คำถามที่ 2/100
2
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) แบ่งภารกิจในด้านต่าง ๆ เป็น 4 ภาคส่วน กิจการวิทยุสมัครเล่นอยู่ภายใต้ภาคส่วนใด
ก. ภาคการสื่อสารวิทยุ (ITU-R, Radiocommunication Sector)
ข. ภาคการกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม (ITU-T, Telecommunication Standardization Sector)
ค. ภาคการพัฒนาโทรคมนาคม (ITU-D, Telecommunication Development Sector)
ง. ภาคการจัดงาน ไอทียู เทเลคอม (ITU Telecom)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 6/100
6
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คือ “เจ้าพนักงาน ผู้ออกใบอนุญาต” ซึ่งในปัจจุบันได้มอบอำนาจให้ผู้ใดบ้าง
ก. ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ข. เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ค. พนักงานของสำนักงาน กสทช. ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และข้อ ค.
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 7/100
7
พนักงานวิทยุสื่อสารของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ได้เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานวิทยุประจำสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะผู้ใช้ความถี่นี้จะต้องมีใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
ข. ไม่ได้ เพราะใช้รหัสคิวไม่เป็น
ค. ได้ เพราะเป็นพนักงานวิทยุมืออาชีพอยู่แล้ว
ง. ได้ เพราะเป็นการแลกเปลี่ยนกัน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 9/100
9
เมื่อใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นหมดอายุ หมายความว่าเราไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่นอีกต่อไป เราจะดำเนินการอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว
ก. ไม่ต้องทำอะไร เพราะการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นไม่ได้หมดอายุตามใบอนุญาต
ข. ไปยื่นขอใหม่เมื่อใดก็ได้
ค. ต้องสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรใหม่ก่อน
ง. ยื่นขอใบอนุญาตฉบับใหม่ก่อนใบอนุญาตฉบับเดิมหมดอายุ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 10/100
10
นางสาวไข่ต้มเปิดโรงงานผลิตสายอากาศและเครื่องขยายกำลังส่ง ดังนั้น นางสาวไข่ต้มต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ทำเครื่องวิทยุคมนาคมหรือไม่
ก. ไม่ต้อง เพราะไม่ได้เป็นเครื่องวิทยุคมนาคมตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
ข. ไม่ต้อง เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้ประกอบเข้าหรือใช้กับเครื่องวิทยุคมนาคม
ค. ต้อง เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ถือว่าเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
ง. ไม่มีข้อใดถูก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 11/100
11
กิจการวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ เนื่องจาก
ก. พนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้มีฐานะดี สามารถลงทุนซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือราคาแพง
ข. พนักงานวิทยุสมัครเล่นมีโอกาสศึกษาทดลอง วิจัย และสร้างอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นความถี่ที่กำหนดไว้สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่น
ค. พนักงานวิทยุสมัครเล่นอยู่ใกล้ชิด กสทช. ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ด้านโทรคมนาคม
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 12/100
12
ผู้ที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น สามารถใช้คลื่นความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นได้ในกรณีใด
ก. ทดลองออกอากาศเพื่อฝึกฝนตนเองโดยใช้สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่าย และต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ข. ทดลองออกอากาศเพื่อฝึกฝนตนเองโดยใช้สถานีวิทยุสมัครเล่นขององค์กรวิทยุสมัครเล่น (Club station) และต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ค. ทดลองออกอากาศเพื่อฝึกฝนตนเองโดยใช้สถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ (Special event station) และต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 13/100
13
ผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น หากประสงค์จะทำหน้าที่เป็นพนักงานวิทยุคมนาคมประจำสถานีวิทยุสมัครเล่น จะต้องยื่นขอรับใบอนุญาตประเภทใด
ก. ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
ข. ใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
ค. ใบอนุญาตพนักงานวิทยุคมนาคม
ง. ใบอนุญาตให้มีเครื่องวิทยุคมนาคม
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 16/100
16
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 กำหนดให้ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม มีอายุตลอดอายุของเครื่องวิทยุคมนาคม หมายถึง
ก. เมื่อเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับใบอนุญาตเกิดชำรุดเสียหายใช้งานไม่ได้ ก็สามารถซื้อเครื่องใหม่มาทดแทนได้เลยโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตอีก
ข. เมื่อเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับใบอนุญาตเกิดสูญหาย ก็สามารถซื้อเครื่องใหม่มาทดแทนได้เลยโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตอีก
ค. เมื่อเครื่องวิทยุคมนาคมที่ได้รับใบอนุญาตเกิดชำรุดเสียหายใช้งานไม่ได้อายุของใบอนุญาตจะสิ้นสุดลง
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 18/100
18
“การรบกวนอย่างรุนแรง” หมายถึง
ก. การรบกวนที่เป็นอันตรายต่อการทำงานของสถานีวิทยุคมนาคมที่จัดให้เป็นกิจการหลัก
ข. การรบกวนที่ทำให้เกิดผลเสียอย่างรุนแรงหรือขัดขวางต่อการดำเนินกิจการของสถานีวิทยุคมนาคมที่จัดให้เป็นกิจการหลักตามข้อบังคับวิทยุ
ค. การขัดขวางหรือขัดจังหวะเป็นช่วง ๆ ต่อการดำเนินกิจการของสถานีวิทยุคมนาคมที่จัดให้เป็นกิจการหลักตามข้อบังคับวิทยุ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 20/100
20
การ “ลักลอบนำเข้าวิทยุสื่อสารจากต่างประเทศ (ไม่ผ่านพิธีการศุลกากร)” มีความผิด มากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากับการซื้อเครื่องที่นำเข้าอย่างถูกต้องโดยไม่ขอใบอนุญาตมีและใช้
ก. มากกว่า คือ ให้พ้นจากการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นไม่เกินหนึ่งปี
ข. น้อยกว่า คือ ให้พ้นจากการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นไม่เกินหกเดือน
ค. เท่ากัน คือ ให้พ้นจากการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นไม่เกินหนึ่งปี
ง. เท่ากัน คือ ให้พ้นจากการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นไม่เกินหกเดือน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 21/100
21
การตั้งใจส่งสัญญาณเพื่อไปขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นสามารถใช้คลื่นความถี่ได้ ถือว่าเป็นการจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการสื่อสารของสถานีวิทยุสมัครเล่นอื่น นอกจากมีความผิดตาม พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 แล้ว จะถูกดำเนินการอย่างไรตามหลักเกณฑ์การพิจารณาโทษพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก. ตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร
ข. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราวเป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
ค. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราวเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
ง. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราวเป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 23/100
23
หากเกิดเหตุอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดตรังและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เฝ้าฟังคลื่นความถี่กลางเพื่อรับข่าวสารจากกิจการวิทยุสมัครเล่น ถ้าเราต้องการทราบสถานที่ในการนำสิ่งของไปบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย เราควรทำอย่างไร
ก. เรียกที่ความถี่กลาง 145.000 MHz และสอบถามกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ข. เรียกที่ความถี่กลาง 145.000 MHz และสอบถามไปที่สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายประจำจังหวัดจังหวัดตรัง (HS9AT)
ค. เรียกที่ความถี่กลาง 145.000 MHz และสอบถามใครก็ได้ที่ตอบรับ
ง. เรียกที่ความถี่สถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ และสอบถามใครก็ได้ที่ตอบรับ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 26/100
26
ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง เกี่ยวกับการใช้ประมวลรหัสคิว (Q Code) และคำย่อต่าง ๆ ในการสื่อสารย่านความถี่ VHF ลักษณะการใช้งานประเภทเสียง
ก. มีความจำเป็นต้องใช้น้อยมาก เพราะย่านความถี่นี้สามารถสื่อสารได้ชัดเจนอยู่แล้ว
ข. มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่เข้าใจผิด
ค. มีความจำเป็นต้องใช้และมีความสำคัญมากจึงต้องนำมาออกสอบ
ง. มีความจำเป็นต้องใช้เพราะเป็นข้อบังคับของ ITU
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 29/100
29
QRX หมายความว่า “ให้รอก่อนและจะติดต่ออีกครั้งภายในเวลาที่กำหนด” ดังนั้น การใช้รหัส QRX จึงต้องตามด้วยข้อมูลในข้อใด
ก. เวลาหรือระยะเวลา เพราะเป็นการนัดเวลา
ข. สถานที่ เพื่อให้ทราบว่าจะหันสายอากาศไปทางไหน
ค. ความถี่ เพื่อให้รู้ว่าจะพบกันที่ความถี่ใด
ง. ชื่อพนักงานวิทยุที่ต้องการติดต่อด้วย
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 30/100
30
ถ้าได้รับรายงานสัญญาณว่า 29 หมายความว่าอย่างไร
ก. น่าจะมีความผิดปกติในภาคส่ง เพราะความแรงสัญญาณต่ำ
ข. ภาครับของคู่สถานีผิดปกติ
ค. น่าจะมีความผิดปกติในภาคผสมสัญญาณ เพราะความแรงสัญญาณมากแต่เสียงไม่ชัด
ง. คุณภาพสถานีดีมาก เพราะเสียงชัดเจนแม้ความแรงสัญญาณไม่มาก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 31/100
31
ถ้าได้รับรายงานสัญญาณว่า 44 หมายความว่าอย่างไร
ก. รับข้อความได้ค่อนข้างชัด โดยมิเตอร์วัดความแรงสัญญาณขึ้นเกือบเต็มสเกล
ข. รับข้อความได้ค่อนข้างชัด โดยมิเตอร์วัดความแรงสัญญาณขึ้นไม่ถึงครึ่ง
ค. รับข้อความได้ค่อนข้างอ่อน โดยมิเตอร์วัดความแรงสัญญาณขึ้นเกือบเต็มสเกล
ง. รับข้อความได้ค่อนข้างอ่อน โดยมิเตอร์วัดความแรงสัญญาณขึ้นไม่ถึงครึ่ง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 33/100
33
สัญญาณเรียกขาน G4UAV ออกเสียงตาม ITU Phonetic Alphabet อย่างไร
ก. กอล์ฟ-โฟร์-ยูนิฟอร์ม-อัลฟา-วิกเต้
ข. กอล์ฟ-โฟร์-ยูนิคอร์น-อัลฟา-วิกตี้
ค. กอล์ฟ-โฟร์-ยูนิฟอร์ม-อัลฟา-วิกต้า
ง. กอล์ฟ-โฟร์-ยูนิคอร์น-อัลฟา-วิกโต้
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 38/100
38
นายไข่พะโล้เชิญผู้ที่เบรกเข้ามาขณะที่กำลัง QSO กับนางสาวไข่ดาว ผู้เบรกตอบว่า “ขอบคุณครับ ขอคอนแทคครับ” แต่ไม่มีใครตอบ เพราะเหตุใด
ก. ไม่ต้อนรับคนใหม่ ๆ เข้าสู่วงสนทนา
ข. ไม่รู้ว่าผู้เบรกต้องการคอนแทคใคร
ค. สอนให้รู้ว่าการเบรกเข้ามาเป็นการเสียมารยาท
ง. ผู้เบรกไม่บอกสัญญาณเรียกขาน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 41/100
41
เพราะเหตุใดจึงไม่ควรแจ้งเบาะแสการทำผิดกฎหมายผ่านวิทยุสมัครเล่น
ก. เพราะการใช้วิทยุสื่อสารทำให้ข่าวช้า
ข. เพราะการส่งข่าวทางวิทยุไม่สามารถเก็บเป็นความลับ จึงเป็นอันตรายต่อผู้แจ้ง
ค. เพราะวิทยุสื่อสารติดต่อได้ในระยะใกล้ ๆ เท่านั้น
ง. เพราะความถี่วิทยุสมัครเล่นถูกดักฟัง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 42/100
42
ระหว่างการ QSO มีผู้ขอความช่วยเหลืออย่างกะทันหัน แต่ในห้องวิทยุไม่มีกระดาษโน้ต เราควรทำอย่างไร
ก. พยายามจำได้เท่าไหร่เท่านั้น
ข. จดใน Logbook อย่างละเอียด
ค. บอกสถานีอื่นที่ฟังอยู่ให้ช่วยจด
ง. บอกให้รอและวิ่งออกไปหากระดาษปากกา
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 44/100
44
สถานีวิทยุสมัครเล่นประเภทใดที่ไม่ต้องจัดทำสมุดบันทึกการติดต่อสื่อสาร (Logbook) เก็บไว้เพื่อให้ สำนักงาน กสทช. ตรวจสอบ
ก. สถานีวิทยุคมนาคมประเภทประจำที่
ข. สถานีวิทยุคมนาคมประเภทเคลื่อนที่
ค. สถานีวิทยุคมนาคมควบคุมข่าย
ง. สถานีวิทยุคมนาคมสำหรับกิจกรรมพิเศษ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 58/100
58
ภาคไอเอฟแอมปลิไฟเออร์ (IF Amplifier) ของเครื่องรับวิทยุแบบซูเปอร์เฮเทอโรดายน์(Superheterodyne) ทำหน้าที่
ก. ขยายสัญญาณความถี่ปานกลางให้แรงขึ้นก่อนส่งไปยังภาคมอดูเลเตอร์ (Modulator)
ข. ขยายสัญญาณความถี่ปานกลางให้แรงขึ้นก่อนส่งไปยังภาคดีเทคเตอร์ (Detector)
ค. ขยายสัญญาณความถี่เสียงให้แรงขึ้นก่อนส่งออกลำโพง
ง. ขยายสัญญาณความถี่ปานกลางให้แรงขึ้นก่อนส่งไปยังภาคเอเอฟแอมปลิไฟเออร์ (AF Amplifier)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 60/100
60
ภาคที่ทำหน้าที่ผสมสัญญาณความถี่เสียงเข้ากับสัญญาณความถี่คลื่นพาห์ (Carrier) ในเครื่องส่งวิทยุ คือ
ก. ภาคมอดูเลเตอร์ (Modulator)
ข. ภาคดิสคริมิเนเตอร์ (Discriminator)
ค. ภาคคอนเวอร์เตอร์ (Convertor)
ง. ภาคดีเทคเตอร์ (Detector)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 62/100
62
คลื่นวิทยุที่แผ่กระจายจากสายอากาศที่ตั้งฉากกับพื้นโลกเป็น
ก. เวอร์ติคัลโพลาไรเซชัน (Vertical Polarization)
ข. ฮอริซอนทอลโพลาไรเซชัน (Horizontal Polarization)
ค. ครอส โพลาไรเซชัน (Cross Polarization)
ง. เซอร์กูลาร์โพลาไรเซชัน (Circular Polarization)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 63/100
63
สายอากาศแบบรอบตัว (Omnidirectional Antenna) มีลักษณะการแพร่กระจายคลื่นอย่างไร
ก. แพร่กระจายคลื่นออกไปได้ทุกทิศทางรอบตัวสายอากาศในรัศมี 10 กิโลเมตร
ข. แพร่กระจายคลื่นออกไปได้ทุกทิศทางรอบตัวสายอากาศในรัศมี 50 กิโลเมตร
ค. แพร่กระจายคลื่นออกไปได้ใกล้เคียงกันทุกทิศทางในแนวขนานกับพื้นโลก
ง. แพร่กระจายคลื่นออกไปได้ใกล้เคียงกันทุกทิศทางในแนวตั้งฉากกับพื้นโลก
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 64/100
64
การแมตชิ่ง (Matching) ที่ดีของสายอากาศ สายนำสัญญาณและเครื่องรับ-ส่งวิทยุ จะทำให้
ก. กำลังคลื่นวิทยุที่ส่งออกไปจากสายอากาศมีค่าสูง กำลังคลื่นที่วิทยุสะท้อนกลับมายังเครื่องส่ง มีค่าต่ำ
ข. กำลังคลื่นวิทยุที่ส่งออกไปจากสายอากาศมีค่าต่ำ กำลังคลื่นที่วิทยุสะท้อนกลับมายังเครื่องส่ง มีค่าสูง
ค. กำลังคลื่นวิทยุที่ส่งออกไปจากสายอากาศมีค่าสูง กำลังคลื่นที่วิทยุสะท้อนกลับมายังเครื่องส่ง มีค่าสูง
ง. กำลังคลื่นวิทยุที่ส่งออกไปจากสายอากาศมีค่าต่ำ กำลังคลื่นที่วิทยุสะท้อนกลับมายังเครื่องส่ง มีค่าต่ำ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 69/100
69
การที่กำลังส่งย้อนกลับมาสู่เครื่องรับ-ส่งวิทยุ มีสาเหตุมาจาก
ก. การใช้สายอากาศในย่านความถี่ที่ไม่ตรงกับความถี่ของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ข. การปรับสายอากาศไม่ตรงทิศทางในการรับ-ส่ง
ค. การใช้แบตเตอรี่ผิดพลาด
ง. การเคลื่อนที่หรือย้ายเครื่องรับ-ส่งวิทยุเป็นประจำ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 70/100
70
เมื่อตรวจพบว่าเกิดการหลวมคลอนที่ขั้วต่อสายอากาศของเครื่องรับ-ส่งวิทยุแบบมือถือ ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. หยุดการใช้งาน และแก้ไขขั้วต่อสายอากาศให้เรียบร้อย
ข. ใช้งานต่อไปโดยไม่ต้องทำอะไร
ค. ดัดแปลงเครื่องให้เป็นแบบติดตั้งประจำที่
ง. ไม่มีคำตอบข้อใดถูกต้อง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 72/100
72
เครื่องมือที่แสดงค่าการแพร่แปลกปลอม (Spurious Emission) และการแพร่ฮาร์มอนิก (Harmonic Emission) คือ
ก. เครื่องวิเคราะห์สเปคตรัม (Spectrum Analyzer)
ข. มิเตอร์วัดกําลังสัญญาณวิทยุ (RF Power Meter)
ค. ออสซิลโลสโคป (Oscilloscope)
ง. เอสดับบลิวอาร์มิเตอร์ (SWR Meter)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 73/100
73
คำว่า กําลังสัญญาณวิทยุ (RF Power Output) ของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ หมายถึงค่าอะไร
ก. กำลังความเข้มของคลื่นความถี่
ข. กำลังการกินกระแสไฟฟ้าของเครื่องไฟฟ้า
ค. กำลังส่งของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ง. กำลังสูญเสียของเครื่องใช้ไฟฟ้า
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 74/100
74
ถ้านำมิเตอร์วัดกําลังสัญญาณวิทยุ (RF Power Meter) มาต่อระหว่างเครื่องรับ-ส่งวิทยุกับดัมมีโหลด (Dummy Load) จะวัดได้ค่า
ก. กําลังสัญญาณวิทยุ (RF Power Output Meter) ของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ข. ความถี่ (Frequency) ของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ค. กำลังสัญญาณเสียง (AF Power Output Meter) ของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ง. ความถี่กลาง (IF) ของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 83/100
83
เหตุใดจึงต้องกำจัดคลื่นฮาร์มอนิก (Harmonic) และคลื่นแปลกปลอม (Spurious)
ก. เนื่องจากเป็นคลื่นที่ทำให้เกิดการสูญเสียในสายนำสัญญาณ
ข. เนื่องจากเป็นคลื่นที่เป็นอันตรายต่อระบบอากาศ
ค. เนื่องจากเป็นคลื่นที่อาจแพร่ออกไปรบกวนสถานีอื่น
ง. เนื่องจากเป็นคลื่นที่เป็นอันตรายต่อบุคคลผู้ใช้งาน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 84/100
84
การชีลด์ (Shield) คืออะไร
ก. การใช้แผ่นโลหะแยกอาณาบริเวณออกเป็น 2 ส่วน เพื่อควบคุมการแพร่กระจายสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก
ข. การต่อสายกราวด์ (Ground)
ค. การใช้แผ่นโลหะป้องกันฮาร์มอนิก (Harmonic)
ง. การทำให้การแพร่กระจายคลื่นวิทยุไม่ได้ไกลกว่าเดิม
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 91/100
91
บุคคลใดต่อไปนี้ ปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก. หญิงใหญ่ ใช้ถ้อยคำสุภาพในการออกอากาศทุกครั้ง
ข. ชายใหญ่ รับ-ส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง
ค. ชายกลาง ติดต่อสื่อสารกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาตเป็นประจำ
ง. หญิงเล็ก ใช้ช่องความถี่สำหรับโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับร้านคาราโอเกะของตนเอง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 92/100
92
ข้อใดไม่ใช่คุณธรรมและจริยธรรมของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก. ไม่เก็บรักษาข้อมูลความลับที่ไม่ควรเปิดเผย
ข. รู้รักสามัคคีและเป็นมิตรกับพนักงานวิทยุสมัครเล่นทุกคน
ค. มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานวิทยุสมัครเล่น
ง. ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 94/100
94
ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่นตามคำกล่าวของนายพอล เอ็ม ซีกัล (Pual M. Segal) นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน สัญญาณเรียกขาน W9EEA
ก. นักวิทยุสมัครเล่นต้องคำนึงถึงผู้อื่น โดยไม่ตั้งใจใช้ความถี่ไปลดทอนความพึงพอใจของสถานีอื่น
ข. นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้ที่มีความจริงใจ ให้การส่งเสริมและช่วยเหลือเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่น
ค. นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้รักความก้าวหน้า ติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ และปรับปรุงสถานีวิทยุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานทันที
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 95/100
95
ข้อใดคือคุณสมบัติที่ดีของนักวิทยุสมัครเล่นตามคำกล่าวของนายพอล เอ็ม ซีกัล (Pual M. Segal) นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน สัญญาณเรียกขาน W9EEA
ก. นักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ที่มีอัธยาศัย ความเป็นมิตร ให้ความร่วมมือ และคำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่นเสมอเพื่อความเป็นนักวิทยุสมัครเล่นที่ดีต่อกัน
ข. นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้ที่มีความจริงใจ ให้การส่งเสริมและช่วยเหลือเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่น
ค. นักวิทยุสมัครเล่นต้องเป็นผู้รักความก้าวหน้า ติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ และปรับปรุงสถานีวิทยุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานทันที
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 96/100
96
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้อง
ก. นายเป้ ใช้ถ้อยคำหยาบคายหรือเป็นการดูหมิ่นในการติดต่อสื่อสารอยู่เป็นประจำ
ข. นายปังปอนด์ แนะนำให้นายปิ่นไปซื้อเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
ค. นางสาวมิ้นต์ ใฝ่หาความรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองและทำหน้าที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ง. นางสาวไฉไล เป็นนักวิทยุสมัครเล่นได้ดัดแปลงเครื่องวิทยุคมนาคมกิจการวิทยุสมัครเล่นเพื่อให้สามารถใช้ความถี่ของมูลนิธิสาธารณกุศลต่าง ๆ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 97/100
97
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้อง
ก. ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีวิทยุคมนาคมกระทำผิดกฎหมายวิทยุคมนาคม
ข. ไม่รับจ้างวานเพื่อรับส่งข่าวสารไปยังบุคคลที่สาม
ค. รับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมาย
ง. ติดต่อกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาต
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 98/100
98
ข้อใดต่อไปนี้ เป็นการกระทำที่ถูกต้องภายหลังจากทราบว่าการปฏิบัติตนในการออกอากาศของเราไม่ถูกต้อง
ก. สอบถามข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้และฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ
ข. ค้นหาข้อมูลเองไม่ต้องสอบถามใคร เพราะกลัวคนอื่นจะรู้ว่าเป็นมือใหม่
ค. หยุดออกอากาศระยะหนึ่ง เพื่อให้คนอื่น ๆ ลืมการปฏิบัติของตนที่ผ่านมา
ง. เปลี่ยนจากการออกอากาศเป็นการฟังอย่างเดียว
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 100/100
100
คำตอบในข้อใดเหมาะสมกับคำว่า “นักวิทยุสมัครเล่นที่ดี”
ก. เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นมานาน 20 ปีแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งสัญญาณเรียกขานเพราะทุกคนจำเสียงได้
ข. คิดค้นและประดิษฐ์สายอากาศเป็นประจำเพื่อนำมาเสนอขายให้เพื่อนสมาชิกในการออกอากาศ
ค. ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักวิทยุสมัครเล่นคนอื่น ๆ ในการออกอากาศ และคอยแนะนำการใช้คลื่นความถี่ให้กับผู้ที่สนใจ
ง. ให้คำปรึกษากับเพื่อนสมาชิกในเรื่องการติดต่อสื่อสารในโหมดต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ แต่ตนเองลืมไปดำเนินการขอรับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นฉบับใหม่ ภายหลังจากฉบับเดิมหมดอายุ
คำถามก่อนหน้า