NBTC ONE STOP SERVICE

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

แบบฝึกหัดพนักงานวิทยุสมัครเล่น ขั้นกลาง

90:00 นาที

คำถามที่ 1/100

1
อักษรย่อที่แสดงประเภทการแพร่ (Type Of Emission) เช่น A3C อักษรตัวแรก หมายถึง
ก. การแพร่คลื่นวิทยุ
ข. ประเภทของข่าวสารที่ส่งออกไป
ค. วิธีการผสมคลื่นของคลื่นพาห์
ง. ลักษณะของสัญญาณที่เข้าไปผสมกับคลื่นพาห์
คำถามต่อไป

คำถามที่ 2/100

2
ความถี่ในข้อใดใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารประเภทด้วยโหมด CW
ก. 7 105 kHz 14 110 kHz 21 300 kHz 28 400 kHz
ข. 7 120 kHz 14 225 kHz 21 350 kHz 28 605 kHz
ค. 7 012 kHz 14 050 kHz 21 125 kHz 28 005 kHz
ง. 7 225 kHz 14 305 kHz 21 245 kHz 28 455 kHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 3/100

3
ย่านใดต่อไปนี้สามารถใช้การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง FM ได้
ก. 160 เมตร
ข. 20 เมตร
ค. 15 เมตร
ง. 10 เมตร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 4/100

4
ย่านใดต่อไปนี้ใช้การติดต่อสื่อสารประเภท CW ได้เท่านั้น
ก. 160 เมตร
ข. 20 เมตร
ค. 15 เมตร
ง. 10เมตร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 5/100

5
ย่านใดต่อไปนี้ที่บางส่วนถูกจัดสรรไว้สำหรับการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น
ก. 80 เมตร
ข. 20 เมตร
ค. 15 เมตร
ง. 10 เมตร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 6/100

6
ย่านใดต่อไปนี้ไม่ได้มีการจัดสรรไว้สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
ก. 160 เมตร
ข. 30 เมตร
ค. 20 เมตร
ง. 6 เมตร
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 7/100

7
ข้อใดต่อไปนี้คือ Low Band
ก. 6 / 2 / 1.25 Meter Band
ข. 10 / 15 / 20 / 40 Meter Band
ค. 12 / 17 / 30 Meter Band
ง. 80 / 160 Meter Band
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 8/100

8
ผู้ที่ได้รับอนุญาตใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่นย่าน HF กำลังส่ง 200 วัตต์ จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ก. ได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง หรือขั้นสูง
ข. ได้รับการเทียบประกาศนียบัตรเท่ากับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง หรือขั้นสูง
ค. หน่วยราชการที่รับผิดชอบเหตุฉุกเฉิน
ง. ผิดทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 9/100

9
ในการทำ DX นอกสถานที่ของพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง ข้อใดถูกต้อง
ก. ต้องขอใบอนุญาตตั้งสถานีจากเจ้าของพื้นที่
ข. ต้องขออนุญาตใช้สัญญาณเรียกขานพิเศษเท่านั้น
ค. ไม่ต้องขออนุญาตถ้าตั้งสถานีในรถยนต์ ที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมแล้ว
ง. ผิดทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 10/100

10
เมื่อพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สถานีของตนเองติดต่อกับผู้ที่อยู่ในประเทศที่ไม่มีกิจการวิทยุสมัครเล่น ใครจะต้องรับผิดชอบ และมีความผิดเรื่องใด
ก. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง เพราะยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีวิทยุคมนาคม
ข. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง เพราะติดต่อกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาต
ค. ผู้ที่ใช้งาน เพราะใช้สถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 11/100

11
สถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่จัดให้เป็นกิจการหลัก หมายถึง
ก. สถานีวิทยุคมนาคมที่ส่งสัญญาณตลอดเวลา เพื่อรักษาสิทธิของตนเอง
ข. สถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนอย่างรุนแรงจากสถานีที่จัดให้เป็นกิจการรอง
ค. สถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนอย่างรุนแรงจากสถานีที่จัดให้เป็นกิจการรอง
ง. สถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับสิทธิใช้ความถี่ใด ๆ ก็ได้
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 12/100

12
หน่วยงานใดที่ให้การสนับสนุนกิจการวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก ดูแลและประสานกิจการวิทยุสมัครเล่นของประเทศสมาชิก เป็นผู้สังเกตการณ์ตลอดจนเข้าร่วมประชุมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศเพื่อให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
ก. Radio Amateur Society Of Thailand under the Patronage of His Majesty the King
ข. The Telecommunications Association of Thailand under the Royal Patronage
ค. International Amateur Radio Union
ง. United Nations
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 13/100

13
The Radio Regulations Board หมายถึง
ก. คณะกรรมการจดทะเบียนความถี่วิทยุระหว่างประเทศ
ข. สำนักงานบริหารความถี่วิทยุ
ค. สำนักงานวิทยุคมนาคม
ง. คณะกรรมการข้อบังคับวิทยุ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 14/100

14
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้แบ่งโลกออกเป็นกี่ภูมิภาค
ก. 2 ภูมิภาค
ข. 3 ภูมิภาค
ค. 4 ภูมิภาค
ง. 5 ภูมิภาค
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 15/100

15
ตามข้อกำหนดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคใด
ก. ภูมิภาคที่ 1
ข. ภูมิภาคที่ 2
ค. ภูมิภาคที่ 3
ง. ภูมิภาคที่ 4
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 16/100

16
ประเทศใดต่อไปนี้ ไม่อยู่ในภูมิภาคเดียวกับประเทศไทย ตามข้อกำหนดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)
ก. ประเทศอินโดนีเซีย
ข. ประเทศอังกฤษ
ค. ประเทศญี่ปุ่น
ง. ประเทศนิวซีแลนด์
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 17/100

17
กิจการวิทยุสมัครเล่น มีการแบ่งโซน (Zone) อย่างไร
ก. ITU Zone, CQ Zone
ข. CQ Zone, Grid Zone
ค. Grid Zone, ITU Zone
ง. Grid Zone, Continent Zone
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 18/100

18
ข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศส่วนที่เกี่ยวกับการใช้วิทยุคมนาคมติดต่อระหว่างประเทศของพนักงานวิทยุสมัครเล่นในนามของบุคคลที่สาม (เช่นรับฝากหรือรับจ้างส่งข่าวสารของบุคคลในประเทศหนึ่งไปยังบุคคลในอีกประเทศหนึ่ง) ได้ระบุไว้ว่า
ก. ห้ามมิให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นใช้วิทยุคมนาคมติดต่อระหว่างประเทศในนามของบุคคลที่สาม ยกเว้นจะมีการตกลงกันไว้เป็นพิเศษระหว่างหน่วยงานผู้แทนรัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ
ข. ห้ามมิให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นใช้วิทยุคมนาคมติดต่อระหว่างประเทศในนามของบุคคลที่สามได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ๆ ก็ตาม
ค. อนุโลมให้พนักงานวิทยุสมัครเล่นใช้สถานีวิทยุคมนาคมสมัครเล่นในการรับ-ส่งข่าวสารระหว่างประเทศเกี่ยวกับธุรกิจการเงิน การค้าได้ หากมีการตกลงกันไว้เป็นพิเศษระหว่างหน่วยงานรัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 19/100

19
เมื่อได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือ สถานีวิทยุสมัครเล่นที่รับได้จะต้อง
ก. หยุดการติดต่อสื่อสารทั้งหมดเพื่อให้สามารถรับสัญญาณได้ชัดเจน
ข. หยุดการสื่อสาร และให้สถานีที่รับได้ชัดเจนที่สุดทำหน้าที่ประสานงาน
ค. ในระหว่างสถานีอื่นประสานงานอยู่ ให้เฝ้าฟังและพร้อมให้ความช่วยเหลือถ้าจำเป็น
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 20/100

20
ควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือจากผู้ที่ไม่ได้เป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่น หรือประเทศที่ไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น
ก. ไม่ตอบรับ เนื่องจากขัดกับระเบียบว่าด้วยการติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่สาม
ข. ช่วยเหลือได้เนื่องจากกฎหมายทุกข้อจะยกเว้นให้กับการให้ความช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน
ค. แจ้ง กสทช. ก่อนจึงจะช่วยเหลือได้
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 21/100

21
ความถี่ Emergency Centre of Activity Frequency (CoA) มีความหมายว่าอย่างไร
ก. ความถี่ที่ถูกกำหนดโดย IARU ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อใช้ในการรับส่ง digital mode
ข. ความถี่ที่ถูกกำหนดโดย IARU ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างประเทศในกรณีฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ
ค. ความถี่ที่ถูกกำหนดโดย IARU ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อใช้ในการแข่งขัน
ง. ความถี่ที่ถูกกำหนดโดย IARU ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อใช้ในการทดสอบสายอากาศ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 22/100

22
เมื่อ Emergency Coordinator ของ IARU ขอความร่วมมือในการงดใช้ความถี่บางช่วง เราควรปฏิบัติอย่างไร
ก. รับทราบและตรวจสอบไปยังสำนักงาน กสทช.
ข. ลองฟังความถี่นั้นดูก่อน ถ้าไม่มีผู้ใดใช้ ก็สามารถใช้ได้
ค. ให้ปฏิบัติตามประกาศวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
ง. ให้ปฏิบัติตามคำขอแม้จะไม่ได้ยินการใช้งานในความถี่นั้นก็ตาม
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 23/100

23
ความถี่ Emergency Centre of Activity Frequency (CoA) ย่าน 80 meter ของประเทศไทยคือข้อใด
ก. 3.510 MHz
ข. 3.550 MHz
ค. 3.560 MHz
ง. 3.600 MHz
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 24/100

24
ควรทำอย่างไรเมื่อความถี่ Emergency Centre of Activity Frequency (CoA) +/- 5kHz ถูกรบกวนอย่างหนัก
ก. เลื่อนความถี่ไปยัง CoA +/- 10 kHz
ข. เลื่อนไปยังความถี่ว่างที่อยู่ใกล้กับ CoA มากที่สุด
ค. เปลี่ยนเป็นโหมดดิจิทัล
ง. เปลี่ยนย่านความถี่
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 25/100

25
ความถี่ Emergency Centre of Activity Frequency (CoA) +/- 5 kHz ใช้กับโหมดการสื่อสารใด
ก. โหมดเสียงพูดเท่านั้น
ข. โหมดดิจิทัลเท่านั้น
ค. โหมดภาพเท่านั้น
ง. ใช้ได้ทุกโหมด
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 26/100

26
การใช้รหัส Q (Q Signal) ในประมวลรหัส Q (Q code) มีหลักอย่างไร
ก. ใช้แทนคำธรรมดา
ข. ใช้เมื่อจำเป็น
ค. ใช้เฉพาะการติดต่อแบบ CW
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 27/100

27
“QSL” หมายความว่า
ก. ส่งให้ช้าลง
ข. ได้รับบัตรยืนยันการติดต่อเรียบร้อยแล้ว
ค. ยืนยันว่ารับได้และเข้าใจข้อความจากสัญญาณที่ส่งมา
ง. เราได้ติดต่อกันมาก่อนแล้ว
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 28/100

28
การแจ้งให้คู่สถานีทราบว่ากำลังถูกรบกวนโดย "ประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ" ท่านจะใช้ Q Signal ใด
ก. QRM
ข. QRO
ค. QRK
ง. QRN
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 29/100

29
หากคู่สถานีของท่านส่งสัญญาณ QRQ มา หมายความว่าอย่างไร
ก. ต้องการให้ท่านเพิ่มกำลังส่งสูงสุด
ข. ต้องการให้ท่านเพิ่มความเร็วในการส่ง
ค. ต้องการให้ท่านเปลี่ยนความถี่ใช้งานสูงขึ้น
ง. ต้องการให้ท่านเพิ่ม Gain ของ Microphone ให้สูงขึ้น
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 30/100

30
QSX หมายถึงอะไร
ก. Split Frequency
ข. DX Cluster
ค. Self Spotting
ง. Portable Station
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 31/100

31
เมื่อพนักงานวิทยุส่งรหัสมอร์ส “CL” ลงท้ายการส่งสัญญาณ หมายความว่า
ก. ปล่อยให้ความถี่ว่าง
ข. กำลังใช้วิธี Full Break-in
ค. กำลังรับฟังเฉพาะสถานีที่ระบุไว้เท่านั้น
ง. เลิกใช้ความถี่
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 32/100

32
ความหมายของคำว่า “Handle” ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารประเภทเสียง คือ
ก. เครื่องวิทยุแบบมือถือ
ข. อุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งเครื่องวิทยุ
ค. ชื่อคู่สถานีที่กำลังติดต่อ
ง. ไมโครโฟนแบบมือถือ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 33/100

33
ความหมายของคำว่า “OP NEW NEW” ในการติดต่อสื่อสารแบบ CW คือข้อใด
ก. ผู้ที่กำลังออกอากาศชื่อนิว
ข. ผู้ที่ออกอากาศเพิ่งจะเริ่มออกอากาศ
ค. ผู้ที่ออกอากาศใช้สถานีแห่งใหม่ในการออกอากาศ
ง. ผู้ที่ออกอากาศใช้สัญญาณเรียกขานใหม่ในการออกอากาศ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 34/100

34
ความหมายของคำว่า “Big Gun” ในกิจการวิทยุสมัครเล่น คือ
ก. สถานีที่มีกำลังส่งแรง
ข. สถานีที่มีอาวุธร้ายแรง
ค. สถานีที่มีขนาดใหญ่
ง. สถานีที่มีสมาชิกมาร่วมออกอากาศจำนวนมาก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 35/100

35
ในการสื่อสารโหมด CW ถ้าต้องการเลิกการติดต่อจะต้องส่งคำย่อใด
ก. AR
ข. CL
ค. Over
ง. SK
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 36/100

36
ในการสื่อสารโหมด CW ข้อใดคือความหมายของคำย่อ ABT
ก. All Before
ข. All After
ค. About
ง. Again
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 37/100

37
ในการสื่อสารโหมด CW ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของคำย่อ “ES”
ก. Excellent
ข. But
ค. Enough
ง. And
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 38/100

38
การแข่งขันในการสื่อสารโหมด CW ย่านความถี่ HF หากสถานีที่ท่านติดต่อด้วยส่งข้อความ “NR ?” หมายความว่า
ก. ขอร้องให้ท่านปิดสถานีเนื่องจากเกิดการรบกวนอย่างรุนแรง
ข. ต้องการทราบสัญญาณเรียกขานของท่าน
ค. ต้องการทราบกำลังส่งที่ท่านกำลังออกอากาศ
ง. ต้องการทราบข้อมูลแลกเปลี่ยนสำหรับการแข่งขัน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 39/100

39
สถานีที่ส่งข้อความต่อท้ายสัญญาณเรียกด้วยคำว่า TEST ในการสื่อสารโหมด CW มีความหมายว่าอย่างไร
ก. เป็นสถานีชั่วคราวแบบ Portable Station
ข. เป็นสถานีที่ใช้กำลังส่งต่ำไม่เกิน 5 วัตต์
ค. เป็นสถานีที่กำลังทดลองออกอากาศ
ง. เป็นสถานีที่กำลังออกอากาศในรายการแข่งขัน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 40/100

40
ก่อนที่ท่านจะ CQ จะต้องฟังและส่งสัญญาณใดออกไปเป็นอันดับแรก ในการสื่อสารโหมด CW
ก. QRV ?
ข. QRL ?
ค. QRZ ?
ง. QRK ?
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 41/100

41
ความเร็วที่ดีที่สุดสำหรับการตอบ CQ ในรหัสมอร์ส คืออะไร
ก. เร็วที่สุดเท่าที่ท่านสามารถรับได้สะดวก
ข. ความเร็วเท่าที่สัญญาณ CQ ส่งมา
ค. ความเร็วต่ำจนกระทั่งสามารถติดต่อได้
ง. 5 wpm เพื่อให้ทุกสถานีรับได้
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 42/100

42
ความหมายของ “Zero Beat” ในการสื่อสารโหมด CW คือ
ก. ปรับความเร็วตามสถานีที่ส่งสัญญาณ
ข. ใช้การแยกความถี่ (Split) เพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาณรบกวน
ค. การส่งสัญญาณโดยไม่มีความผิดพลาด
ง. ปรับความถี่ส่งของท่านให้ตรงกับสัญญาณความถี่รับ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 43/100

43
RTTY คืออะไร
ก. การรับ - ส่งมอร์สโค้ดแบบ BOUDOT Code
ข. การรับ - ส่งมอร์สโค้ดแบบ Unit Code
ค. การรับ - ส่งมอร์สโค้ดแบบ Variable Length Code
ง. ไม่มีข้อใดถูก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 44/100

44
การติดต่อสื่อสารประเภทใด ไม่พบในย่านความถี่ 80 / 160 Meter Band
ก. Upper Side Band (USB)
ข. Lower Side Band (LSB)
ค. Continuous Wave (CW)
ง. Radioteletype (RTTY)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 45/100

45
ข้อความต่อไปนี้สถานีใดเป็นผู้ส่ง ผู้ส่งชื่ออะไร และอยู่ที่ไหน HS0AC DE HS5AC GE TKS FER CALL UR RST 579 579 OP BOB BOB QTH BANGKOK BANGKOK HW CPY ? HS0AC DE HS5AC K
ก. HS0AC เป็นผู้ส่ง, ชื่อ BOB, อยู่ที่ BANGKOK
ข. HS5AC เป็นผู้ส่ง, ชื่อ BOB, อยู่ที่ BANGKOK
ค. HS0AC เป็นผู้ส่ง, ชื่อ CPY, อยู่ที่ BANGKOK
ง. HS5AC เป็นผู้ส่ง, ชื่อ FER, อยู่ที่ BANGKOK
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 46/100

46
ตัวนำไฟฟ้า คือ
ก. สสารที่มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี
ข. สสารที่มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ยากมาก
ค. สสารที่มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้บางเวลา
ง. สสารที่มีคุณสมบัติไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 47/100

47
Resister 2 kΩ 100 Volt. มีค่ากำลังไฟฟ้าสูญเสียเท่าไร
ก. 0.5 W
ข. 1 W
ค. 5 W
ง. 10 W
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 48/100

48
จงหาคาบเวลา และความยาวคลื่นของความถี่ 1 MHz
ก. 10 μS, 30 Meter
ข. 1 μS., 300 Meter
ค. 100 μS., 300 Meter
ง. 100 μS., 30 Meter
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 49/100

49
ข้อใดต่อไปนี้คือการตอบสนองของตัวเก็บประจุต่อไฟฟ้ากระแสสลับ
ก. เมื่อความถี่สูงขึ้น ค่าความต้านทานของตัวเก็บประจุลดลง
ข. เมื่อแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น ค่าความต้านทานของตัวเก็บประจุสูงขึ้น
ค. เมื่อความถี่สูงขึ้น ค่าความต้านทานของตัวเก็บประจุสูงขึ้น
ง. เมื่อแรงดันไฟฟ้าลดลง ค่าความต้านทานของตัวเก็บประจุสูงขึ้น
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 50/100

50
กำลังไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 2 เท่า เมื่อคิดในหน่วยเดซิเบลมีค่าเท่ากับข้อใด
ก. 2 dB
ข. 3 dB
ค. 6 dB
ง. 12 dB
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 51/100

51
อุปกรณ์ในข้อใดสามารถนำสัญญาณสองสัญญาณให้เข้าไปในช่องสัญญาณเดียวกันได้
ก. Diplexer
ข. Duplexer
ค. Repeater
ง. Transformer
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 52/100

52
จากภาพต่อไปนี้ จงหาค่าความเหนี่ยวนำรวมของวงจร
ก. 1.25 mH
ข. 2.50 mH
ค. 10 mH
ง. 10.5 mH
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 53/100

53
ถ้าเราป้อนสัญญาณเสียงมากเกินไป (Over Modulation) จะมีผลเป็นเช่นไร
ก. เครื่องเสีย (พัง)
ข. ความถี่ชิฟต์
ค. แบนด์วิดธ์กว้าง
ง. เสียงบี้
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 54/100

54
วงจรใดต่อไปนี้ ที่ขาดไม่ได้ในเครื่องรับวิทยุทุกเครื่อง
ก. วงจร Audio Filter
ข. วงจร Beat Frequency Oscillator
ค. วงจร Detector
ง. วงจร RF Amplifier
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 55/100

55
ภาพต่อไปนี้แสดงวงจรเครื่องรับวิทยุชนิดใด
ก. เครื่องรับวิทยุชนิด SSB
ข. เครื่องรับวิทยุชนิด AM
ค. เครื่องรับวิทยุแร่ (Crystal)
ง. เครื่องรับวิทยุชนิด FM Stereo
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 56/100

56
ความยาวคลื่น 10-100 cm อยู่ในย่านความถี่ใด
ก. VHF
ข. UHF
ค. SHF
ง. HF
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 57/100

57
สายนำสัญญาณชนิด 10D-FB มีลักษณะอย่างไร
ก. อิมพีแดนซ์ 75 โอห์ม ไดอิเล็กตริกทำจาก PE ชีลด์ด้วยทองแดง + PVC
ข. อิมพีแดนซ์ 10 โอห์ม ไดอิเล็กตริกทำจากโฟม ชีลด์ด้วยทองแดงสองชั้น + PE
ค. อิมพีแดนซ์ 50 โอห์ม ไดอิเล็กตริกทำจากโฟม ชีลด์ด้วยอลูมิเนียม + PE
ง. อิมพีแดนซ์ 50 โอห์ม ไดอิเล็กตริกทำจากโฟม ชีลด์ด้วยทองแดงและอลูมิเนียม + PVC
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 58/100

58
ข้อใดคือค่า SWR ของสายนำสัญญาณ 50 โอห์ม เมื่อต่อกับสายอากาศที่มีความต้านทาน 200 โอห์ม
ก. 4:1
ข. 1:4
ค. 2:1
ง. 1:2
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 59/100

59
คลื่นที่เดินทางไปตามพื้นผิวโลก ได้แก่ข้อใด
ก. Direct Wave
ข. Surface Wave
ค. Sky Wave
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 60/100

60
คลื่นวิทยุกระจายเสียงระบบ FM ความถี่ 108 MHz จะมีลักษณะการแพร่คลื่นแบบใด
ก. Sky Wave
ข. Direct Wave
ค. Troposcatter
ง. Surface Wave
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 61/100

61
กรณี Sky Wave Propagation Communication ข้อใดคือค่า fo (Optimum Working Frequency) ของ Maximum Usable Frequency (MUF)
ก. 45% ของ MUF
ข. 85% ของ MUF
ค. 90% ของ MUF
ง. 95% ของ MUF
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 62/100

62
ชั้นบรรยากาศใด มีผลต่อการสะท้อนคลื่นกลับมายังพื้นโลกมากที่สุด
ก. ชั้น F1, F2, กลางวัน
ข. ชั้น F กลางคืน
ค. ชั้น F1, F2, กลางคืน
ง. ชั้น F กลางวัน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 63/100

63
บรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ชั้นใดที่แบ่งแยกเป็นสองชั้นในเวลากลางวันและรวมเป็นชั้นเดียวกันในตอนกลางคืน
ก. ชั้น D
ข. ชั้น E
ค. ชั้น F
ง. ชั้น G
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 64/100

64
ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ D Layer
ก. ความสูง 60-90 km
ข. หายไปตอนกลางคืน
ค. ลดทอน MF
ง. สะท้อน HF
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 65/100

65
ปรากฏการณ์ Sudden Ionospheric Disturbance หรือ SID มักเกิดขึ้นเป็นระยะเวลา
ก. เป็นวัน
ข. ตั้งแต่ 2-3 นาที จนถึง 2-3 ชั่วโมง
ค. 2-3 ชั่วโมง ถึง 2-3 วัน
ง. ประมาณ 1 สัปดาห์
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 66/100

66
ข้อใดเป็นจุดประสงค์ของการตั้งเสาอากาศ
ก. เพื่อให้ผู้อื่นทราบว่าเป็นสถานีวิทยุรับส่ง
ข. เพื่อชูสายอากาศของเราให้สูงเหนือสิ่งขีดขวาง
ค. เพื่อให้สายอากาศของเราสูงเด่นเป็นสง่า
ง. เพราะการใช้วิทยุรับส่งต้องให้สายอากาศอยู่สูงที่สุด
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 67/100

67
ในขณะปรับแต่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุ ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ไม่ต้องต่อสายอากาศ
ข. ต่อสายอากาศ
ค. ต่อดัมมี่โหลด (Dummy Load) แทนสายอากาศ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 68/100

68
อุปกรณ์ใดที่มีคุณสมบัติลัดวงจรในตัวมันเองเมื่อมีแรงเคลื่อนหรือแรงดันไฟฟ้าสูงเกินกว่าที่กำหนดไว้
ก. Diode High Volt
ข. Varistor
ค. Zener Diode
ง. IC Regulator
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 69/100

69
ข้อใดต่อไปนี้สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดกราวด์ลูป (Ground Loop) บนอุปกรณ์เครื่องวิทยุและอุปกรณ์ไฟฟ้าในสถานีวิทยุสมัครเล่นได้
ก. เชื่อมต่อสายดิน (Ground) ระหว่างอุปกรณ์เข้าด้วยกันเป็นลำดับ
ข. เชื่อมต่อสายนิวทรัลของไฟ AC เข้ากับสายดิน (Ground)
ค. หลีกเลี่ยงการใช้แหวนเกลียวในการยึดจุดต่อของสายดิน (Ground)
ง. เชื่อมต่อสายดิน (Ground) ทั้งหมดให้ลงเพียงจุดเดียว
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 70/100

70
อะไรอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอาการ RF Burn เมื่อแตะอุปกรณ์วิทยุขณะที่กำลังออกอากาศในย่าน HF ทั้งที่ในสถานีที่มีการติดตั้งระบบกราวด์ (Ground) อย่างดี
ก. สายกราวด์ (Ground Wire) เป็นชนิดแบน
ข. สายกราวด์ (Ground Wire) เป็นฉนวน
ค. เกิดเรโซแนนที่หลักดิน (Ground Rod)
ง. เกิดเรโซแนนซ์ในสายกราวด์ (Ground Wire)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 71/100

71
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าย่านความถี่ใดที่เป็นอันตรายแต่ไม่เกิดในรูปของความร้อน
ก. ย่านความถี่สูงมาก
ข. ย่านความถี่สูง
ค. ย่านความถี่ต่ำ
ง. ไม่มีข้อใดถูก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 72/100

72
จุดประสงค์ของการใช้สัญญาณทดสอบสองโทน (Two-Tone Test) คือ
ก. ทดสอบภาครับของเครื่องวิทยุ
ข. การกำจัดความถี่ด้านที่ไม่ต้องการ
ค. เพื่อทดสอบเครื่องวิทยุสามารถแยกโทนเสียง 2 เสียงออกจากกันได้หรือไม่
ง. เพื่อให้เครื่องขยายสามารถขยายกำลังส่งได้ดีทั้งความถี่ต่ำและความถี่สูง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 73/100

73
การใช้สัญญาณทดสอบสองโทน (Two-Tone Test) ทดสอบภาค Power Amplifier เพื่อวัดค่า
ก. THD (Total Harmonic Distortion)
ข. IMD (Intermodulation Distortion)
ค. Frequency Response ของ Amplifier
ง. Group Delay ของ Amplifier
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 74/100

74
สิ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นสัญญาณทดสอบสองโทน (Two-Tone Test) คือ
ก. สัญญาณเสียง 2 เสียง ที่ความถี่เดียวกัน ห่างกัน 90 องศา (Phase shift)
ข. สัญญาณเสียง 2 เสียง ไม่เป็นฮาร์มอนิกซึ่งกันและกัน
ค. โทนความถี่ 2 ความถี่
ง. สัญญาณความถี่เสียง 2 ความถี่ รูปคลื่นแบบสี่เหลี่ยมที่ Amplitude เดียวกัน
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 75/100

75
จะต่อ RF Linear Amplifier ไว้ที่ตำแหน่งใด
ก. ระหว่างเครื่องรับวิทยุกับสายอากาศ
ข. ระหว่างเครื่องส่งวิทยุกับสายอากาศ
ค. ระหว่างสายอากาศกับ Antenna Tuner
ง. ระหว่างเครื่องส่งวิทยุกับ Power Amplifier
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 76/100

76
ถ้านำ RF Power Meter มาต่อระหว่างเครื่องรับ-ส่งวิทยุกับ Dummy Load ค่าที่วัดได้ คือ
ก. RF Power Output ของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ข. Frequency ของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ค. AF Power Output ของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ง. Standing Wave Ratio ของเครื่องรับ-ส่งวิทยุ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 77/100

77
อุปกรณ์ใดที่ใช้สำหรับเพิ่มกำลังส่งเครื่องรับ-ส่งวิทยุชนิดมือถือ
ก. Voltage Divider
ข. RF Power Amplifier
ค. Impedance Network
ง. Voltage Regulator
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 78/100

78
การส่งแต่คลื่นพาห์ออกไปอย่างเดียวโดยไม่ผสมสัญญาณเสียง เราเรียกว่าเป็นการส่งแบบใด
ก. AM
ข. FM
ค. CW
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 79/100

79
แหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน RF Noise ได้แก่
ก. มอเตอร์ไฟฟ้า
ข. การจุดระเบิดของหัวเทียนเครื่องยนต์
ค. ฟ้าแลบ
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 80/100

80
สัญญาณรบกวนที่เกิดจากมอเตอร์ไฟฟ้า ถือเป็นการรบกวนประเภทใด
ก. Natural Noise
ข. Man Made Noise
ค. Atmospheric Noise
ง. Atmospheric Noise
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 81/100

81
ข้อใดคือความหมายของ Fundamental Overload เกี่ยวกับการรับสัญญาณคลื่นวิทยุ
ก. แรงดันไฟฟ้า (Voltage) จาก Power Supply มากเกินไป
ข. กระแสไฟฟ้า (Current) จาก Power Supply มากเกินไป
ค. การรบกวนเกิดจากสัญญาณแรงมากเกินไป
ง. การรบกวนเกิดจากการเปิดความดังของเสียง (Volume) มากเกินไป
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 82/100

82
สัญญาณรบกวนจากเครื่องวิทยุสื่อสารที่รบกวนเครื่องรับโทรทัศน์ อาจเกิดจาก
ก. Harmonic
ข. Spurious
ค. Cross Modulation
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 83/100

83
TVI Filter ใช้ป้องกันการรบกวนที่เกิดจากอะไร
ก. Conduct
ข. Radiated
ค. Non Linear
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 84/100

84
อุปกรณ์ในข้อใดสามารถแสดงความถี่แปลกปลอม (Spurious Signal) ที่เกิดจากเครื่องส่งวิทยุ
ก. Spectrum Analyzer
ข. Wattmeter
ค. Logic Analyzer
ง. Time-Domain Reflectometer
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 85/100

85
การนำเอา Line Filter มาใช้กับเครื่องรับ-ส่งวิทยุเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนจะไม่ได้ผลกับกรณีในข้อใด
ก. การเกิด Conduction ของระบบอุปกรณ์ไฟฟ้า
ข. การเกิด Radiated ของสัญญาณวิทยุ
ค. การเกิด Non Linear ของระบบวิทยุ
ง. การเกิด Non Resonance ของสัญญาณวิทยุ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 86/100

86
การสื่อสารด้วยรหัสมอร์ส ประกอบด้วย
ก. เสียงสั้นและยาว
ข. เครื่องหมายจุดและขีด
ค. ขนาดใหญ่และเล็ก
ง. สัญญาณสั้นและยาว จังหวะ และระยะห่าง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 87/100

87
ในการส่งรหัสมอร์ส ระยะห่างระหว่างคำมีความยาวเท่าใด
ก. สามเท่าของสัญญาณเสียงสั้น
ข. ห้าเท่าของสัญญาณเสียงสั้น
ค. เจ็ดเท่าของสัญญาณเสียงสั้น
ง. ไม่มีข้อใดถูก
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 88/100

88
ข้อความ ∙− −−∙ −∙ (ดิดา ดาดาดิด ดาดิด) หมายความว่า
ก. กรุณาลดความเร็ว
ข. กรุณาเพิ่มความเร็ว
ค. ท่านอยู่ที่ใด
ง. กรุณาส่งซ้ำอีกครั้ง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 89/100

89
ข้อใดหมายถึง “ขอบคุณ”
ก. − −∙ −∙∙− (ดา ดาดิด ดาดิดิดา)
ข. − ∙∙∙− (ดา ดิดิดิดา)
ค. − −∙− ∙∙∙∙ (ดา ดาดิดา ดิดิดิดิด)
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 90/100

90
“หวังว่าคงได้พบกันอีกครั้ง” คือข้อใด
ก. ∙∙∙∙ ∙−−− ∙ −−∙ −−∙− ∙− −−∙ −−∙∙ (ดิดิดิดิด ดิดาดาดา ดิด ดาดาดิด ดาดาดิดา ดิดา ดาดาดิด ดาดาดิดิด)
ข. ∙∙∙∙ ∙−−∙ ∙ −∙−∙ ∙∙− ∙− −−∙ −∙ (ดิดิดิดิด ดิดาดาดิด ดิด ดาดิดาดิด ดิดิดา ดิดา ดาดาดิด ดาดิด)
ค. ∙∙∙− ∙−−∙ ∙∙ −−∙ ∙− −−∙ −∙ (ดิดิดิดา ดิดาดาดิด ดิดิด ดาดาดิด ดิดา ดาดาดิด ดาดิด)
ง. ∙∙∙− ∙∙∙∙ ∙∙− −−∙ −−∙ ∙∙∙− (ดิดิดิดา ดิดิดิดิด ดิดิดา ดาดาดิด ดาดาดิด ดิดิดิดา)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 91/100

91
ข้อความ ∙−∙−∙ (ดิดาดิดาดิด) หมายความว่า
ก. สิ้นสุดข้อความ
ข. ข้าพเจ้าอยู่ที่
ค. ความถี่ว่างหรือไม่
ง. นักวิทยุสมัครเล่น
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 92/100

92
ข้อความ −∙−∙ −−∙− − ∙ ∙∙∙ − (ดาดิดาดิด ดาดาดิดา ดา ดิด ดิดิดิด ดา) หมายความว่า
ก. มีการขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน เร่งด่วน
ข. ความถี่ว่างหรือไม่
ค. กำลังแข่งขัน
ง. ทดสอบสัญญาณด้วยรหัสมอร์ส
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 93/100

93
เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณ −∙−∙ −−∙− −∙ ∙− (ดาดิดาดิด ดาดาดิดา ดาดิด ดิดา) เราควรทำอย่างไร
ก. เคาะส่งสัญญาณเรียกขานของเราทันที เพื่อติดต่อกับสถานีต้นทาง
ข. เคาะส่งสัญญาณเรียกขานของเราทันที เพื่อติดต่อกับสถานีต้นทาง
ค. รีบติดต่อกับสถานีประเทศหายาก
ง. ไม่ต้องส่งข้อความใด ๆ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 94/100

94
ข้อความ −∙ ∙−∙ ∙∙−−∙∙ (ดาดิด ดิดาดิด ดิดิดาดาดิดิด) หมายความว่า
ก. ขอทราบสัญญาณเรียกขานของท่านอีกครั้ง
ข. ขอทราบสิ่งแลกเปลี่ยนตามกติกาการแข่งขัน
ค. ขอทราบหมายเลขลำดับการติดต่อใน Log book ของข้าพเจ้า
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 95/100

95
ตัวเลข −∙ ∙− − (ดาดิด ดิดา ดา) คือ
ก. 109
ข. 610
ค. 73 88
ง. 910
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 96/100

96
−∙−∙ −−∙− ∙− ∙∙∙ (ดาดิดาดิด ดาดาดิดา ดิดา ดิดิดิด) หมายความว่า
ก. กรุณารอสักครู่
ข. เรียกสถานีทั่วไป
ค. เจาะจงเรียกเฉพาะสถานีในทวีปยุโรป
ง. เจาะจงเรียกเฉพาะสถานีในทวีปเอเชีย
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 97/100

97
−∙∙ ∙−∙ −−− −− (ดาดิดิด ดิดาดิด ดาดาดา ดาดา) หมายความว่า
ก. คุณพ่อที่รัก
ข. คุณแม่ที่รัก
ค. เพื่อนรัก
ง. ถูกทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 98/100

98
ข้อใดคือการส่งสัญญาณที่หมายถึงเครื่องหมาย “ทับ” ( / )
ก. −∙∙−∙ (ดาดิดิดาดิด)
ข. −∙−−∙ (ดาดิดาดาดิด)
ค. −∙−−∙− (ดาดิดาดาดิดา)
ง. −−−∙∙∙ (ดาดาดาดิดิดิด)
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 99/100

99
เราจะใช้สัญญาณ −∙−∙ −−∙− (ดาดิดาดิด ดาดาดิดา) เมื่อใด
ก. เพื่อยกเลิกข้อความก่อนหน้า
ข. เพื่อขอติดต่อกับสถานีใดก็ได้
ค. เพื่อแจ้งว่าหมดข้อความ
ง. เพื่อขอทราบสัญญาณเรียกขานของท่านอีกครั้ง
คำถามก่อนหน้า คำถามต่อไป

คำถามที่ 100/100

100
ในขณะที่บุญตาบอกกับจอมว่าทุกอย่างเรียบร้อย แต่มือเคาะโทรศัพท์เป็นจังหวะ ถี่สามครั้ง-ห่างสามครั้ง-ถี่สามครั้ง แสดงว่าบุญตากำลังสื่อสารให้จอมทราบว่า
ก. กำลังมีความสุข
ข. ต้องการความช่วยเหลือ
ค. ยืนยันว่าทุกอย่างเรียบร้อยดี
ง. กำลังยุ่ง อย่ารบกวน
คำถามก่อนหน้า

คุณยังตอบคำถามไม่ครบ : 100 ข้อ จาก 100 ข้อ

(คลิกที่หมายเลขข้อที่ต้องการ เพื่อตอบคำถาม)