คำถามที่ 1/100
1
ถ้าช่วงความถี่ใดในกิจการวิทยุสมัครเล่นถูกกำหนดให้เป็นกิจการหลักร่วมกัน ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงการ ใช้งานที่เหมาะสมของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ก. พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ โดยไม่ต้องสนใจสถานีวิทยุคมนาคมอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลักร่วมกัน
ข. พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ แต่ต้องไม่รบกวนกับสถานีวิทยุคมนาคมอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลักร่วมกัน
ค. พนักงานวิทยุสมัครเล่นไม่สามารถใช้ได้ เพราะจะไปรบกวนกับสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่น ที่จัดอยู่ในกิจการหลักร่วมกัน
ง. หากได้รับการรบกวนจากสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลักร่วมกัน พนักงานวิทยุสมัครเล่นควรเพิ่มกำลังส่งให้สูงขึ้น
คำถามต่อไป
คำถามที่ 6/100
6
ในกรณีที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นเคยถูกลงโทษกรณีนำเข้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาแล้ว ต่อมาได้กระทำผิดกรณีทำซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก จะถูกพิจารณาโทษ
ก. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
ข. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
ค. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี
ง. ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการถาวร และถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 แล้วแต่กรณี
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 7/100
7
ระวางโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ที่สั่งให้ระงับการกระทำหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ใช้ในการกระทำหรือให้ย้ายสิ่งที่กระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมโดยไม่เจตนา คือ
ก. ปรับไม่เกิน 5,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. ปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. ปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. ปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 8/100
8
ถ้าในตารางกำหนดคลื่นความถี่ตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการหลัก ประเทศไทยโดยหน่วยงานกำกับดูแลสามารถที่จะไม่กำหนดให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นในความถี่นั้นหรือกำหนดให้เป็นกิจการรองได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะประเทศไทยต้องปฏิบัติตามตารางกำหนดคลื่นความถี่ของข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ
ข. ได้ เพราะการบริหารจัดการและการกำกับดูแลเป็นเอกสิทธิของแต่ละประเทศ สามารถกำหนดได้ ตามความเหมาะสม โดยเพิ่มข้อสงวน (Footnote) ในข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ
ค. ไม่ได้ เพราะกิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นสากล ต้องเหมือนกันในทุกประเทศ
ง. ผิดทุกข้อ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 9/100
9
ประเทศใดต่อไปนี้ที่มีข้อตกลงต่างตอบแทน (Reciprocal Agreement) เกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่นกับประเทศไทย
ก. สหรัฐอเมริกา เยอรมัน จีน
ข. สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี
ค. เวียดนาม ออสเตรีย สวีเดน
ง. สวิสเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 10/100
10
กรณีที่เครื่องวิทยุรับส่ง (Transceiver) มีกำลังส่งต่ำกว่า 1000 W พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง สามารถใช้เครื่องขยายกำลังส่งภายนอก (External RF Power Amplifier) ได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ ต้องใช้กำลังส่งตามคุณสมบัติเครื่องเท่านั้น
ข. ได้ แต่ต้องใช้ออกอากาศเฉพาะใน Club Station เท่านั้น
ค. ไม่ได้ทุกกรณี
ง. ใช้ได้เฉพาะเครื่องขยายกำลังส่งภายนอกที่ผ่านการตรวจสอบลักษณะทางวิชาการตามที่ กสทช. กำหนด
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 13/100
13
เหตุใดจึงต้องใช้กำลังส่งต่ำในการส่งสัญญาณไปยังดาวเทียมที่ใช้ Linear Transponder
ก. ป้องกันไม่ให้รบกวนระบบโทรมาตร (Telemetry) ของดาวเทียม
ข. ป้องกันไม่ให้ลดทอนสัญญาณ Downlink ของผู้ใช้งานคนอื่น ๆ
ค. ป้องกันไม่ให้ดาวเทียมส่งสัญญาณอื่น ๆ นอกความถี่ที่ใช้งาน
ง. ป้องกันไม่ให้รบกวนการติดต่อภาคพื้นดิน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 14/100
14
ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของคำว่า L Band และ S Band ในการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น
ก. ความถี่ย่าน 23 เซนติเมตร และ ความถี่ย่าน 13 เซนติเมตร
ข. ความถี่ย่าน 2 เมตร และ ความถี่ย่าน 70 เซนติเมตร
ค. FM และระบบดิจิทัลแบบบันทึกแล้วส่งต่อ (Digital Store And Forward)
ง. บอกด้านของ Sideband ที่ใช้งาน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 15/100
15
สายอากาศที่สามารถลดผลกระทบของ Spin Modulator และ Faraday Rotation คือสายอากาศชนิดใด
ก. สายอากาศชนิด Linearly Polarization
ข. สายอากาศชนิด Circularly Polarization
ค. สายอากาศชนิด Isotropic
ง. สายอากาศชนิด Log-Periodic Dipole Array
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 16/100
16
การระบุตำแหน่งของดาวเทียมสามารถทำโดยวิธีใด
ก. โดยการใช้ข้อมูล Doppler ของดาวเทียม
ข. การลบตำแหน่งของดาวเทียมบนวงโคจร (Mean Anomaly) กับมุมระหว่างระนาบวงโคจรของดาวเทียมกับระนาบของเส้นศูนย์สูตร (Orbital Inclination)
ค. การบวกตำแหน่งของดาวเทียมบนวงโคจร (Mean Anomaly) กับมุมระหว่างระนาบวงโคจรของดาวเทียมกับระนาบของเส้นศูนย์สูตร (Orbital Inclination)
ง. การคำนวณโดยใช้ Keplerian Elements ของดาวเทียม
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 17/100
17
Blanking ของสัญญาณภาพ หมายถึง
ก. การ Synchronization แนวนอนและแนวตั้งของ Sync Pulses
ข. หยุดลำอิเล็กตรอนไม่ให้สแกนกลับจากขวาไปซ้ายหรือจากล่างขึ้นบน
ค. ปิดการ Scan ลำแสง หยุดลำอิเล็กตรอนเมื่อการส่งสัญญาณสิ้นสุดลง
ง. เป็นการส่งภาพทดสอบแบบขาวดำ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 19/100
19
ข้อใดต่อไปนี้คือหน้าที่ของรหัส Vertical Interval Signaling (VIS) ที่เป็นส่วนหนึ่งของ SSTV
ก. ควบคุมการกำเนิดสัญญาณสีบนภาพที่ส่งผ่านทาง SSTV
ข. เพื่อระบุ Mode ของ SSTV ที่กำลังใช้งาน
ค. ทำให้เกิด Vertical Synchronization
ง. เพื่อระบุสัญญาณเรียกขานของสถานีที่กำลังส่งสัญญาณ SSTV
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 25/100
25
โดยปกติเราจะแจ้งสัญญาณเรียกขานอย่างไร เมื่อต้องการติดต่อกับสถานี DX ที่กำลัง Pileup หรือสถานีที่กำลังแข่งขัน
ก. แจ้งสัญญาณเรียกขานเต็มครั้งเดียวหรือสองครั้ง
ข. แจ้งสัญญาณเรียกขานสองตัวสุดท้ายจนกว่าจะสามารถติดต่อได้
ค. แจ้งสัญญาณเรียกขานเต็มพร้อมทั้งแจ้งตำแหน่งที่ตั้งแบบ Grid Square
ง. แจ้งสัญญาณเรียกขานของสถานี DX สามครั้ง และแจ้งสัญญาณเรียกขานของสถานีตนเองสามครั้ง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 26/100
26
วิธีการใดอาจช่วยให้สามารถรับสัญญาณอ่อนในย่าน HF ได้ชัดเจนมากขึ้นในช่วงที่ดวงอาทิตย์ลับ ขอบฟ้าไปไม่นาน
ก. เปลี่ยนไปยังช่วงความถี่ที่สูงขึ้น
ข. เปลี่ยนไปยังช่วงความถี่ที่ต่ำลง
ค. รอประมาณ 90 นาที เพื่อให้สภาวะที่ทำให้สัญญาณอ่อนนั้นหายไป หรือจนกว่าสัญญาณจะดีขึ้น
ง. รอ 24 ชั่วโมง แล้วจึงติดต่อใหม่
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 30/100
30
Forward Error Correction ทำงานอย่างไร
ก. สถานีภาครับทำการทวนข้อมูลทีละชุด ชุดละ 3 ตัวอักษร
ข. โดยการส่งวิธีการคำนวณพิเศษไปให้สถานีภาครับ พร้อมกับข้อมูลตัวอักษร
ค. โดยการส่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด
ง. โดยการเปลี่ยนความถี่ของการส่งสัญญาณตามกระบวนการที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 40/100
40
ข้อใดต่อไปนี้คือมุมระหว่างเฟสของแรงดันตกคร่อมและกระแสผ่านวงจร RLC อนุกรม ถ้า XC= 100 Ω, R= 100 Ω และ XL= 75 Ω
ก. 14 องศา และ แรงดันตามหลังกระแส
ข. 14 องศา และ แรงดันนำหน้ากระแส
ค. 76 องศา และ แรงดันนำหน้ากระแส
ง. 76 องศา และ แรงดันตามหลังกระแส
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 43/100
43
เมื่อเราใช้ Rectangular Coordinate ในการวาดกราฟ Impedance ของวงจร แกนตั้งจะแสดงค่าของอะไร
ก. องค์ประกอบส่วน Resistance
ข. องค์ประกอบส่วน Reactive
ค. ผลรวมของค่าองค์ประกอบส่วน Reactive และองค์ประกอบส่วน Resistance
ง. ผลต่างระหว่างค่าองค์ประกอบส่วน Resistance และองค์ประกอบส่วน Reactive
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 46/100
46
สิ่งใดจะเกิดขึ้นกับกำลังไฟฟ้าแบบ Reactive ในวงจรกระแสสลับที่มีทั้งตัวเหนี่ยวนำในอุดมคติและ ตัวเก็บประจุในอุดมคติ
ก. จะสูญเสียไปในรูปความร้อนภายในวงจร
ข. จะเกิดการถ่ายเทกลับไปมาระหว่างสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก แต่ไม่เกิดการสูญเสีย
ค. จะสูญเสียไปในรูปพลังงานจลน์ภายในวงจร
ง. จะเกิดการสูญเสียในแปลงรูประหว่างสนามเหนี่ยวนำและสนามเก็บประจุ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 47/100
47
เราจะสามารถหากำลังจริงทางไฟฟ้าได้อย่างไรในวงจรกระแสสลับซึ่งกระแสและแรงดันมีเฟสที่ ไม่ตรงกัน
ก. ผลคูณระหว่างกำลังที่ปรากฏกับตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
ข. ผลหารระหว่างกำลังไฟฟ้าแบบ Reactive ด้วยตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
ค. ผลหารระหว่างกำลังปรากฏด้วยตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
ง. ผลคูณระหว่างกำลังไฟฟ้าแบบ Reactive กับตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 54/100
54
อัตราขยายของสายอากาศ หมายถึงข้อใด
ก. เป็นการเปรียบเทียบความแรงในการแพร่กระจายคลื่นในทิศทางที่มีการแพร่กระจายคลื่นสูงสุดโดยเทียบกับสายอากาศอ้างอิง
ข. อัตราส่วนของกำลังที่ส่งออกไปเทียบกับกำลังที่สะท้อนกลับมา
ค. อัตราส่วนโดยรวมของกำลังการแพร่กระจายสัญญาณจากสายอากาศเทียบกับกำลังส่งจากเครื่องส่ง
ง. อัตราขยายของเครื่องส่งวิทยุลบด้วยการสูญเสียในสายนำสัญญาณและสาย Phasing ต่าง ๆ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 57/100
57
ข้อใดต่อไปนี้คือเทคนิคที่นิยมใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างแบบจำลองสายอากาศ
ก. การวิเคราะห์เชิงกราฟ (Graphical Analysis)
ข. วิธีโมเมนต์ (Method of Moments)
ค. การวิเคราะห์อิมพีแดนซ์ร่วม (Mutual Impedance Analysis)
ง. อนุพันธ์แคลคูลัสตามคุณสมบัติทางกายภาพ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 58/100
58
หลักของการวิเคราะห์วิธีโมเมนต์ (Method of Moments) คือ
ก. ใช้ลวดเป็นแบบจำลองแบ่งเป็นส่วน ๆ มาต่ออนุกรมกัน โดยแต่ละส่วนมีกระแสไฟฟ้าจำนวนหนึ่ง
ข. ใช้ลวดเป็นแบบจำลองสำหรับสร้างกระแสไฟฟ้ารูป Sine Wave หนึ่งคลื่น
ค. ใช้ลวดเป็นแบบจำลองแบ่งเป็นจุดมาอนุกรมกัน แต่ละจุดซึ่งมีตำแหน่งที่แตกต่างกันไปตามสถานที่
ง. ใช้ลวดเป็นแบบจำลองแบ่งเป็นส่วน ๆ มาต่ออนุกรมกัน โดยแต่ละส่วนมีแรงดันไฟฟ้าตกคร่อมจำนวนหนึ่ง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 60/100
60
ข้อใดต่อไปนี้อธิบายถึงสายอากาศแบบ Basic Rhombic (Unterminated)
ก. เป็นสายอากาศทิศทางเดียว, มีสี่ด้าน แต่ละด้านมีความยาว 1/4 ของความยาวคลื่น ตรงปลายของสายอากาศต่อด้วยตัวต้านทานที่มีค่าเท่ากับอิมพีแดนซ์ของสายอากาศ
ข. เป็นสายอากาศสองทิศทาง, มีสี่ด้าน, แต่ละด้านยาว 1 ความยาวคลื่นหรือมากกว่า ปลายด้านตรงข้ามกับจุดป้อนสัญญาณจะถูกเปิดออกจากกัน
ค. มีสี่ด้าน, มีวงจร LC network ต่อร่วมด้วยทุกมุม ยกเว้นเว้นมุมที่ต่อกับสายนำสัญญาณ
ง. มีสี่ด้าน, แต่ละด้านมีความยาวที่แตกต่างกัน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 65/100
65
เหตุใดความยาวทางกายภาพของสายนำสัญญาณ Coaxial จึงสั้นกว่าความยาวทางไฟฟ้า
ก. Skin Effect มีผลน้อยในสายนำสัญญาณ Coaxial
ข. ค่า Impedance ประจำตัวจะสูงขึ้นเมื่อต่อแบบขนาน
ค. ค่า Search Impedance จะสูงขึ้นเมื่อต่อแบบขนาน
ง. สัญญาณทางไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ในสายนำสัญญาณช้ากว่าในอากาศ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 71/100
71
การจางหายของสัญญาณในการสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์มีลักษณะอย่างไร
ก. ระดับสัญญาณ CW เริ่มเปลี่ยนแปลงช้า ๆ
ข. สัญญาณกระพือผิดปกติและจางหาย
ค. การค่อย ๆ สูญเสียสัญญาณเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น
ง. ความถี่สะท้อนกลับมีค่าต่ำกว่าความถี่ที่ส่งออกไปหลาย Hertz
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 72/100
72
ขั้นตอนใดต่อไปนี้ ที่เป็นขั้นตอนเตรียมการติดต่อสื่อสารแบบ EME
ก. การปรับตั้งเวลาให้ตรงกันของคู่สถานีที่จะติดต่อกัน
ข. เก็บข้อมูลและส่งต่อข้อความ Digital
ค. เลือกเวลาของการติดต่อที่เหมาะสมโดยการเฝ้าฟังสัญญาณ Beacon จากดวงจันทร์
ง. ส่งรหัสมอร์สด้วยความเร็วสูง เพื่อหลีกเลี่ยงการจางหายของสัญญาณ
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 74/100
74
ข้อใดต่อไปนี้คือสาเหตุของการแพร่กระจายคลื่นแบบ Gray Line
ก. ช่วงเที่ยงวัน ดวงอาทิตย์อยู่กลางฟ้า ทำให้ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์เกิดความร้อนสูงสุดและ เกิดการหักเหของคลื่นวิทยุ
ข. ในช่วงหัวค่ำ การดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงอย่างรวดเร็วในขณะที่การแตกตัวของอิออน ในชั้นบรรยากาศยังลดไม่มากพอที่จะเกิดผลกระทบต่อความถี่สูงสุดที่สามารถใช้งานได้ (MUF)
ค. ตอนกลางคืน การดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงจนหมด ขณะที่ไอออนในชั้นบรรยากาศ ไม่เปลี่ยนแปลง
ง. ช่วงบ่าย ชั้นบรรยากาศร้อนจัดจนทำให้มีการหักเหสะท้อนคลื่นวิทยุ และ MUF เพิ่มขึ้น
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 81/100
81
อะไรคือความแตกต่างระหว่างรหัส Digital Baudot กับ ASCII
ก. Baudot ใช้ข้อมูล 4 บิตสำหรับแต่ละอักขระ, ASCII ใช้ 7 หรือ 8; Baudot ใช้ 1 ตัวอักขระเป็นรหัสการเปลี่ยนแปลง, ASCII ไม่มีรหัสการเปลี่ยนแปลง
ข. Baudot ใช้ข้อมูล 5 บิตสำหรับแต่ละอักขระ, ASCII ใช้ 7 หรือ 8; Baudot ใช้ 2 ตัวอักขระเป็นรหัสการเปลี่ยนแปลง, ASCII ไม่มีรหัสการเปลี่ยนแปลง
ค. Baudot ใช้ข้อมูล 6 บิตสำหรับแต่ละอักขระ, ASCII ใช้ 7 หรือ 8; Baudot ไม่มีรหัสการเปลี่ยนแปลง, ASCII ใช้ 2 อักขระเป็นรหัสการเปลี่ยนแปลง
ง. Baudot ใช้ข้อมูล 7 บิตสำหรับแต่ละอักขระ, ASCII ใช้ 8; Baudot ไม่มีรหัสการเปลี่ยนแปลง, ASCII ใช้ 2 อักขระเป็นรหัสการเปลี่ยนแปลง
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 87/100
87
Specific Absorption Rate (SAR) คือการวัดอะไร
ก. อัตราช่องเปิดสังเคราะห์ (Synthetic Aperture Ratio) ของร่างกายมนุษย์
ข. อัตราการขยายสัญญาณ (Signal Amplification Rating)
ค. อัตราการดูดซับพลังงานความถี่วิทยุของร่างกายมนุษย์
ง. การสะท้อนพลังงานวิทยุจากพื้นที่ซึ่งไม่เคลื่อนที่
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 88/100
88
ข้อใดต่อไปนี้เป็นอาการบาดเจ็บที่ได้รับจากการใช้กำลังส่งสูงในย่านความถี่ UHF และ Microwave
ก. สูญเสียการได้ยินซึ่งเกิดจากปรากฏการโคโรนาไฟฟ้าแรงสูง
ข. การแข็งตัวของเลือดจากสนามแม่เหล็ก
ค. เกิดความร้อนในร่างกายจากการสัมผัสคลื่นความถี่วิทยุเมื่อเกินขีดจำกัด MPE
ง. การรับก๊าซโอโซนจากระบบระบายความร้อน
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 90/100
90
ข้อใดต่อไปนี้เป็นการทดสอบว่ากำลังมีการ Bias ทรานซิสเตอร์แบบ Silicon NPN
ก. วัดค่าความต้านทางระหว่างขา Base – Emitter ค่าที่ได้ประมาณ 6 ถึง 7 โอห์ม
ข. วัดค่าความต้านทางระหว่างขา Base – Emitter ค่าที่ได้ประมาณ 0.6 ถึง 0.7 โอห์ม
ค. วัดแรงดันระหว่างขา Base – Emitter ค่าที่ได้ประมาณ 6 ถึง 7 โวลต์
ง. วัดแรงดันระหว่างขา Base – Emitter ค่าที่ได้ประมาณ 0.6 ถึง 0.7 โวลต์
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 95/100
95
ข้อใดคือสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่ากระแสไฟที่อ่านได้นั้นมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อต่อ RF Ammeter ระหว่างสายอากาศและเครื่องส่ง ในกรณีมีการจูนอย่างเหมาะสม
ก. สายนำสัญญาณอาจจะลัดวงจรลงกราวด์
ข. เครื่องส่งสัญญาณผิดปกติ
ค. ค่าอิมพีแดนซ์ไม่ถูกต้องระหว่างสายนำสัญญาณและสายอากาศ
ง. มีกำลังส่งไปยังสายอากาศเพิ่มมากขึ้น
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 98/100
98
ทำอย่างไรจึงสามารถลดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการเหนี่ยวนำและแพร่กระจายคลื่นที่มีต้นเหตุจาก Automobile Alternator
ก. โดยการต่อคาปาซิเตอร์กรองความถี่อนุกรมในสายไฟเมน และคาปาซิเตอร์กันในสายจากฟิลด์
ข. โดยการต่อไฟ DC จากแบตเตอรี่โดยตรงโดยให้สายไฟยาวที่สุดเท่าที่จะทำได้ ต่อคาปาซิเตอร์กันในสายไฟทั้งสองเส้น
ค. โดย High-Pass Filter อนุกรมในสายไฟเมนและ Low-Pass Filter ขนานกับสายฟีลด์
ง. โดยการต่อไฟ DC จากแบตเตอรี่โดยตรง ใส่คาปาซิเตอร์แกนร่วมที่สายไฟจาก Automobile Alternator
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 99/100
99
อะไรเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตในชั้นบรรยากาศโลก (Atmospheric Static)
ก. การแพร่คลื่นวิทยุจากดวงอาทิตย์ (Solar Radio Frequency Emissions)
ข. พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstroms)
ค. พายุแม่เหล็กโลก (Geomagnetic Storms)
ง. ฝนดาวตก (Meteor Showers)
คำถามก่อนหน้า
คำถามต่อไป
คำถามที่ 100/100
100
สัญญาณชนิดใดที่อาจถูกเหนี่ยวนำเข้าไปในสายไฟฟ้าที่อยู่ใกล้ ๆ เครื่องส่งวิทยุ
ก. สัญญาณทั่วไปในความถี่เดียวกับวิทยุสื่อสาร
ข. สัญญาณที่เกิดจากการสปาร์คของไฟฟ้า
ค. สัญญาณแบบต่างมุมต่างเฟสของความถี่ในสายไฟฟ้า AC
ง. ฮาร์มอนิกของความถี่ในสายไฟฟ้า AC
คำถามก่อนหน้า