NBTC ONE STOP SERVICE

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นสูง

120:00 นาที

คำถามที่ 1/100

1
ข้อใดคือกำลังส่งสูงสุดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานในย่าน 2200 เมตร (136 kHz) สำหรับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
ก. 1 วัตต์ (E.I.R.P.)
ข. 100 วัตต์
ค. 200 วัตต์
ง. 1000 วัตต์
คำถามต่อไป

คำถามที่ 2/100

2
ถ้าช่วงความถี่ใดในกิจการวิทยุสมัครเล่นถูกกำหนดให้เป็นกิจการรอง ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงการใช้งาน ที่เหมาะสมของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก. พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ แต่ต้องไม่รบกวนกับสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลัก
ข. พนักงานวิทยุสมัครเล่นไม่สามารถใช้ได้ เพราะจะไปรบกวนกับสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลัก
ค. พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ โดยไม่ต้องสนใจสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลัก
ง. หากได้รับการรบกวนจากสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลัก พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับการรบกวนได้
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 3/100

3
พนักงานวิทยุสมัครเล่นต้องทำอย่างไร เมื่อได้รับการติดต่อจากสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดเป็นกิจการหลักว่าถูกรบกวนโดยสัญญาณของพนักงานวิทยุสมัครเล่นนั้น
ก. เพิกเฉย ไม่สนใจ การแจ้งจากสถานีดังกล่าว
ข. สอบถามรายละเอียดการรบกวน แล้วใช้งานความถี่ต่อได้ตามปกติ
ค. สอบถามรายละเอียดการรบกวน ข้อมูลติดต่อประสานงานเพิ่มเติม และหยุดการใช้งานในทันที
ง. ลดกำลังส่งให้ต่ำลง แล้วใช้งานต่อไปได้ตามปกติ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 4/100

4
ข้อใดคือคำจำกัดความของคำว่า โทรมาตร (Telemetry)
ก. การส่งสัญญาณแบบทางเดียวที่มีข้อมูลจากเครื่องมือวัดค่าที่อยู่ในสถานีส่ง
ข. การส่งสัญญาณแบบสองทางด้วยวิทยุโทรศัพท์ที่อยู่ไกลเกินกว่า 500 เมตร
ค. การส่งสัญญาณข้อมูลแบบสองทางด้วยช่องความถี่เดียว
ง. การส่งสัญญาณแบบทางเดียวที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ปลายทาง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 5/100

5
ในกรณีที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นเคยถูกลงโทษกรณีนำเข้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาแล้ว ต่อมาได้กระทำผิดกรณีทำซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก จะถูกพิจารณาโทษ
ก. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
ข. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
ค. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี
ง. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการถาวร และถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 แล้วแต่กรณี
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 6/100

6
ในกรณีที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นเคยถูกลงโทษกรณีใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาแล้ว ต่อมาได้กระทำผิดกรณีใช้ช่องสัญญาณในลักษณะยึดถือครอบครองเฉพาะกลุ่มบุคคลอีก จะถูกพิจารณาโทษ
ก. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
ข. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
ค. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี
ง. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการถาวร และถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 แล้วแต่กรณี
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 7/100

7
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นสามารถใช้งานความถี่ 28 MHz ได้หรือไม่
ก. ได้ โดยซื้อเครื่องวิทยุที่มีความถี่ 28 MHz มาใช้ได้ทันที
ข. ไม่ได้ เพราะพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานความถี่ย่าน HF
ค. ได้ โดยใช้ที่สถานี Club station หรือใช้งานโดยมีผู้ดูแลที่เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางหรือขั้นสูง
ง. ไม่ได้ เพราะต้องมีการทดสอบความรู้เพิ่มเติม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 8/100

8
ข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศปัจจุบัน กำหนดให้สัญญาณเรียกขานของสถานีในกิจการวิทยุสมัครเล่นปกติเป็นแบบใด
ก. ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 2 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ข. ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 3 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ค. ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 4 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ง. ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 5 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 9/100

9
ข้อใดต่อไปนี้อธิบายความหมายของ The International Amateur Radio Permit (IARP) ได้ถูกต้องที่สุด
ก. กลุ่มประเทศยุโรปที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ข. กลุ่มประเทศยุโรปที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศสามารถใช้งานได้โดยต้องขออนุญาต เป็นการเฉพาะ
ค. กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากประเทศในกลุ่ม สามารถ ใช้งานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ง. กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศสามารถใช้งานได้โดยต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 10/100

10
กรณีที่เครื่องวิทยุรับส่ง (Transceiver) มีกำลังส่งต่ำกว่า 1000 W พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง สามารถใช้เครื่องขยายกำลังส่งภายนอก (External RF Power Amplifier) ได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ ต้องใช้กำลังส่งตามคุณสมบัติเครื่องเท่านั้น
ข. ได้ แต่ต้องใช้ออกอากาศเฉพาะใน Club Station เท่านั้น
ค. ไม่ได้ทุกกรณี
ง. ใช้ได้เฉพาะเครื่องขยายกำลังส่งภายนอกที่ผ่านการตรวจสอบลักษณะทางวิชาการตามที่ กสทช. กำหนด
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 11/100

11
เหตุใดจึงต้องใช้กำลังส่งต่ำในการส่งสัญญาณไปยังดาวเทียมที่ใช้ Linear Transponder
ก. ป้องกันไม่ให้รบกวนระบบโทรมาตร (Telemetry) ของดาวเทียม
ข. ป้องกันไม่ให้ลดทอนสัญญาณ Downlink ของผู้ใช้งานคนอื่น ๆ
ค. ป้องกันไม่ให้ดาวเทียมส่งสัญญาณอื่น ๆ นอกความถี่ที่ใช้งาน
ง. ป้องกันไม่ให้รบกวนการติดต่อภาคพื้นดิน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 12/100

12
ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของคำว่า L Band และ S Band ในการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น
ก. ความถี่ย่าน 23 เซนติเมตร และ ความถี่ย่าน 13 เซนติเมตร
ข. ความถี่ย่าน 2 เมตร และ ความถี่ย่าน 70 เซนติเมตร
ค. FM และระบบดิจิทัลแบบบันทึกแล้วส่งต่อ (Digital Store And Forward)
ง. บอกด้านของ Sideband ที่ใช้งาน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 13/100

13
ข้อใดต่อไปนี้คือสาเหตุของการที่สัญญาณจากดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นอาจจางหายไปอย่างรวดเร็วเป็นบางครั้ง
ก. เนื่องจากดาวเทียมมีการหมุนตัว
ข. เนื่องจากการดูดกลืนคลื่นในชั้นบรรยากาศ Ionosphere
ค. เนื่องจากเป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ
ง. เนื่องจาก Doppler Effect ซึ่งความถี่ของคลื่นจะเปลี่ยนแปลงเมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 14/100

14
สายอากาศที่สามารถลดผลกระทบของ Spin Modulator และ Faraday Rotation คือสายอากาศชนิดใด
ก. สายอากาศชนิด Linearly Polarization
ข. สายอากาศชนิด Circularly Polarization
ค. สายอากาศชนิด Isotropic
ง. สายอากาศชนิด Log-Periodic Dipole Array
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 15/100

15
การระบุตำแหน่งของดาวเทียมสามารถทำโดยวิธีใด
ก. โดยการใช้ข้อมูล Doppler ของดาวเทียม
ข. การลบตำแหน่งของดาวเทียมบนวงโคจร (Mean Anomaly) กับมุมระหว่างระนาบวงโคจรของดาวเทียมกับระนาบของเส้นศูนย์สูตร (Orbital Inclination)
ค. การบวกตำแหน่งของดาวเทียมบนวงโคจร (Mean Anomaly) กับมุมระหว่างระนาบวงโคจรของดาวเทียมกับระนาบของเส้นศูนย์สูตร (Orbital Inclination)
ง. การคำนวณโดยใช้ Keplerian Elements ของดาวเทียม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 16/100

16
ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง ดาวเทียมค้างฟ้า
ก. HEO
ข. Geostationary
ค. Geomagnetic
ง. LEO
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 17/100

17
Blanking ของสัญญาณภาพ หมายถึง
ก. การ Synchronization แนวนอนและแนวตั้งของ Sync Pulses
ข. หยุดลำอิเล็กตรอนไม่ให้สแกนกลับจากขวาไปซ้ายหรือจากล่างขึ้นบน
ค. ปิดการ Scan ลำแสง หยุดลำอิเล็กตรอนเมื่อการส่งสัญญาณสิ้นสุดลง
ง. เป็นการส่งภาพทดสอบแบบขาวดำ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 18/100

18
ข้อใดต่อไปนี้คือองค์ประกอบของสัญญาณภาพ ส่วนที่นำพาข้อมูลด้านสี
ก. Luminance
ข. Chroma
ค. Hue
ง. Spectral Intensity
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 19/100

19
ในการถอดรหัสสัญญาณ SSTV แบบดิจิทัลด้วยมาตรฐาน Digital Radio Mondiale (DRM) นอกจากเครื่องรับวิทยุระบบ SSB และคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมแล้วสถานีของเรายังต้องการอุปกรณ์อะไรเพิ่มเติม
ก. IF converter
ข. อุปกรณ์แปลงข้อมูลภาพเป็นรหัส ASCII
ค. วงจร Notch Filter เพื่อกำจัดสัญญาณ Synchronization Pulses
ง. ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 20/100

20
การส่งภาพสีผ่านระบบ SSTV ของวิทยุสมัครเล่นโดยปกติ ในหนึ่งภาพจะมีกี่เส้น
ก. 30 ถึง 60 เส้น
ข. 60 ถึง 100 เส้น
ค. 128 ถึง 256 เส้น
ง. 180 ถึง 360 เส้น
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 21/100

21
ในการส่งสัญญาณ SSTV ของวิทยุสมัครเล่นจะใช้อะไรเป็นตัวกำหนดความสว่างของภาพ
ก. Tone Frequency
ข. Tone Amplitude
ค. Sync Amplitude
ง. Sync Frequency
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 22/100

22
Bandwidth โดยประมาณของสัญญาณ Slow Scan TV คือ
ก. 600 Hz
ข. 3 kHz
ค. 2 MHz
ง. 6 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 23/100

23
Cabrillo Format คือ
ก. มาตรฐานของการจัดการข้อมูลของ Electronic Log ในรายการแข่งขัน
ข. การแลกเปลี่ยนข้อมูลในขณะแข่งขัน
ค. กฎระเบียบทั่วไปของรายการแข่งขัน
ง. ข้อกำหนดของผู้สนับสนุนการแข่งขัน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 24/100

24
ข้อใดคือความหมายของคำว่า Baud
ก. จำนวนที่ถูกส่งต่อวินาทีของสัญลักษณ์ข้อมูล (Data Symbol)
ข. จำนวนที่ถูกส่งต่อวินาทีของตัวอักษร
ค. จำนวนที่ถูกส่งต่อนาทีของตัวอักษร
ง. จำนวนที่ถูกส่งต่อวินาทีของคำ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 25/100

25
การสื่อสารสะท้อนผิวดวงจันทร์ (EME) โหมดดิจิทัล (Digital) ใช้รูปแบบใดจึงมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ก. FSK441
ข. PACTOR III
ค. Olivia
ง. JT65
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 26/100

26
วัตถุประสงค์ของการบันทึกแล้วส่งต่อข้อมูลดิจิทัล (Digital Store And Forward) บนดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นคืออะไร
ก. Upload ระบบปฏิบัติการของ Transponder
ข. ถ่ายทอดระบบโทรมาตรของดาวเทียม
ค. จัดเก็บข้อความในรูปแบบดิจิทัลบนดาวเทียม เพื่อให้สถานีอื่น ๆ Download ตามต้องการ
ง. ถ่ายทอดข้อความระหว่างดาวเทียม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 27/100

27
ความถี่ใช้งาน APRS ในย่าน 2 เมตร คือความถี่ใด
ก. 144.39 MHz
ข. 144.20 MHz
ค. 145.02 MHz
ง. 146.52 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 28/100

28
การสื่อสารดิจิทัลในรูปแบบใดสามารถส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วที่สุด ในสถานการณ์ที่สัญญาณสื่อสารชัดเจน
ก. AMTOR
ข. 170-Hz Shift, 45 Baud RTTY
ค. PSK31
ง. 300-Baud Packet
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 29/100

29
สถานี APRS มีส่วนร่วมกับกิจกรรมบริการสาธารณะได้อย่างไร
ก. สถานี APRS มีผู้ชำนาญทางการแพทย์ฉุกเฉินซึ่งสามารถส่งข้อมูลต่อไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียงได้
ข. สถานี APRS สามารถตรวจสอบและส่งข้อมูลและเวลาเมื่อเดินทางผ่านจุดที่กำหนด
ค. สถานี APRS มีอุปกรณ์ GPS จึงสามารถส่งข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งของสถานีเคลื่อนที่ได้อัตโนมัติ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 30/100

30
การติดต่อสื่อสารแบบ JT65 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์(EME) ได้อย่างไร
ก. สามารถถอดสัญญาณในระดับที่ต่ำกว่า Noise Floor มากโดยใช้เทคนิค FEC
ข. สามารถควบคุมภาครับของเครื่องวิทยุให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของความถี่จากปรากฏการณ์ Doppler ได้
ค. สามารถควบคุมสายอากาศในการติดตามการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ได้
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 31/100

31
นิยมใช้การผสมคลื่นแบบใดในการส่งข้อมูล (Data) ด้วยวิทยุสื่อสารในความถี่ที่ต่ำกว่า 30 MHz
ก. DTMF Tone ด้วยการผสมคลื่นแบบ FM
ข. FSK
ค. Pulse Modulation
ง. Spread-Spectrum
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 32/100

32
Forward Error Correction ทำงานอย่างไร
ก. สถานีภาครับทำการทวนข้อมูลทีละชุด ชุดละ 3 ตัวอักษร
ข. โดยการส่งวิธีการคำนวณพิเศษไปให้สถานีภาครับ พร้อมกับข้อมูลตัวอักษร
ค. โดยการส่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด
ง. โดยการเปลี่ยนความถี่ของการส่งสัญญาณตามกระบวนการที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 33/100

33
ARQ ช่วยแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดได้อย่างไร
ก. Binary Codes พิเศษช่วยแก้ไขข้อมูลอัตโนมัติ
ข. Polynomial Codes พิเศษช่วยแก้ไขข้อมูลอัตโนมัติ
ค. หากตรวจพบความผิดพลาด จะมีการใช้ข้อมูลสำรองแทน
ง. หากตรวจพบความผิดพลาด จะมีการร้องขอให้ส่งข้อมูลซ้ำ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 34/100

34
การสื่อสารแบบดิจิทัล (Digital) รูปแบบใดใช้ Bandwidth แคบที่สุด
ก. MFSK16
ข. 170-Hz shift, 45 Baud RTTY
ค. PSK31
ง. 300-Baud Packet
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 35/100

35
ข้อแตกต่างระหว่าง Direct FSK และ Audio FSK คือ
ก. Direct FSK ประยุกต์ใช้สัญญาณข้อมูลในภาคส่ง VFO
ข. Audio FSK มีการตอบสนองความถี่ที่ดีกว่า
ค. Direct FSK ใช้การเชื่อมต่อข้อมูลคู่ DC
ง. Audio FSK สามารถส่งได้ทุกช่วง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 36/100

36
ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง Resonance ในทางวงจรไฟฟ้า
ก. ความถี่สูงสุดที่สามารถผ่านกระแสได้
ข. ความถี่ต่ำสุดที่สามารถผ่านกระแสได้
ค. ความถี่ซึ่งค่า Capacitive Reactance มีค่าเท่ากับ Inductive Reactance
ง. ความถี่ซึ่งค่า Reactive Impedance มีค่าเท่ากับ Resistive Impedance
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 37/100

37
ที่ความถี่ Resonance ของวงจร RLC แบบอนุกรม ระดับกระแสที่ไหลผ่านวงจรจะเป็นอย่างไร
ก. มีค่าต่ำสุด
ข. มีค่าสูงสุด
ค. R/L
ง. L/R
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 38/100

38
ข้อใดต่อไปนี้คือค่า Half Power Bandwidth ของวงจร Resonance แบบขนานซึ่งมีความถี่ Resonance 1.8 MHz และ มีค่าคิว (Q) เท่ากับ 95
ก. 18.9 kHz
ข. 1.89 kHz
ค. 94.5 kHz
ง. 9.45 kHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 39/100

39
จะต้องใช้เวลานานเท่าใดในการ Discharge ให้แรงดันเบื้องต้นลดลงจาก 800 VDC เป็น 294 VDC ผ่านตัวเก็บประจุขนาด 450 μF ที่มีตัวต้านทานขนาด 1 MΩ ต่อคร่อมอยู่
ก. 4.5 วินาที
ข. 9 วินาที
ค. 450 วินาที
ง. 900 วินาที
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 40/100

40
ข้อใดต่อไปนี้คือมุมระหว่างเฟสของแรงดันตกคร่อมและกระแสผ่านวงจร RLC อนุกรม ถ้า XC= 25 Ω , R= 100 Ω และ XL= 50 Ω
ก. 14 องศา และ แรงดันตามหลังกระแส
ข. 14 องศา และ แรงดันนำหน้ากระแส
ค. 76 องศา และ แรงดันตามหลังกระแส
ง. 76 องศา และ แรงดันนำหน้ากระแส
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 41/100

41
Polar Coordinate ข้อใดต่อไปนี้คือ Impedance ของวงจรที่ประกอบด้วย XC= 300 Ω ต่ออนุกรมอยู่กับ XL= 600 Ω และ R= 400 Ω
ก. 500 Ω ที่มุม 37 องศา
ข. 900 Ω ที่มุม 53 องศา
ค. 400 Ω ที่มุม 0 องศา
ง. 1300 Ω ที่มุม 180 องศา
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 42/100

42
ระบบพิกัดแบบใดที่มักนิยมใช้ในการแสดงค่า R, XC และ/หรือ XL ของอิมพีแดนซ์
ก. Maidenhead Grid
ข. Faraday Grid
ค. Elliptical Coordinate
ง. Rectangular Coordinate
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 43/100

43
Polar Coordinate ข้อใดต่อไปนี้คือ Impedance ของวงจรอนุกรมที่ประกอบด้วย R = 4 Ω, XL = 4 Ω และ XC = 1 Ω
ก. 6.4 Ω ที่มุม 53 องศา
ข. 5 Ω ที่มุม 37 องศา
ค. 5 Ω ที่มุม 45 องศา
ง. 10 Ω ที่มุม -51 องศา
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 44/100

44
จุดใดในรูป A5-2 ที่สามารถแสดงค่า Impedance ได้ใกล้เคียงที่สุดของวงจรอนุกรมที่ประกอบด้วย ตัวต้านทาน 400 Ω และตัวเก็บประจุค่า 38 pF ที่ความถี่ 14 MHz
ก. จุดที่ 2
ข. จุดที่ 4
ค. จุดที่ 5
ง. จุดที่ 6
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 45/100

45
พลังงานลักษณะใดที่เก็บอยู่ในรูปของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือสนามไฟฟ้าสถิตย์
ก. พลังงานจักรกลไฟฟ้า
ข. พลังงานศักย์
ค. พลังงานอุณหพลศาสตร์ (Thermodynamic)
ง. พลังงานจลน์
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 46/100

46
ข้อใดต่อไปนี้คือตัวประกอบกำลังไฟฟ้าของวงจร RL ที่มีมุมเฟส 45 องศาระหว่างแรงดันกับกระแส
ก. 0.866
ข. 1.0
ค. 0.5
ง. 0.707
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 47/100

47
จะมีกำลังสูญเสียเป็นจำนวนกี่วัตต์ในวงจรที่มีตัวประกอบกำลังค่า 0.6 มีแรงดันป้อนที่ 200 VAC และกระแสไหล 5 A
ก. 200 W
ข. 1000 W
ค. 1600 W
ง. 600 W
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 48/100

48
ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของ CMOS
ก. Common Mode Oscillating System
ข. Complementary Mica-Oxide Silicon
ค. Complementary Metal-Oxide Semiconductor
ง. Common Mode Organic Silicon
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 49/100

49
Field-Effect Transistor ประกอบด้วยขาอะไรบ้าง
ก. Gate 1, Gate 2, Drain
ข. Emitter, Base, Collector
ค. Emitter, Base 1, Base 2
ง. Gate, Drain, Source
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 50/100

50
ข้อใดเป็นวงจร Bi-stable
ก. “AND” Gate
ข. "OR" Gate
ค. Flip-Flop
ง. Clock
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 51/100

51
อุปกรณ์ใดที่สามารถหาร Pulse Train ให้เหลือครึ่งหนึ่ง
ก. “XOR” Gate
ข. Flip-Flop
ค. “OR” Gate
ง. วงจร Multiplexer
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 52/100

52
วงจรใดที่สามารถเปลี่ยนสถานะ 2 สถานะ โดยที่ไม่ใช้ Clock จากข้างนอกมากระตุ้น
ก. Monostable Multivibrator
ข. J-K Flip-Flop
ค. T Flip-Flop
ง. Astable Multivibrator
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 53/100

53
ข้อใดเป็นคุณลักษณะของวงจร Monostable Multivibrator
ก. เมื่อมีการทริก (Trigger) วงจรจะสลับการทำงานไปยังสภาวะตรงข้ามในช่วงเวลาหนึ่งและกลับมาอยู่ในสภาวะเดิมอีกครั้งตามเวลาที่กำหนดไว้
ข. วงจรจะผลิต Square Wave สถานะ 0 และ 1 อย่างต่อเนื่อง ตามเวลาที่กำหนดไว้
ค. จะเก็บข้อมูลเอาไว้ 1 บิต อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างสถานะ 0 หรือ 1
ง. จะรักษาระดับแรงดัน Output เอาไว้ให้คงที่ถึงแม้แรงดัน Input จะเปลี่ยนแปลงก็ตาม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 54/100

54
ข้อใดต่อไปนี้เป็นสายอากาศซึ่งไม่มีอัตราขยาย (Gain) ในทุก ๆ ทิศทาง
ก. สายอากาศแนวตั้งแบบ Quarter Wave
ข. สายอากาศ Yagi - Uda
ค. สายอากาศ Half Wave Dipole
ง. สายอากาศ Isotropic
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 55/100

55
เหตุใดจึงมีความจำเป็นต้องทราบ Impedance ที่จุดป้อนสัญญาณ (Feed Point) ของสายอากาศ
ก. เพื่อปรับ Impedance ให้เหมาะสมและมี SWR ในสายนำสัญญาณน้อยที่สุด
ข. เพื่อวัดความความเข้มข้นของการแพร่กระจายคลื่นในระยะไกล้ (Near-Field) ของสายอากาศ
ค. เพื่อคำนวณอัตราส่วน Front-To-Side ของสายอากาศ
ง. เพื่อคำนวณอัตราส่วน Front-To-Back ของสายอากาศ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 56/100

56
ปัจจัยใดต่อไปนี้อาจส่งผลกระทบต่อค่า Impedance บริเวณจุดป้อนสัญญาณ (Feed Point) ของสายอากาศ
ก. ความยาวของสายนำสัญญาณ
ข. ความสูงของสายอากาศ, อัตราส่วนระหว่างความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของตัวนำที่ใช้ทำสายอากาศ รวมทั้งลักษณะพื้นที่ติดตั้งและวัตถุตัวนำที่อยู่ใกล้เคียงกับสายอากาศ
ค. อิมพีแดนซ์ของสายอากาศมีค่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
ง. Sunspot Activity และช่วงเวลาของวัน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 57/100

57
ข้อใดต่อไปนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด Ground Losses สำหรับการติดตั้งสายอากาศบนพื้นดินในความถี่ 3-30 MHz ที่แพร่กระจายคลื่นแนวตั้ง
ก. ค่า Standing Wave Ratio
ข. ระยะห่างจากเครื่องส่ง
ค. ค่าความนำไฟฟ้าของดิน
ง. มุม Take Off ของสายอากาศ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 58/100

58
ถ้าสายอากาศต้นหนึ่งมีอัตราขยาย เท่ากับ 12 dB เมื่อเทียบกับสายอากาศ Half Wave Dipole แต่ถ้านำมาเทียบกับสายอากาศ Isotropic สายอากาศต้นนี้จะมีอัตราขยายเท่าไร
ก. 6.17 dB
ข. 9.85 dB
ค. 12.5 dB
ง. 14.15 dB
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 59/100

59
รูปแบบของข้อมูลชนิดใดที่นำเสนอโดยให้รายละเอียดของสายอากาศซึ่งถูกออกแบบโดยโปรแกรมสร้างสายอากาศ
ก. SWR กับ Frequency Chart
ข. การพล็อต Elevation and Azimuth Pattern
ค. อัตราขยายของสายอากาศ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 60/100

60
จากรูปแบบการกระจายคลื่นในภาพ A9-2 ข้อใดต่อไปนี้คือมุมยกของการแพร่กระจายคลื่นที่สายอากาศตอบสนองได้ดีที่สุด
ก. 45 องศา
ข. 75 องศา
ค. 7.5 องศา
ง. 25 องศา
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 61/100

61
จากรูปแบบการกระจายคลื่นในภาพ A9-2 ข้อใดต่อไปนี้คือ Front To Back Ratio
ก. 15 dB
ข. 28 dB
ค. 3 dB
ง. 24 dB
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 62/100

62
จุดติดตั้ง High-Q Loading Coil ของสายอากาศรอบตัวแบบสั้น ควรติดบริเวณใดเพื่อให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด ในการลดความยาวของสายอากาศที่กระจายคลื่นในแนวตั้ง ควรใส่ Loading Coil ไว้ที่จุดใดจึงทำให้สายอากาศมีประสิทธิภาพดีที่สุดและมีความสูญเสียน้อยที่สุด
ก. ช่วงกลางของส่วนแพร่กระจายคลื่น
ข. ช่วงต่ำที่สุดของส่วนแพร่กระจายคลื่น
ค. ใกล้เครื่องส่งที่สุดเท่าที่จะทำได้
ง. ตรงจุดของส่วนแพร่กระจายคลื่นที่แรงดันไฟฟ้าเป็นศูนย์
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 63/100

63
ข้อดีของการใช้ Top Loading ในการทำให้สายอากาศ HF สั้นลงคือ
ก. มีค่า Q ต่ำลง
ข. โครงสร้างแข็งแรงขึ้น
ค. มีความสูญเสียมากขึ้น
ง. เพิ่มประสิทธิภาพการแพร่กระจายคลื่น
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 64/100

64
ข้อใดต่อไปนี้เป็นการแมตช์สายนำสัญญาณกับสายอากาศ VHF หรือ UHF ในกรณีที่ไม่ทราบ Impedance ของสายอากาศทั้งสองชนิด
ก. ต่อ BALUN 1:1 50 Ohm ระหว่างสายอากาศและสายนำสัญญาณ
ข. ใช้เทคนิค Universal Stub Matching
ค. ต่อ Resonant LC Network อนุกรมที่จุดป้อนสัญญาณ (Feed) ของสายอากาศ
ง. ต่อ Resonant LC Network ขนานที่จุดสัญญาณ (Feed) ของสายอากาศ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 65/100

65
อะไรเป็นตัวกำหนด Velocity Factor ของสายนำสัญญาณ
ก. Impedance ของสายนำสัญญาณ
ข. ความยาวของสายนำสัญญาณ
ค. วัสดุที่ใช้ทำฉนวนของสายนำสัญญาณ
ง. ความต้านทานของอินเนอร์ในสายนำสัญญาณ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 66/100

66
ข้อใดต่อไปนี้คือชื่อที่ใช้เรียกอัตราส่วนความเร็วจริงของสัญญาณที่เดินทางในสายนำสัญญาณต่อความเร็วของแสงที่เดินทางในสุญญากาศ
ก. Velocity Factor
ข. Characteristic Impedance
ค. Surge Impedance
ง. Standing Wave Ratio
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 67/100

67
Smith Chart ใช้ระบบ Coordinate แบบใด
ก. Voltage Circles และ Current Arcs
ข. Resistance Circles และ Reactance Arcs
ค. Voltage Lines และ Current Chords
ง. Resistance Lines และ Reactance Chords
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 68/100

68
เส้นโค้งใน Smith Chart แสดงอะไร
ก. ความถี่
ข. SWR
ค. จุดคงที่ของ Resistance
ง. จุดคงที่ของ Reactance
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 69/100

69
การแพร่กระจายคลื่นโดยใช้สายอากาศ Dipole ของสถานีทวนสัญญาณด้วยกำลังส่ง 200 W สายนำสัญญาณสูญเสีย 4 dB, Duplexer สูญเสีย 3.2 dB, Circulator สูญเสีย 0.8 dB, และสายอากาศมีกำลังขยาย 10 dBd จะมีกำลังการแพร่กระจายคลื่นเท่าใด
ก. 317 W
ข. 2000 W
ค. 126 W
ง. 300 W
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 70/100

70
ข้อดีของการใช้สายอากาศแบบ Shield Loop ในการค้นหาทิศคือ
ก. สามารถตัดสัญญาณรบกวนจากระบบจุดระเบิดของรถยนต์ได้โดยอัตโนมัติ
ข. มีความสมดุลของสนามไฟฟ้าสถิตกับระบบกราวด์ซึ่งทำให้บอดสัญญาณยิ่งขึ้น
ค. ลดปัญหาในการระบุตำแหน่งผิดพลาดที่เกิดจากสัญญาณรบกวนนอกย่าน
ง. ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีการระบุตำแหน่ง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 71/100

71
ช่วงความถี่ใดที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ ในความถี่วิทยุย่าน 2 เมตร
ก. 144.000 - 144.150 MHz
ข. 144.100 - 144.300 MHz
ค. 144.150 - 144.200 MHz
ง. 145.000 - 145.100 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 72/100

72
เมื่อสะเก็ดดาวตกกระทบกับชั้นบรรยากาศของโลก จะเกิดบริเวณรูปทรงกระบอกของอิเล็กตรอนอิสระ ที่บรรยากาศชั้นไหน
ก. ชั้น E
ข. ชั้น F1
ค. ชั้น F2
ง. ชั้น D
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 73/100

73
ความถี่ของวิทยุสมัครเล่นย่านใดที่เกิดการแพร่กระจายคลื่นแบบ Long Path บ่อยที่สุด
ก. 80 เมตร
ข. 20 เมตร
ค. 10 เมตร
ง. 6 เมตร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 74/100

74
แสงขั้วโลก (Aurora) เกิดจากอะไร
ก. การสะท้อนของลมสุริยะ
ข. การที่จุดในดวงอาทิตย์ลดลง
ค. เกิดการแพร่กระจายของอนุภาคจากดวงอาทิตย์ที่มีประจุไฟฟ้า
ง. เกิดฝนดาวตกเฉพาะบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 75/100

75
ชั้นบรรยากาศใดที่เกิดปรากฏการณ์แสงขั้วโลก (Aurora)
ก. ชั้นบรรยากาศ F1
ข. ชั้นบรรยากาศ F2
ค. ชั้นบรรยากาศ D
ง. ชั้นบรรยากาศ E
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 76/100

76
ข้อใดคือการแพร่กระจายคลื่นแบบ Ground Wave ที่ดีที่สุด
ก. แนวตั้ง (Vertical)
ข. แนวนอน (Horizontal)
ค. แนววนเป็นเกลียว (Circular)
ง. แนวรี (Elliptical)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 77/100

77
ข้อใดต่อไปนี้คือวิธีที่ถูกต้องที่สุดในการวัดแรงดัน RMS ของรูปคลื่นที่ซับซ้อน
ก. โดยใช้ Grid DIP Meter
ข. โดยการวัดแรงดันไฟฟ้าด้วยเครื่องวัดแบบดาร์สันวาล์ (D'Arsonval Meter)
ค. โดยการใช้มิเตอร์วัดการดูดซึมคลื่น (Wavemeter Absorption)
ง. โดยการวัดผลที่เกิดขึ้นจากความร้อนในตัวต้านทานที่ทราบค่า
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 78/100

78
คาบเวลาของคลื่นหมายถึงข้อใด
ก. เวลาที่ใช้ในการเดินทางครบหนึ่งรอบ
ข. จำนวนองศาในหนึ่งรอบ
ค. จำนวนที่ผ่านศูนย์ในหนึ่งรอบ
ง. ความสูงของคลื่น
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 79/100

79
อะไรคือรูปแบบคลื่นข้อมูล Digital หากดูด้วย Oscilloscope แบบปกติ
ก. ชุดของ Sine Wave ที่มีช่องว่างเป็นระยะเท่ากัน
ข. ชุดของ Pulse ที่มีรูปแบบแตกต่างกัน
ค. จอแสดงผลการทำงานของตัวอักษรและตัวเลข
ง. ไม่สามารถเห็นสัญญาณด้วย Oscilloscope แบบปกติ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 80/100

80
ข้อใดคือคำอธิบายของ Frequency Division Multiplexing
ก. การนำส่งสัญญาณข้ามจากย่านความถี่หนึ่งไปยังอีกย่านความถี่ในอัตรากำหนดไว้
ข. การรวมกระแสข้อมูลสองตัวขึ้นไปไว้กับสัญญาณพื้นฐาน (Baseband) แล้วจึงผสมเข้ากับสัญญาณของเครื่องส่ง
ค. สัญญาณที่ส่งออกจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มข้อมูล (Packet)
ง. กระแสข้อมูลสองตัวขึ้นไปถูกผสานรวมกันในเครื่องรวมสัญญาณ Digital ซึ่งใช้ตำแหน่ง Pulse มาผสมสัญญาณของเครื่องส่ง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 81/100

81
การส่งข้อมูล ASCII ความถี่เยื้อง 170 Hz ความเร็ว 300 Baud ต้องการแถบความถี่กว้างเท่าใด
ก. 0.1 Hz
ข. 0.3 kHz
ค. 0.5 kHz
ง. 1.0 kHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 82/100

82
ข้อใดต่อไปนี้คือข้อดีของการส่ง Parity Bit รวมกับการส่งข้อมูลเป็นอักขระ ASCII
ก. ทำให้มีอัตราการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น
ข. สัญญาณข้อมูลสามารถเอาชนะสัญญาณรบกวน
ค. สามารถส่งตัวอักษรของภาษาต่างประเทศได้
ง. สามารถตรวจพบข้อผิดพลาดบางชนิดได้
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 83/100

83
จะต้องป้อนตัวแปรของแรงดันไฟฟ้าค่าใดเพื่อประเมินความสามารถในการจัดการสัญญาณของเครื่องขยายกำลังส่ง Class A
ก. แรงดันไฟฟ้าสูงสุด
ข. แรงดัน RMS
ค. พลังงานเฉลี่ย
ง. แรงดันไฟฟ้าขณะพักใช้ (Resting Voltage)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 84/100

84
ถ้า Voltmeter วัดแรงดันไฟฟ้าแบบ RMS ของสัญญาณ Sine Wave ได้ 65 V จะมีแรงดันไฟฟ้าแบบ Peak-To-Peak เท่าใด
ก. 46 V
ข. 92 V
ค. 130 V
ง. 184 V
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 85/100

85
ข้อใดคือประโยชน์ของการใช้ Peak-Reading Wattmeter เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์ของเครื่องส่งสัญญาณเสียงแบบ SSB
ก. ง่ายต่อการตรวจสอบและปรับแต่งวงจรภาคส่งกำลังให้ถูกต้อง
ข. ทำให้การแสดงผลกำลังส่ง PEP ถูกต้องมากขึ้นเมื่อมีการผสมสัญญาณเกิดขึ้น
ค. ทำให้มันง่ายต่อการตรวจสอบค่า SWR สูงในสายนำสัญญาณ
ง. สามารถบอกได้ ถ้าหากมี Flat-Topping เกิดขึ้นในระหว่างการผสมสัญญาณสูงสุด
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 86/100

86
ข้อใดต่อไปนี้คือความแตกต่างระหว่างการแผ่กัมมันตภาพรังสีโดยสารกัมมันตรังสี และการแพร่กระจายพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยสายอากาศ
ก. ไม่มีนัยสำคัญระหว่างการแผ่รังสีและการแพร่กระจายคลื่น
ข. การแผ่กัมมันตภาพรังสีโดยสารกัมมันตรังสีเท่านั้นที่สามารถทำให้มนุษย์ได้รับบาดเจ็บ
ค. สารกัมมันตรังสีทำให้เกิดการแตกตัวของโมเลกุลกับอะตอม ในขณะที่การแพร่กระจายของสัญญาณความถี่วิทยุทำไม่ได้เพราะมีพลังไม่พอ
ง. การแพร่กระจายโดยสายอากาศสามารถทำให้ฟิล์มที่ยังไม่ได้ใช้งานเสียหายได้ แต่สารกัมมันตรังสีไม่สามารถทำให้เกิดความเสียหาย
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 87/100

87
เมื่อใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินจะทราบได้อย่างไรว่ามี Carbon Monoxide (CO) ถึงระดับที่อาจเกิดอันตราย
ก. เมื่อตรวจพบโดยกลิ่น
ข. เมื่อตรวจพบโดยเครื่องตรวจจับเท่านั้น
ค. เมื่อตรวจพบโดยเครื่องตรวจควันทั่วไป
ง. ตามลักษณะสีของก๊าซที่พบ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 88/100

88
ข้อใดต่อไปนี้คือวัสดุมีพิษที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวเก็บประจุแรงดันสูง (High-Voltage Capacitors) และหม้อแปลง
ก. Polychlorinated biphenyls
ข. Polyethylene
ค. Polytetrafluorethylene
ง. Polymorphic Silicon
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 89/100

89
เครื่องมือในข้อใดต่อไปนี้ที่ใช้แสดงผลของสัญญาณแปลกปลอม
ก. Spectrum Analyzer
ข. Wattmeter
ค. Logic Analyzer
ง. Time-Domain Reflectometer
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 90/100

90
เครื่องมือใดต่อไปนี้ใช้สำหรับวิเคราะห์รายละเอียดของสัญญาณดิจิทัล
ก. DIP meter
ข. Oscilloscope
ค. Ohmmeter
ง. Q meter
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 91/100

91
อะไรคือข้อได้เปรียบในการวัดค่าอิมพีแดนซ์ด้วยวงจร Bridge
ก. ทำให้เกิด Matching ได้ดีที่สุดในทุกสภาวะ
ข. ป้องกันแหล่งกำเนิดสัญญาณ
ค. เป็นวิธีวัดโดยใช้แรงดันเทียบศูนย์ (Signal Null) ซึ่งสามารถทำได้อย่างแม่นยำ
ง. สามารถแสดงผลโดยตรงในรูปแบบ Smith Chart
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 92/100

92
ถ้า Frequency Counter ที่มีความถูกต้องระบุ +/- 0.1 ppm อ่าน 146,520,000 Hz ความถี่ที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างไปจากค่าที่อ่านได้ โดยจะมีค่าที่แตกต่างเท่าใด
ก. 14.652 Hz
ข. 0.1 MHz
ค. 1.4652 Hz
ง. 1.4652 kHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 93/100

93
ถ้า Frequency Counter ที่มีความถูกต้องระบุ +/- 10 ppm อ่าน 146,520,000 Hz ความถี่ที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างไปจากค่าที่อ่านได้ โดยจะมีค่าที่แตกต่างเท่าใด
ก. 146.52 Hz
ข. 10 Hz
ค. 146.52 kHz
ง. 1465.2 Hz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 94/100

94
ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้อง ในการใช้ Probe กับ Oscilloscope
ก. สายกราวด์ของ Probe ต้องสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
ข. ไม่ใช้ Probe ที่มีค่าอิมพีแดนซ์สูงในการวัดวงจรที่มีค่าอิมพีแดนซ์ต่ำ
ค. ไม่ใช้ Probe กระแสตรงไปวัดวงจรกระแสสลับ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 95/100

95
เมื่อต้องการวัดค่าเรโซแนนซ์ของสายอากาศและค่าความต้านทางของจุดป้อนสัญญาณ เราจะต่อ Antenna Analyzer อย่างไร
ก. นำ Antenna Analyzer ไปไว้ใกล้ ๆ กับฐานสายอากาศ
ข. ต่อ Antenna Analyzer กับหม้อแปลงความต้านทานสูงและสายอากาศ
ค. ต่อดัมมี่โหลดและสายอากาศเข้า Antenna Analyzer
ง. ต่อสายนำสัญญาณจากสายอากาศแล้วนำมาต่อเข้า Antenna Analyzer
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 96/100

96
จะเกิดอะไรขึ้นหากวาง DIP Meter ไว้ใกล้เกินไปกับวงจรปรับแต่งแล้วที่ต้องการตรวจสอบ
ก. เกิดความถี่ฮาร์มอนิกส์
ข. ค่าที่อ่านได้ไม่แม่นยำ
ค. เกิด Cross Modulation
ง. เกิด Intermodulation Distortion
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 97/100

97
ทำอย่างไรจึงสามารถลดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการเหนี่ยวนำและแพร่กระจายคลื่นที่มีต้นเหตุจาก Automobile Alternator
ก. โดยการต่อคาปาซิเตอร์กรองความถี่อนุกรมในสายไฟเมน และคาปาซิเตอร์กันในสายจากฟิลด์
ข. โดยการต่อไฟ DC จากแบตเตอรี่โดยตรงโดยให้สายไฟยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ ต่อคาปาซิเตอร์กันในสายไฟทั้งสองเส้น
ค. โดย High-Pass Filter อนุกรมในสายไฟเมนและ Low-Pass Filter ขนานกับสายฟีลด์
ง. โดยการต่อไฟ DC จากแบตเตอรี่โดยตรง ใส่คาปาซิเตอร์แกนร่วมที่สายไฟจาก Automobile Alternator
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 98/100

98
จะทราบได้อย่างไรว่าสัญญาณรบกวนที่รับได้นั้นเกิดในบ้านของเราเอง
ก. ตรวจสอบแรงดันในสายไฟฟ้าด้วย Reflectometer
ข. สังเกตรูปคลื่นกระแสสลับด้วย Oscilloscope
ค. ปิด Circuit Breaker ของระบบไฟฟ้าหลักภายในบ้าน และฟังด้วยเครื่องวิทยุที่ใช้แบตเตอรี่
ง. สังเกตแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับด้วย Spectrum Analyzer
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 99/100

99
ข้อใดต่อไปนี้คือการรบกวนที่มักเกิดขึ้นจากการควบคุมแบบสัมผัส (Touch Controlled)
ก. มีสัญญาณรบกวนคล้ายเสียงฮัมในเครื่องรับแบบ AM ที่เกิดจากไฟฟ้ากระแสสลับ หรือเสียงฮัมที่เกิดจากการผสมสัญญาณขนาด 60 Hz แบบ FM ที่รับได้ด้วยเครื่องรับแบบ SSB หรือ CW
ข. มีสัญญาณรบกวนตลอดย่าน HF
ค. อาจมีสัญญาณรบกวนที่กว้างหลาย kHz เกิดขึ้นซ้ำกันเป็นช่วง ๆ ตลอดย่าน HF
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 100/100

100
ข้อใดคือข้อด้อยในการรับสัญญาณ CW เมื่อใช้ Automatic DSP Notch Filter บางชนิด
ก. วงจรกรองสัญญาณแบบ DSP จะลบทั้งสัญญาณรบกวนและสัญญาณที่ต้องการในเวลาเดียวกัน
ข. สัญญาณที่มีความถี่ข้างเคียงผ่านวงจรกรองแบบ DSP ไปปะปนกับสัญญาณที่ต้องการได้
ค. สัญญาณ CW ที่รับได้จะถูกผสมกับสัญญาณนาฬิกาของวงจรกรองแบบ
ง. การกระเพื่อมของที่ยอดของสัญญาณจะถูกวงจร DSP ลบออกไปทั้งหมดทำให้เกิดช่องว่างระหว่างตัวอักขระ CW
คำถามก่อนหน้า

คุณยังตอบคำถามไม่ครบ : 100 ข้อ จาก 100 ข้อ

(คลิกที่หมายเลขข้อที่ต้องการ เพื่อตอบคำถาม)