ก. 1.55 dB
ข. 2.15 dB
ค. 3.05 dB
ง. 4.30 dB
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 55/100

55
ข้อใดต่อไปนี้คือวิธีการคำนวณประสิทธิภาพของสายอากาศ
ก. (Radiation Resistance / Transmission Resistance) x 100%
ข. (Radiation Resistance / Total Resistance) x 100%
ค. (Total Resistance / Radiation Resistance) x 100%
ง. (Effective Radiated Power / Transmitter Output) x 100%
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 56/100

56
ข้อใดต่อไปนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด Ground Losses สำหรับการติดตั้งสายอากาศบนพื้นดินในความถี่ 3-30 MHz ที่แพร่กระจายคลื่นแนวตั้ง
ก. ค่า Standing Wave Ratio
ข. ระยะห่างจากเครื่องส่ง
ค. ค่าความนำไฟฟ้าของดิน
ง. มุม Take Off ของสายอากาศ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 57/100

57
สายอากาศต้นหนึ่งมีอัตราขยาย เท่ากับ 6 dB เมื่อเทียบกับสายอากาศ Isotropic แต่ถ้านำมาเทียบกับสายอากาศ Half Wave Dipole สายอากาศต้นนี้จะมีอัตราขยายเท่าไร
ก. 3.85 dB
ข. 6.0 dB
ค. 8.15 dB
ง. 2.79 dB
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 58/100

58
Far-Field ของสายอากาศคือ
ก. บริเวณชั้นบรรยากาศ Ionosphere ที่คลื่นวิทยุไม่สะท้อนกลับมา
ข. บริเวณที่คลื่นวิทยุเกิดการจางหายไปตามช่วงเวลา
ค. บริเวณที่คลื่นวิทยุถูกสะท้อนกลับด้วยวัตถุ
ง. บริเวณที่รูปแบบการแพร่กระจายคลื่นของสายอากาศไม่เปลี่ยนไปตามระยะทาง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 59/100

59
สายอากาศขนาด 1/4 ความยาวคลื่น แพร่คลื่นแบบแนวตั้งจำนวน 2 ต้น วางขนานกันที่ระยะห่าง 1/2 ความยาวคลื่นและมีการ Feed แบบเฟสต่างกัน 180 องศา จะมีรูปแบบของการแพร่กระจายคลื่นอย่างไร
ก. แพร่กระจายคลื่นคล้ายรูปหัวใจ ♥ (Cardioid)
ข. แพร่กระจายคลื่นแบบรอบตัว
ค. รูปร่างคล้ายเลข 8 ตั้งฉากกับแกนขนาน
ง. รูปร่างคล้ายเลข 8 ตามแกนขนาน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 60/100

60
ข้อใดต่อไปนี้คือปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบสายอากาศแบบ Beverage ให้มีประสิทธิภาพดีในความถี่ที่ต้องการ
ก. ความยาวของสายอากาศทั้งหมดต้องไม่เกิน ¼ ความยาวคลื่น
ข. ต้องติดตั้งให้สูงกว่ากราวด์อย่างน้อย 1 ความยาวคลื่น
ค. ควรจัดรูปแบบให้เป็นลูป 4 ด้าน
ง. ควรยาวอย่างน้อย 1 ความยาวคลื่น หรือมากกว่านั้น
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 61/100

61
เหตุใดจึงต้องการให้สายอากาศสำหรับการติดต่อสื่อสารกับดาวเทียมสามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งมุมกวาด (Azimuth) และมุมเงย (Elevator)
ก. ใช้ติดตามดาวเทียมในวงโคจรรอบโลก
ข. เพื่อหลีกสายอากาศจากสัญญาณรบกวน
ค. เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจาก Faraday Rotation
ง. ใช้ในการปรับการแพร่กระจายคลื่นให้เหมาะสมกับดาวเทียม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 62/100

62
จุดติดตั้ง High-Q Loading Coil ของสายอากาศรอบตัวแบบสั้น ควรติดบริเวณใดเพื่อให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด ในการลดความยาวของสายอากาศที่กระจายคลื่นในแนวตั้ง ควรใส่ Loading Coil ไว้ที่จุดใดจึงทำให้สายอากาศมีประสิทธิภาพดีที่สุดและมีความสูญเสียน้อยที่สุด
ก. ช่วงกลางของส่วนแพร่กระจายคลื่น
ข. ช่วงต่ำที่สุดของส่วนแพร่กระจายคลื่น
ค. ใกล้เครื่องส่งที่สุดเท่าที่จะทำได้
ง. ตรงจุดของส่วนแพร่กระจายคลื่นที่แรงดันไฟฟ้าเป็นศูนย์
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 63/100

63
ข้อเสียของสายอากาศ Multiband Trapped Antenna คือ
ก. อาจมีการปล่อยความถี่ฮาร์มอนิก
ข. ใช้ได้กับความถี่ย่านเดียวเท่านั้น
ค. ให้มุมการแพร่กระจายคลื่นแคบมากในย่านความถี่ต่ำ
ง. มันต้องใช้เทคนิค Neutralization
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 64/100

64
ข้อใดต่อไปนี้เป็นตัวบอกสายนำสัญญาณไม่แมตช์
ก. SWR น้อยกว่า 1:1
ข. ค่าการสะท้อนกลับมากกว่า 1
ค. Dielectric Constant มากกว่า 1
ง. SWR มากกว่า 1:1
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 65/100

65
สายนำสัญญาณที่ใช้อากาศเป็นฉนวนซึ่งมีความยาวทางไฟฟ้า ½ ความยาวคลื่นของ 14.1 MHz จะมีความยาวทางกายภาพเท่าไรโดยประมาณ
ก. 15 เมตร
ข. 20 เมตร
ค. 10 เมตร
ง. 71 เมตร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 66/100

66
สายนำสัญญาณที่ใช้โพลีเอทีลีนเป็นฉนวนซึ่งมีความยาวทางไฟฟ้า 14 ความยาวคลื่นของ 7.2 MHz จะมีความยาวทางกายภาพเท่าไรโดยประมาณ
ก. 10 เมตร
ข. 6.9 เมตร
ค. 24 เมตร
ง. 50 เมตร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 67/100

67
ลักษณะของวงกลมและส่วนโค้งที่เป็น Smith Chart คือ
ก. Resistance และ Voltage
ข. Reactance และ Voltage
ค. Resistance และ Reactance
ง. Voltage และ Impedance
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 68/100

68
ลักษณะของ Chart ที่ปรากฏในรูป A9-3 คือ
ก. Smith Chart
ข. Free-Space Radiation Directivity Chart
ค. Elevation Angle Radiation Pattern Chart
ง. Azimuth Angle Radiation Pattern Chart
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 69/100

69
ในการแพร่กระจายคลื่นแบบรอบตัวของสถานีทวนสัญญาณด้วยกำลังส่ง 200 W สายนำสัญญาณสูญเสีย 2 dB, duplexer สูญเสีย 2.8 dB, Circulator สูญเสีย 0.8 dB, และสายอากาศ มีกำลังขยาย 7 dBd จะมีกำลังการแพร่กระจายคลื่นเท่าใด
ก. 159 W
ข. 286 W
ค. 632 W
ง. 63.2 W
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 70/100

70
หลักการค้นหาทิศทางสัญญาณวิทยุแบบสามเหลี่ยมคืออะไร
ก. ใช้มุมสะท้อนจากท้องฟ้าในการอ้างอิงตำแหน่ง
ข. กำหนดจุดสถานีรับบนแผนที่ 3 ตำแหน่ง และลากเส้นไปยังแหล่งกำเนิดสัญญาณ
ค. สถานีรับจากหลาย ๆ ตำแหน่งหันสายอากาศไปยังทิศทางที่รับสัญญาณได้เพื่อระบุแหล่งกำเนิดสัญญาณ
ง. กำหนดจุดสถานีรับบนแผนที่ 3 ตำแหน่ง แลใช้สายอากาศต่างกันเพื่อหาแหล่งกำเนิดสัญญาณ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 71/100

71
การจะนัดแนะกันติดต่อ EME สภาวะใดต่อไปนี้ที่ทำให้เกิดความสูญเสียระหว่างทาง (Path Loss) น้อยที่สุด
ก. เมื่อดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุด
ข. เมื่อดวงจันทร์เต็มดวง
ค. เมื่อดวงจันทร์อยู่ห่างไกลที่สุด
ง. เมื่อความถี่สูงสุดที่สามารถใช้งานได้ (MUF) อยู่ที่ 30 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 72/100

72
ช่วงเวลาใดของวันที่ดีที่สุดสำหรับการติดต่อสื่อสารข้ามเส้นศูนย์สูตร
ก. เช้า
ข. สาย
ค. บ่ายหรือเย็น
ง. กลางคืน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 73/100

73
การแพร่กระจายคลื่น HF แบบใดที่อาจเกิดขึ้นถ้าสัญญาณคลื่นวิทยุเดินทางระหว่างเส้นแบ่งกลางวัน และกลางคืน
ก. Transequatorial
ข. Sporadic-E
ค. Long Path
ง. Gray Line
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 74/100

74
การแพร่กระจายคลื่นแบบ Gray Line จะเกิดขึ้นในช่วงใดของวัน
ก. ช่วงดวงอาทิตย์ขึ้น (เช้ามืด) และดวงอาทิตย์ตก (หัวค่ำ)
ข. เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางที่ตั้งของสถานี
ค. เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางระหว่างสองสถานีที่กำลังติดต่อกัน
ง. เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางของสถานีที่กำลังรับสัญญาณวิทยุ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 75/100

75
ข้อใดต่อไปนี้ คือผลกระทบที่เกิดจากแสงขั้วโลก (Aurora) ที่เกิดกับการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ
ก. สัญญาณ SSB เสียงแตกพร่า
ข. สัญญาณ CW โทนเสียงสั่นกระพือ
ค. สัญญาณ FM เสียงไม่ชัดเจน
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 76/100

76
รูปคลื่นชนิดใดเป็นการสร้างคลื่นของไซน์ที่ให้ความถี่พื้นฐานรวมกับความที่ฮาร์มอนิกทั้งหมด
ก. Sawtooth Wave
ข. Square Wave
ค. Sine Wave
ง. Cosine Wave
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 77/100

77
ข้อใดเทียบเท่ากับค่า Root-Mean-Square ของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ
ก. แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ โดยการใช้ค่ากำลังสองของค่าเฉลี่ยของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับสูงสุด
ข. แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ก่อให้เกิดความร้อนในตัวต้านทานเป็นจำนวนเดียวกับที่ได้รับจากแรงดันสูงสุดของไฟฟ้ากระแสสลับ
ค. แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ก่อให้เกิดความร้อนในตัวต้านทานเป็นจำนวนเดียวกับที่ได้รับจากแรงดันไฟฟ้า RMS กระแสสลับ
ง. แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ โดยการใช้รากที่สองของค่าเฉลี่ยไฟฟ้ากระแสสลับ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 78/100

78
อัตราส่วนโดยประมาณของ PEP ต่อพลังงานเฉลี่ยในสัญญาณเสียงแบบ Single-Sideband คืออะไร
ก. 2.5 : 1
ข. 25 : 1
ค. 1 : 1
ง. 100 : 1
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 79/100

79
ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นลักษณะเด่นของรูปแบบคลื่น Pulse
ก. การสั่นของ Sine Wave ทั่วไป
ข. สัญญาณที่ระเบิดขึ้นเป็นช่วงสั้น ๆ สลับกับช่วงของการไม่มีสัญญาณ
ค. ชุดของโทนเสียงที่แตกต่างกันระหว่างสองความถี่
ง. สัญญาณที่ประกอบด้วยสามหรือมากกว่าของโทนเสียงแบบไม่ต่อเนื่อง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 80/100

80
ข้อมูลประเภทใดที่สามารถสื่อสารได้โดยใช้รูปคลื่นแบบ Digital
ก. เสียงมนุษย์
ข. สัญญาณภาพ
ค. ข้อมูล
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 81/100

81
การส่งข้อมูล ASCII แบบ FM ความถี่เยื้อง 4800 Hz ความเร็ว 9600 Baud ต้องการแถบความถี่กว้างเท่าใด
ก. 15.36 kHz
ข. 9.6 kHz
ค. 4.8 kHz
ง. 5.76 kHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 82/100

82
เทคนิคการสื่อสาร Spread-Spectrum แบบใด ที่ใช้การส่ง Binary Bit ความเร็วสูงเพื่อเปลี่ยนเฟสของสัญญาณ RF
ก. Frequency Hopping
ข. Direct Sequence
ค. Binary Phase-Shift Keying
ง. Phase Compandored Spread-Spectrum
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 83/100

83
ข้อใดต่อไปนี้คือข้อดีของการส่ง Parity Bit รวมกับการส่งข้อมูลเป็นอักขระ ASCII
ก. ทำให้มีอัตราการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น
ข. สัญญาณข้อมูลสามารถเอาชนะสัญญาณรบกวน
ค. สามารถส่งตัวอักษรของภาษาต่างประเทศได้
ง. สามารถตรวจพบข้อผิดพลาดบางชนิดได้
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 84/100

84
ข้อใดอธิบายการเดินทางของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใน Free Space ได้ดีที่สุด
ก. สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กจะมีทิศทางสอดคล้องกันในขณะที่เดินทาง
ข. พลังงานจะเคลื่อนผ่านตัวกลางที่มีค่าดรรชนีหักเหสูง
ค. คลื่นจะถูกสะท้อนโดยชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์กลับมาที่จุดเริ่มต้น
ง. การเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กเป็นตัวพาพลังงานให้เดินทางไป
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 85/100

85
อะไรคือความหมายของการแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบ Circularly
ก. คลื่นที่มีสนามไฟฟ้าโค้งงอเป็นรูปทรงกลม
ข. คลื่นที่สนามไฟฟ้าหมุนวน
ค. คลื่นที่เดินทางรอบโลก
ง. คลื่นที่เกิดขึ้นโดยสายอากาศแบบลูป (Loop)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 86/100

86
ทำไมการจำกัด (MPE) จึงต้องแบ่งเป็นสนามไฟฟ้า (E) และสนามแม่เหล็ก (H)
ก. ร่างกายตอบสนองต่อรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งจากสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก
ข. การสะท้อนพื้นดินทำให้ความต้านทานของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กมีความหลากหลาย
ค. ความเข้มของรังสีของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กมีผลแตกต่างกันในสถานที่ต่างกัน
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 87/100

87
ข้อใดคือวัสดุฉนวนที่นิยมใช้เป็นตัวนำความร้อนสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางประเภท ซึ่งถ้าแตกหรือถูกบดจะปล่อยอณูที่เป็นพิษหากสูดดมเข้าไป
ก. Mica
ข. Zinc Oxide
ค. Beryllium Oxide
ง. Uranium Hexaflouride
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 88/100

88
ข้อใดต่อไปนี้คือวัสดุมีพิษที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวเก็บประจุแรงดันสูง (High-Voltage Capacitors) และหม้อแปลง
ก. Polychlorinated biphenyls
ข. Polyethylene
ค. Polytetrafluorethylene
ง. Polymorphic Silicon
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 89/100

89
ข้อใดต่อไปนี้ที่ Spectrum Analyzer จะแสดงผลในแกนนอน
ก. SWR
ข. Q
ค. เวลา
ง. ความถี่
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 90/100

90
เครื่องมือใดต่อไปนี้ที่ใช้วัดการผสมคลื่นที่เบี่ยงเบนไป ในการส่งแบบ SSB
ก. Wattmeter
ข. Spectrum Analyzer
ค. Time-Domain Reflectometer
ง. Logic Analyzer
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 91/100

91
ข้อใดต่อไปนี้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับวัดค่า SWR ของสายอากาศแบบทิศทาง
ก. Spectrum Analyzer
ข. Q meter
ค. Ohmmeter
ง. Antenna Analyzer 
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 92/100

92
ข้อใดต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญเมื่อต่อ Spectrum Analyzer กับเครื่องส่ง
ก. ใช้ Coaxial Cable คุณภาพสูงเพื่อลดการสูญเสียของสัญญาณ
ข. ลดกำลังส่งลงขณะวัดสัญญาณโดย Spectrum Analyzer
ค. Match สายอากาศไปยังโหลด
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 93/100

93
ข้อใดต่อไปนี้เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบมากที่สุดต่อความแม่นยำของ Frequency Counter
ก. การป้อนสัญญาณลดทอนที่ถูกต้อง
ข. ฐานเวลาที่ถูกต้อง
ค. การแบ่งรอบที่ถูกต้อง
ง. อุณหภูมิของวงจร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 94/100

94
อะไรคือข้อได้เปรียบในการวัดค่าอิมพีแดนซ์ด้วยวงจร Bridge
ก. ทำให้เกิด Matching ได้ดีที่สุดในทุกสภาวะ
ข. ป้องกันแหล่งกำเนิดสัญญาณ
ค. เป็นวิธีวัดโดยใช้แรงดันเทียบศูนย์ (Signal Null) ซึ่งสามารถทำได้อย่างแม่นยำ
ง. สามารถแสดงผลโดยตรงในรูปแบบ Smith Chart
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 95/100

95
ข้อใดคือความสำคัญของค่าความไว Voltmeter ที่แสดงในอัตราโอห์มต่อโวลต์
ก. เมื่ออ่านค่าของ Voltmeter เต็มสเกลคูณด้วยโอห์มต่อโวลต์จะให้ข้อมูลอินพุทอิมพีแดนซ์ของ Voltmeter
ข. เมื่อใช้ Galvanometer ค่าแรงดันที่อ่านได้คูณกับค่า โอห์ม/โวลต์ จะเป็นตัวกำหนดพลังงานของอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบ
ค. เมื่อใช้ Ohmmeter นำค่าโอห์มที่อ่านได้ มาหารด้วยค่า โอห์ม/โวลต์ จะเป็นตัวกำหนดแรงดันไฟฟ้าที่ใช้กับวงจร
ง. เมื่อใช้ Ammeter นำค่ากระแสสูงสุดที่สามารถอ่านได้ มาหารด้วยค่า โอห์ม/โวลต์ จะเป็นตัวกำหนดของ Shunt
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 96/100

96
ข้อใดต่อไปนี้สามารถใช้วัดค่า Q สำหรับวงจรอนุกรม
ก. อัตราส่วนค่าความเหนี่ยวนำต่อค่าความจุ
ข. ความคลาดเคลื่อนของความถี่
ค. ค. Bandwidth ที่วงจรสามารถตอบสนอง
ง. ความถี่เรโซแนนซ์ของวงจร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 97/100

97
สัญญาณรบกวนชนิดใดที่สามารถลดได้ด้วยการใช้ DSP Noise Filter
ก. Gaussian White Noise
ข. สัญญาณรบกวนจากการจุดระเบิด
ค. สัญญาณรบกวนจากสายส่งไฟฟ้า
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 98/100

98
จะทราบได้อย่างไรว่าสัญญาณรบกวนที่รับได้นั้นเกิดในบ้านของเราเอง
ก. ตรวจสอบแรงดันในสายไฟฟ้าด้วย Reflectometer
ข. สังเกตรูปคลื่นกระแสสลับด้วย Oscilloscope
ค. ปิด Circuit Breaker ของระบบไฟฟ้าหลักภายในบ้าน และฟังด้วยเครื่องวิทยุที่ใช้แบตเตอรี่
ง. สังเกตแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับด้วย Spectrum Analyzer
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 99/100

99
ข้อใดคือผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ Noise Blanker ที่ภาค IF
ก. อาจจะได้ยินสียงก้อง
ข. สัญญาณเสียงที่ได้รับมีแถบความถี่แคบลง
ค. อาจได้รับการรบกวนจากสัญญาณข้างเคียง แม้สัญญาณนั้นจะเป็นไปตามมาตรฐานอยู่แล้ว
ง. จะไม่สามารถถอดสัญญาณ FM ได้
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 100/100

100
ข้อใดคือข้อด้อยในการรับสัญญาณ CW เมื่อใช้ Automatic DSP Notch Filter บางชนิด
ก. วงจรกรองสัญญาณแบบ DSP จะลบทั้งสัญญาณรบกวนและสัญญาณที่ต้องการในเวลาเดียวกัน
ข. สัญญาณที่มีความถี่ข้างเคียงผ่านวงจรกรองแบบ DSP ไปปะปนกับสัญญาณที่ต้องการได้
ค. สัญญาณ CW ที่รับได้จะถูกผสมกับสัญญาณนาฬิกาของวงจรกรองแบบ
ง. การกระเพื่อมของที่ยอดของสัญญาณจะถูกวงจร DSP ลบออกไปทั้งหมดทำให้เกิดช่องว่างระหว่างตัวอักขระ CW
คำถามก่อนหน้า

คุณยังตอบคำถามไม่ครบ : 100 ข้อ จาก 100 ข้อ

(คลิกที่หมายเลขข้อที่ต้องการ เพื่อตอบคำถาม)